“จนกว่า Y จะกลายเป็นเรื่องปกติ” : มะเดี่ยว ชูเกียรติ มองอนาคตอุตสาหกรรม Y

คุณมะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" (ภาพจาก FEED)

ชื่อ “มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล” กลับมาเยี่ยม สยามสแควร์ อีกครั้งในปลายเดือนกรกฎาคม 2022

แต่คราวนี้ไม่ใช่จากตัวละครที่มีสยามเป็นพื้นที่ชีวิตสำคัญใน “รักแห่งสยาม” เมื่อเริ่มฉายครั้งแรกปี 2550 แต่เป็นจอขึงราวกลางแจ้งของเทศกาล “กรุงเทพกลางแปลง”

นับตัวเลขกลมๆ ได้ 15 ปีพอดี จากจุดเริ่มต้นโปรโมทภาพยนตร์ที่เรียกได้ว่าต้อง ‘หลบซ่อน’ แกนหลักของเรื่องไว้ด้วยความสัมพันธ์คู่รักเพศกำเนิดชาย-หญิง

ถึงวันนี้ สังคมไทยสะบัดธงสีรุ้ง เดินขบวนในไพร์ดพาเรด หรือผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสภาในวาระแรก (แม้อนาคตจะริบหรี่ก็ตาม) คงพูดได้ว่าในระดับนึง สังคมเปิดกว้างและยอมรับกับความหลากหลาย-ไหลลื่นของเพศวิถีมากขึ้น

และช่วงหลายปีมานี้ความนิยมของ “ซีรีส์ชายรักชาย (Boys Love)” หรือ “วาย-Y” พุ่งดังเป็นพลุแตก มูลค่าในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันล้านบาท ผลักให้ไทยกลายเป็นประเทศที่ส่งออกอุตสาหกรรม Y นี้สู่ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคไปจนถึงฝั่งละตินอเมริกา

จนคำใหญ่อย่าง “Soft Power” ถูกยกขึ้นมาพูดถึง

มองย้อนกลับไป สื่อสารมวลชนและงานวิจัยทางสังคมต่างชี้ให้ “รักแห่งสยาม” เป็นกระแสร่วมสมัยแรกๆ ที่เขย่าวัฒนธรรมสังคมในประเด็นเพศสภาพ-เพศวิถี จนเรียกว่าอาจเป็นหนึ่งในใบเบิกทางของสังคมที่ทำให้วัฒนธรรม Y และ LGBTQ เดินมาถึงจุดนี้

จึงเป็นโอกาสดีที่ FEED กลับมานั่งสนทนากับ “มะเดี่ยว” อีกครั้ง ชวนกลับมามองผลงานของเขาในบริบทแวดล้อมสังคมที่ผันเปลี่ยน และในวันที่ซีรีส์-อุตสาหกรรม Y กลายเป็นกุญแจสำคัญของเศรษฐกิจ-วัฒนธรรมของประเทศ

จากรักแห่งสยามในจอภาพยนตร์ ถึง จอหนังกลางแปลง เห็นความเปลี่ยนแปลง อย่างไร

มะเดี่ยว : ตัวหนังไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรอก แต่สิ่งที่เปลี่ยนคือกลุ่มคนดู ช่วงแรกที่หนังฉาย เราจำหน้าจำตากันได้ เพราะไหนก็จะมีคนติดตามเสมอ จนถึงปีนี้กลุ่มคนดูส่วนใหญ่เป็นเด็ก-เยาวชน เขาอาจจะทันดูหนังเราในเน็ตฟลิกซ์ จากกระแสโซเชียล สายบันเทิง หรือการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBTQ

สังคมเปลี่ยนแปลงเยอะมากทีเดียว ในช่วงปี 2550 ยังไม่ได้ยอมรับขนาดนี้ และหนังเรื่องนี้ใช้เวลานานมากกว่าจะฟันฝ่าไปฉายในโรง เราก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตอนโปรโมทหนัง เลยต้องเอาให้ปลอดภัย (play safe) ไว้ก่อน

คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น

มะเดี่ยว : คนอาจจะด่าว่าไอ้นี่หนังกะเทยนี่หว่า (หัวเราะ) แต่คิดว่า “รักแห่งสยาม” มาในเวลาเหมาะสม แม้จะมีคนเห็นบอกว่าหนังอาจจะไม่ค่อยตรงไปตรงมากับการโปรโมท แต่เนื้อในโอเค คนก็เลยชวนกันดูเยอะขึ้น จนวันนี้ LGBTQ กลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่ขายงานได้ทั่วโลก

เราตั้งใจทำหนังที่พูดถึง LGBTQ ในฐานะที่เป็นลูก เป็นเพื่อน หรือใครสักคนที่เรารู้จัก และคนแบบนี้ก็ไม่ได้มีความผิดแปลกจากมนุษย์คนอื่นที่ต้องการความรัก สายสัมพันธ์ และความเข้าใจ ปัญหาชีวิตของเขาคือปัญหาอย่างเดียวกับเรา เผลอๆ ปัญหาของคนชายจริงหญิงแท้อาจจะหนักหนากว่าคนเป็น LGBTQ ด้วยซ้ำ ที่เรานำเข้ามาใส่และเปิดให้เห็นว่ามันคือก้าวแรกของการประกาศตัวว่า “ฉันคือมนุษย์เหมือนกับคนอื่น”

ก่อนหน้านี้ตัวละคร LGBTQ ถูกนําเสนออย่างไรในอุตสาหกรรมบันเทิง

มะเดี่ยว : ตลก คนชายขอบ ตัวร้าย โรคจิต เป็นมนุษย์ที่ไม่ได้อยู่ on stage เท่าเทียมกับคนอื่น ถูกทำเหมือนเป็นตัวประหลาด ถามว่าตอนนี้ยังมีแบบนั้นไหม ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่ธรรมชาติของ LGBTQ เป็นคนสนุก สร้างความสนุกสนานให้กับคนอื่น…

อ่านเนื้อหาเต็มได้ที่ : “จนกว่า Y จะกลายเป็นเรื่องปกติ” – มองอนาคตอุตสาหกรรม Y กับ มะเดียว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล

Feed Y Capital 24 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ที่ SIAM SQUARE ลานจอดรถที่ 3 (SEE FAH) พบกับนักแสดงซีรีส์ Y มากมาย และงานนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย

รายละเอียดเพิ่มเติม : feedforfuture.co/feed-read/7152

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


หมายเหตุ : เนื้อหานี้คัดจาก FEED ENT เรื่อง ” ‘จนกว่า Y จะกลายเป็นเรื่องปกติ’ – มองอนาคตอุตสาหกรรม Y กับมะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล” โดยคุณ ธีรภัทร อรุณรัตน์ เผยแพร่เมื่อ 17 กันยายน 2565


เผยแพร่เนื้อหาในเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม เมื่อ 21 กันยายน 2565