พลาดไม่ได้! “SILPA PODCAST ‘ภูพระบาท’ มรดกโลกแห่งภูพาน EP.2 ‘ประวัติศาสตร์โบราณคดี’ บนภูพระบาท”

รศ. ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล SILPA PODCAST ภูพระบาท มรดกโลกแห่งภูพาน EP.2 ‘ประวัติศาสตร์โบราณคดี’ บนภูพระบาท

“SILPA PODCAST ‘ภูพระบาท’ มรดกโลกแห่งภูพาน” ซีรีส์พอดแคสต์ใหม่ล่าสุดของศิลปวัฒนธรรม ที่จะพาทุกคนไปศึกษาทำความเข้าใจทุกเรื่องราวเกี่ยวกับมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุดของประเทศไทย ฟังเพลิน ๆ ได้ทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่บนรถ ทำงานบ้าน หรือจิบกาแฟในวันสบาย ๆ

กู่นางอุสา อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี
“กู่นางอุสา” เป็นเพิงหินขนาดเล็กที่มีใบเสมามาปักล้อมรอบทั้ง 8 ทิศ จึงเป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖หรือราวพันปีมาแล้ว อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี (ภาพจากเพจ : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท)

พอดแคสต์ EP.2 “ประวัติศาสตร์โบราณคดี” บนภูพระบาท โดย รศ. ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล

สำหรับ EP.2 “ประวัติศาสตร์โบราณคดี” บนภูพระบาท โดย รศ. ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พาเจาะลึกการศึกษาภูพระบาทตั้งแต่ยุคบุกเบิกเป็นต้นมา รวมถึงการวิเคราะห์ตำนานต่าง ๆ ตลอดจนร่องรอยทางวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่บนภูพระบาท

Advertisement

✅ การศึกษาในยุคแรก เมื่อความสนใจของภาครัฐมุ่งไปที่บ้านเชียง

✅ “เพิงหินและจิตรกรรม” ที่ภูพระบาท ธรรมชาติสรรค์สร้าง มนุษย์เสริมแต่ง

✅ ปริศนา “ใบเสมา” เผยพัฒนาการทางสังคมคนโบราณ

✅ ร่องรอย “พระพุทธศาสนา” เมื่อพุทธแผ่เข้ามาอยู่ร่วมกับผี

✅ นิทาน “อุษาบารส” ข้อบ่งชี้กลุ่มประชากรที่แปรเปลี่ยน

✅ เหตุใดจึงไม่ควรนิยามว่าภูพระบาทคือ “ทวารวดีอีสาน”

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ภูพระบาท อุดรธานี บน เทือกเขาภูพาน ที่ตั้ง หอนางอุสา พระบาทบัวบก“ประวัติศาสตร์โบราณคดี” บนภูพระบาท
พื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (ภาพ : กรมศิลปากร)

แค่หัวข้อยังน่าสนใจขนาดนี้ ไม่ควรพลาดคลิปเต็มที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหา รับชมได้เลยทาง Youtube : Silpawattanatham

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 26 สิงหาคม 2567