เกิดอะไรขึ้นหลังรัชกาลที่ 4 รับสั่งมีเจ้านาย 4 พระองค์ที่ครองราชย์ได้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2347-2411) ที่ประสูติแต่ พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าเกล้าอยู่หัวจึงรับสั่งถึงพระนามของเจ้านาย 4 พระองค์ที่ครองราชย์ได้ บรรดาเจ้านายพระองค์ที่ทรงมีรับสั่งถึงทรงทำเช่นไรหลังมีรับสั่งดังกล่าว ม.ร.ว.คึกฤทธ์ ปราโมช หนึ่งในทายาทของเจ้านายกลุ่มดังกล่าว บันทึกไว้ในหนังสือ “โครงกระดูกในตู้” (สนพ.ดอกหญ้า, 2544) ว่า [จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการ]


 

“เหตุเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว คือในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2396 อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชกุมารขึ้นทรงกรมเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ เมื่อพระราชทานพระสุพรรณบัฏแด่พระราชกุมารแล้ว พระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่ได้ทรงกระทำสัตย์ปฏิญานต่อพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต แล้วแสดงความในพระราชหฤทัยว่า

ในเวลาต่อไป ถ้าเจ้านายทรงกรมเป็นกรมหมื่น 4 พระองค์คือ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ กรมหมื่นบำราบปรปักษ์ กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ และกรมหมื่นราชสีห์วิกรม พระองค์ใดพระองค์หนึ่งจะได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในกรุงเทพพระมหานครแล้วจะมิได้ทรงรังเกียจเดียดฉันท์เลย ทรงเห็นชอบตรงต่อพระราชประสงค์ทุกประการ…

ในพระอุโบสถนั้นมีเจ้านายขุนนางเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่มาก ทุกคนก็ได้ยินพระราชปณิธานนี้

กรมหมื่นบําราบปรปักษ์

สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมหมื่นบำราบปรปักษ์ [ต้นราชสกุล มาลากุล] และกรมหมื่นวรจักรฯ [ต้นราชสกุล ปราโมช] นั้น เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 แต่พระยศก็ผิดกันอยู่แล้ว เพราะกรมขุนวรจักรฯ เป็นเพียงพระองค์เจ้า

กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ นั้นเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 พระนามเดิมพระองค์เจ้าสิงหรา ต่อมาได้เลื่อนกรมเป็นกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ทรงเป็นต้นราชสกุลสิงหรา

ส่วนกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศนั้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชกุมารพระองค์ใหญ่ ซึ่งทุกคนเห็นว่าจะต้องทรงรับรัชทายาท พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

จึงทำให้เจ้านายที่ถูกเอ่ยพระนามนั้นต้องสะดุ้งสะเทือนเป็นอย่างยิ่ง

ตาทุกคู่ในพระอุโบสถวัดพระแก้วก็จับมองมาที่เจ้านาย 3 พระองค์นั้น ทั้งสามพระองค์ก็หมอบนิ่งก้มพระพักตร์ไม่กล้าจะกระดิกพระองค์ เพราะทุกพระองค์แทนที่จะทรงยินดีกลับหวาดหวั่นพรั่นพรึงเป็นล้นพ้น

กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ

อันตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั้นเป็นของสูงสุด ประกอบด้วยความศักดิ์สิทธิ์และพระราชอำนาจทั้งปวง ในใจของคนไทยนั้นเพียงแค่อาจเอื้อมคิดเอาตัวเข้าไปพัวพันก็ไม่เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเสียแล้ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชดำรัสดังนั้น กรมหมื่นทั้งสามพระองค์ ก็ตกอยู่ในฐานะลำบากอย่างยิ่ง ตาทุกคู่ที่จับมองในพระอุโบสถนั้น

ถึงแม้ว่าออกไปนอกพระอุโบสถไปแล้วก็ยังมิได้วางตาและมองต่อไปด้วยความระแวง หากทรงทำอะไรไปในทางส่งเสริมบุญวาสนา หรือแม้แต่จะมีข้าไทมากคนก็จะต้องพูดซุบซิบหรือนึกในใจว่าเตรียมพระองค์จะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือจะคิดกบฏแย่งชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่ไม่เป็นสิริมงคล และบังคับให้เจ้านายทั้ง 3 พระองค์ ต้องระวังพระองค์อย่างยิ่งยวดอยู่ทั้งนั้นจนตลอดรัชกาลที่ 4

กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ

สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลานั้น ปรากฏว่าเสด็จออกป่าคล้องช้างเผือก และติดตามช้างเผือกอยู่ในป่าโดยมิได้ทรงหยุดยั้ง นานๆ จะเสด็จคืนพระนครสักครั้งหนึ่ง จนขึ้นรัชกาลที่ 5 ได้เฉลิมพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาแล้วจึงได้ประทับอยู่กับรั้ววังเป็นปกติ

กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณนั้นก็หายเข้าห้องสมุดหลวงสมกับพระนามกรม ทรงมีราชการเฉพาะแต่ที่หอพระสมุดและที่โรงพิมพ์หลวง ไม่สนพระทัยต่ออะไรเกินไปกว่านั้น

กรมหมื่นวรจักรฯ ก็เลิกสนพระทัยกรมเมืองและกรมท่า สนพระทัยแต่การหุงกระจก ซึ่งต้องทำเอาไว้มากมายเพื่อประดับพระอาราม และพระราชมณเฑียรสถานและพระแท่นต่างๆ การทำเคลือบที่ทรงบังคับบัญชาอยู่ด้วยนั้น มิใช่เคลือบถ้วยชาม ซึ่งในสมัยนั้นดูเหมือนจะเลิกทำกันเสียแล้ว เพราะสั่งจากเมืองจีนสะดวกกว่า…”


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์เมื่อ 12 มีนาคม 2564