“ตราประจำจังหวัด” มายาคติประชาธิปไตยกับกระบวนการสร้างความหมายผ่านอุดมการณ์รัฐไทย

การเกิดขึ้นของตราประจำจังหวัดในประเทศไทยริเริ่มขึ้นจากตราประจำตำแหน่งของเจ้าเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และตราประจำธงประจำกองลูกเสือ 14 มณฑล ในสมัยรัชกาลที่ 6-7 ตราประจำจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดปัจจุบันล้วนถูกสร้างขึ้นมาจากกระบวนการสร้างความหมายระหว่างรัฐไทยและส่วนท้องถิ่น เพื่อหาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและใช้เป็นค่านิยมทางวัฒนธรรมโดยมีความหมายที่ซับซ้อน แฝงเร้น ในเชิงอุดมการณ์ของรัฐไทย โดยเป็นมายาคติที่เป็นตัวกำหนดในการรับรู้ของคนในสังคมนั้นๆ

ตราประจำจังหวัดเริ่มขึ้นและเติบโตมากับนโยบายการสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยในปี พ.. 2483 นโยบายดังกล่าว ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเป็นชาติของคนไทยไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติไทย ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ การแต่งกาย รวมถึงวัฒนธรรมในบริบทของสังคมในสมัยนั้น แต่ผู้เขียนพยายามจะอธิบายถึงช่องว่างถึงประชาชนที่มีพหุทางวัฒนธรรมในสังคมไทยที่หลากหลายสามารถมีพื้นที่ของตนเองในการสร้างอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นได้ ผ่านการสร้างความหมายเชิงสัญลักษณ์ในตราประจำจังหวัด โดยมีกรมศิลปากรและคณะกรมการจังหวัดทั้ง 74 จังหวัด (ในสมัยนั้น) ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีส่วนในการนำมายาคติและการเกิดกระบวนการสร้างความหมายของตราประจำจังหวัดเป็นต้นมา อีกทั้งตราประจำจังหวัดส่วนใหญ่จะพิจารณาด้วยประวัติศาสตร์และโบราณคดีโดยชาวจังหวัดจะต้องพอใช้กับแนวคิดนี้ด้วย

Advertisement

มายาคติเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองโดยใช้ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นมาในสังคมไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อาทิ หมุดก่อกำเนิดคณะราษฎร ก็ถือว่าเป็นผลผลิตทางสังคมที่เป็นภาพสะท้อนถึงบริบทช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสังคมไทย ตราประจำจังหวัดเช่นเดียวกัน ปัจจุบันตราประจำจังหวัดในประเทศไทยมีอยู่ 77 จังหวัด ซึ่งมายาคติเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองโดยอาศัยผลผลิตของประชาธิปไตยนั้น จะมีตราประจำจังหวัดอยู่ 3 จังหวัด ที่ใช้กระบวนการสร้างความหมายเชิงสัญลักษณ์ระหว่างรัฐไทยและส่วนท้องถิ่นทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ โดยถูกใช้เป็นตราประจำจังหวัด 1 จังหวัด และพยายามใช้เป็นตราประจำจังหวัด 2 จังหวัดแต่ไม่สำเร็จ

ร้อยเอ็ดจังหวัดแรกและจังหวัดเดียวในประเทศไทยกับมายาคติประชาธิปไตยที่มีความหมายโดยนัยแฝง

จังหวัดร้อยเอ็ด คณะกรมการจังหวัดได้เสนอรูปเกาะกลางบึงพลาญชัย กรมศิลปากรเห็นว่าจังหวัดนี้มีบึงใหญ่อยู่กลางเมืองเป็นสิ่งธรรมชาติที่เด่น โดยควรทำเป็นรูปบึงใหญ่มีเกาะอยู่กลาง กลางเกาะเป็นที่ประดิษฐานพานรัฐธรรมนูญ ถือเป็นจังหวัดแรกและจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่กรมศิลปากรเลือกใช้มายาคติประชาธิปไตย โดยมีพานรัฐธรรมนูญเป็นตัวแทนของมายาคตินั้น ส่วนความหมายของนัยแฝงนั้น กรมศิลปากรได้เขียนบันทึกในหนังสือตราประจำจังหวัดที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.. 2542 หน้า 171 ไว้ว่า

ตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเกาะอยู่กลางบึงพลาญชัย กลางเกาะมีศาลาซึ่งภายในประดิษฐานพานรัฐธรรมนูญ ขอบตราตอนล่างเป็นลายกระหนก หมายถึง ความพร้อมเพรียงยึดมั่นสามัคคีกันของชาวเมือง เนื่องจากบึงพลาญชัยนี้ประชาชนในจังหวัดเคยพร้อมใจกันขุดลอกเมื่อ .. 2490 โดยใช้กำลังคนจำนวนมาก พานรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องหมายของความสามัคคีเช่นกัน

ตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นรูปพานรัฐธรรมนูญจำลองบนเกาะกลางบึงพลาญชัย ภาพจาก คณะกรรมการประชาสัมพันธ์และพิมพ์เอกสารการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2500, จังหวัดร้อยเอ็ด ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พระนคร : โรงพิมพ์อุดม, 2500)

แต่ในปัจจุบันตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ดโดยมีรูปพานรัฐธรรมนูญจำลองบนเกาะกลางบึงพลาญชัยถูกยกเลิกใช้ไปแล้ว โดยในปี พ.. 2545 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตราประจำจังหวัดแสดงรูปศาลหลักเมืองแทนพานรัฐธรรมนูญ บนเกาะกลางบึงพลาญชัย เบื้องหลังเป็นรูปพระมหาเจดีย์ชัยมงคล มีกรอบวงกลมเป็นรูปรวงข้าวล้อมรอบ

ตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ดที่ถูกใช้ในปี พ.ศ.2545แหล่งที่มา:https://www.roiet.go.th/101province/index.php?r=about/index&id=3

พระนคร” “ประจวบคีรีขันธ์กับการสร้างมายาคติประชาธิปไตยที่ไม่สำเร็จ

จังหวัดพระนคร เนื่องจากในปี พ.. 2483 กรุงเทพและธนบุรี ยังไม่ได้รวมเขตปกครองเดียวกัน มายาคติประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในการพยายามทำให้จังหวัดพระนครมีตราประจำจังหวัดคือ การที่คณะกรมการจังหวัดเสนอเครื่องหมายทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ พระที่นั่งอนันตสมาคม รูปปราสาทสามยอด (พระที่นั่งจักรี) รูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย รูปภูเขาทอง และรูปพระแก้วมรกต สุดท้ายกรมศิลปากรเห็นว่าควรจะเป็นรูปปราสาทสามยอด เหมาะสมที่สุด โดยเห็นว่าหน้าบรรพปราสาทเป็นเครื่องหมายพุทธศิลป์ องค์ปราสาทแสดงเห็นถึงการเป็นราชธานี จากเครื่องหมายทั้งหมดนั้น รูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถือเป็นผลผลิตทางความคิดของคณะกรมการจังหวัดที่พยายามนำเสนอเป็นมายาคติประชาธิปไตยในตราประจำจังหวัดพระนครนั้น กรมศิลปากรเห็นว่า เป็นเครื่องหมายระเบียบการปกครองของไทยทุกจังหวัดอยู่แล้ว ทำให้มายาคติประชาธิปไตยแบบนี้ไม่ถูกใช้ในที่สุด

ตราประจำจังหวัดพระนคร ภาพจากหนังสือตราประจำจังหวัด กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พ.ศ. 2542
ตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาพจากหนังสือตราประจำจังหวัด กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พ.ศ. 2542

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เช่นเดียวกัน มายาคติประชาธิปไตยในตราประจำจังหวัดที่ไม่ถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์เช่นเดียวกับจังหวัดพระนครกล่าวคือ คณะกรมการจังหวัดได้เสนอตราประจำจังหวัดให้แก่กรมศิลปากรเพื่อพิจารณาคัดเลือก 3 รูป ได้แก่ รูปเทวดาประจำทิศท้าววิรุณหก รูปพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ รูปเกาะ 2 เกาะมีพานรัฐธรรมนูญและธงชาติ สุดท้ายกรมศิลปากรเห็นว่าควรจะเป็นรูปพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ กับรูปเกาะหลักและเกาะแรดเป็นเครื่องหมายเหมาะสมที่สุด เพื่อระลึกถึงนามเดิมของจังหวัด

จะเห็นได้ว่ามายาคติประชาธิปไตยกับกระบวนการสร้างความหมายผ่านอุดมการณ์รัฐไทยทั้ง 3 จังหวัดนั้น จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดเดียวที่ได้เห็นมายาคติประชาธิปไตยในเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นตัวกำหนดและเป็นผลผลิตของสังคมและการรับรู้ของสังคมไทยในช่วงเวลานั้น แต่มายาคติประชาธิปไตยที่นำไปใช้นั้นถูกตีความในเชิงแง่ของความสามัคคีในหมู่คณะในการขุดลอกบึงพลาญชัยเพียงเท่านั้น ซึ่งอาจจะสื่อความหมายของประชาธิปไตยที่ไม่ครอบคลุมถึงองค์ความรู้ความหมายทางสังคมและการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง ส่วนจังหวัดพระนครและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มายาคติที่คณะกรมการจังหวัดสะท้อนออกมาได้เห็นถึงลักษณะของสัญลักษณ์ทางการเมืองในแง่รูปแบบการปกครองประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน ถึงแม้มายาคตินี้จะไม่ถูกใช้ก็ตาม


อ้างอิง :

กรมศิลปากร. ตราประจำจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542

คณะกรรมการประชาสัมพันธ์และพิมพ์เอกสารการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ..2500, จังหวัดร้อยเอ็ด ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พระนคร : โรงพิมพ์อุดม, 2500)

โขมสี แสนจิตต์. ตราประจำจังหวัด : มุมมองจากสัญวิทยาสู่อัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่น. กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 2554


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 9 มกราคม 2566