
ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
ภาพ เรือหลวงศรีอยุธยา ขณะจมลงในเหตุการณ์ “กบฏแมนฮัตตัน” (เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน พ.ศ. 2494) ขณะที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เดินทางไปร่วมพิธีรับมอบเรือขุดจากอเมริกันชื่อ “แมนฮัตตัน” แต่ถูกทหารเรือจับเป็นตัวประกันและพาตัวไปกักขังไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยา
แต่ฝ่ายรัฐบาลนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เลือกที่จะตอบโต้ฝ่ายกบฏอย่างรุนแรง กองทัพอากาศยังใช้เครื่องบินโจมตีฐานทัพเรือ และทิ้งระเบิดใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่ใช้กักตัวจอมพล ป. จนจมลง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ซึ่งภายหลังเหตุการณ์ น.ต. พร่างเพชร์ บุญยพันธ์ ผู้จมเรือหลวงศรีอยุธยาได้ออกมากล่าวว่า
“ผมเสียใจไม่หายเลยที่ทำลายเรือศรีอยุธยา ครั้งนั้น มันเป็นคราวเคราะห์ร้ายของเรือศรีอยุธยาแท้ๆ ตามปกติแล้ว ลูกระเบิดขนาด 50 กก. ที่ใช้จะไม่จมเรือรบขนาดสองพันกว่าตันลงได้แน่ๆ แต่ระเบิดที่เอาไปใช้มันเสื่อม ถ้าเป็นระเบิดใหม่กระทบดาดฟ้าก็ระเบิด ถึงไฟไหม้ก็ไหม้เพียงบนดาดฟ้าพอดับได้ไม่ถึงกับจม แต่นี่มันเป็นระเบิดเก่าทะลวงดาดฟ้าลงไประเบิดข้างล่าง แถมเจอกองกระสุนในเรือเข้าอีก เลยระเบิดกันใหญ่ทำให้เรือทะลุจมลงอย่างน่าเศร้า”

อ่านเพิ่มเติม :
- เบื้องหลังกบฏแมนฮัตตัน กับเหตุที่ต้อง “เลื่อน” ถึง 5 ครั้ง
-
ปลดเขี้ยวเล็บ “กองทัพเรือ” ผลกระทบจากกบฏแมนฮัตตัน
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
ที่มา :
อนุสรณ์ ครบรอบ 100 ปี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 14 กรกฎาคม 2540
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 7 เมษายน 2562