ประมวลภาพสถานที่สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ด้านทิศตะวันตก...ซ้ายมือของภาพคือ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เป็นพระที่นั่ง 3 องค์เชื่อมต่อกัน (ภาพจาก หนังสือสถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี)
หมู่พระมหามณเฑียร กลุ่มเรือนหลวง หลังคาทรงจั่ว มีช่อฟ้า หน้าบัน ปลูกเชื่อมต่อกัน พระมหามณเฑียรนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2328 หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ณ ตำแหน่งเดิมของพระราชมณเฑียรชั่วคราว (ภาพจาก หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
แผนผังหมู่พระมหามณเฑียร (ภาพจาก หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งประธานในหมู่พระมหามณเฑียร เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์และเป็นมณฑล พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานเครื่องราชกกุธภัณฑ์และพระแสงสำคัญ (ภาพและข้อมูลจาก หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตั้งอยู่กลางระหว่างท้องพระโรงหน้าของพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งโถงยาว ยกพื้นสูง ทอดยาวไปตามทิศตะวันออก–ตะวันตก ผนังทิศตะวันออกของพระที่นั่งมีพระทวารสำหรับเสด็จพระราชดำเนินไปยังหอพระสุลาลัยพิมาน หน้าพระทวารประดิษฐานพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร ส่วนผนังด้านทิศตะวันตกมีพระทวารสำหรับเสด็จพระราชดำเนินไปยังหอพระธาตุมณเฑียร หน้าพระทวารประดิษฐานพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน เป็นท้องพระโรงสำคัญที่พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงใช้เป็นที่ประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญของบ้านเมือง เช่น เสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปลายสุดของท้องพระโรงเป็นที่ประดิษฐานพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน และด้านหน้าพระที่นั่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ภาพและข้อมูลจากหนังสือ ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ภาพจาก หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ และเป็นมณฑลพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรในการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก (ภาพและเนื้อหาจาก หนังสือประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นระหว่างหมู่พระมหามณเฑียรกับหมู่พระมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง…ในรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 เป็นที่เสด็จออกรับทูตานุทูตที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคลในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ภาพและเนื้อหาจาก หนังสือประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร สร้างสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อและสร้างใหม่ เพื่อขยับขยายพื้นที่จัดเลี้ยงและรับรองพระราชอาคันตุกะและแขกสำคัญของบ้านเมือง…ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เป็นที่พระราชทานเลี้ยงคณะทูตานุทูต (ภาพและเนื้อหาจาก หนังสือประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
ปราสาทพระเทพบิดร (ภาพจากหนังสือ ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ..ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 เสด็จพระราชดำเนินด้วยขบวนราบใหญ่จากวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเพื่อถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการ (ภาพและข้อมูลจาก หนังสือประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนกำแพงแก้วระหว่างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท..ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เป็นที่ประทับพระราชยานในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนราบใหญ่ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายบังคมพระบรมอัฐิ พระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบุพการี ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ภาพและข้อมูลจาก หนังสือประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท สร้างในรัชกาลที่ 1 เพื่อเป็นที่ประทับทอดพระเนตรขบวนแห่ในพระราชพิธีสนานใหญ่…ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และรัชกาล ที่ 10 เสด็จออก ณ ท้องพระโรงเพื่อให้ผู้นำศาสนาและผู้แทนคณะพาณิชย์เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล และเสด็จออก ณ สีหบัญชร เพื่อให้พสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล (ภาพและข้อมูลจาก หนังสือประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก)