อังกฤษขอบริจาคหม้อกระทะ-ปลดป้ายบอกทาง ฯลฯ รับมือสงครามโลกครั้งที่ 2

หม้อ, กระทะอะลูมิเนียม ที่ประชาชนบริจาคกำลังนำเข้าเตาหลอม (ภาพจากบันทึกภาพประวัติศาสตร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2)

ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อคืนวันที่ 16-17 มิถุนายน ค.ศ. 1940 รัฐบาลฝรั่งเศสโดยการนำของจอมพลฟิลิป เปแตง ร้องขอสัญญาสงบศึก แต่ใช่ว่าคนฝรั่งเศสทุกคนจะยอมรับ พลจัตวาชาร์ลส์ เดอโกล ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในอังกฤษ เขาได้กระจายเสียงผ่านบีบีซีเรียกร้องให้คนฝรั่งเศสสู้ต่อไป

เจ้าหน้าที่กำลังปลดป้ายบอกทางลงในเมือง (ภาพจาก บันทึกภาพประวัติศาสตร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2)

ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้อังกฤษต้องเตรียมพร้อมในการต่อสู้ที่โดดเดี่ยว นายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิล บอกกับเพื่อนร่วมชาติว่า “ฮิตเลอร์รู้ว่าจะต้องทำลายพวกเราบนเกาะนี้ ไม่เช่นนั้นจะพ่ายในสงคราม” อังกฤษเตรียมพร้อมรับมือทั้งในการรุกไล่ และการรับมือ ดังนี้

รัฐบาลประกาศขอรับบริจาคหม้อและกระทะอะลูมิเนียมที่ใช้ในแต่ละครัวเรือนจากประชาชนเพื่อเอามาหลอม และนำกลับมาใช้ใหม่ ในการผลิตสปีดไฟร์-เครื่องบินรบเครื่องยนต์เดียวของอังกฤษที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นแก้ปัญหาการทรัพยากรขาดแคลนรูปแบบหนึ่ง

เด็กๆ มองลวดหลวดหนามตลอดแนวชายหาดตาละห้อย (ภาพจาก บันทึกภาพประวัติศาสตร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2

การออกปลดป้ายบอกทางในเมืองต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับฝ่ายตรงข้าม ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่เป้าหมายได้ง่าย ในกรณีที่สามารถบุกเข้ามาได้

การปิดล้อมพื้นที่ชายหาด ด้วยรั้วลวดหนาม เพื่อป้องกัน และยืดเวลาไม่ให้ฝ่ายเยอรมนีบุกขึ้นมาได้โดยง่าย ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ก็แค่มาตรการบางส่วนของภาครัฐ แต่แสดงให้เห็นว่า สงครามมีผลกระทบกับทุกคน ทุกอย่าง เมื่ออยู่ในยามสงคราม ล้วนมีได้รับผลกระทบทั้งสิ้น

 

คลิกอ่านเพิ่มเติม : องค์กรทหาร-กึ่งทหารในไทย หวิดโดนยุบ จากข้อเสนอของอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2


ข้อมูลจาก

ริชาร์ด โฮล์มส์ เขียน, นพดล เวชสวัสดิ์ แปล. บันทึกภาพประวัติศาสตร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ 5 กรกฎาคม 2555


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 มีนาคม 2564