ฤๅ “กรุงกบิลพัสดุ์” จะมีไฟฟ้าใช้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล!?

จิตรกรรมฝาฝนังภายในพระอุโบสถวัดไชโยวรวิหาร

ภาพที่ปรากฏอยู่นี้เป็นจิตรกรรมฝาฝนังจากพระอุโบสถวัดไชโยวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งตัวพระอุโบสถได้รับการบูรณปฏิสังขรครั้งสำคัญในรัชกาลที่ 5 จนเสร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. 2437

สิ่งที่น่าสนใจคือ ช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้วาดภาพให้กรุงกบิลพัสดุ์มีโคมไฟตั้งประดับอยู่ด้านหน้าปราสาทที่ประทับของเจ้าชายสิทธัตถะ และด้านนอกกำแพงเมืองก็มี “เสาไฟฟ้า” ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าอย่างชัดเจน

“เสาไฟฟ้า” จิตรกรรมฝาฝนังวัดไชโยวรวิหาร

ทั้งนี้ เหตุการณ์ในภาพเป็นพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะตัดสินพระทัยออกผนวช ซึ่งช่างเขียนน่าจะต้องการสะท้อนถึงความเจริญและทันสมัยของพระนครในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เริ่มมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก มากกว่าจะสะท้อนลักษณะบ้านเมืองจริงๆ ในสมัยพุทธกาล

คลิกอ่านเพิ่มเติม : แรกเริ่มมีกิจการไฟฟ้าในกรุงเทพฯ แสงสียุคตั้งต้นส่งผลต่อวิถีชีวิตในเมืองอย่างไรบ้าง


เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ.2559