ชำแหละอำนาจนำ ผ่านสัญลักษณ์ “ไก่” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ภาพไก่ สัญลักษณ์ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

…ความคิดเรื่องการสร้างชาติไทยให้เจริญเป็นอารยะนั้น นอกจากจะเน้นการปลุกกระแสชาตินิยมแล้ว ยังถูกสั่งสอนกล่อมเกลาให้เชื่อว่า ชาติไทยจะพัฒนาเป็นอารยะได้นั้น มีหนทางสำคัญคือ ทำตามคำสั่งหรือนโยบายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นสำคัญ คติพจน์ที่เป็นที่รู้จักดีของยุคคือ “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย”

ภายใต้กระบวนการสร้างวาทกรรม “เชื่อผู้นำ” ดังกล่าว ในเชิงศิลปะได้มีการสร้างรูปสัญลักษณ์ใหม่บางอย่างขึ้น และอำนาจนำ ผ่านรูปสัญลักษณ์บางอย่าง สัญลักษณ์ที่ถูกเลือกขึ้นมาคือ “ไก่” เพราะ “ไก่” คือปีเกิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ตราประจำจังหวัดพิบูลสงคราม ออกแบบเป็นรูปไก่ เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จังหวัดพิบูลสงครามคือเมืองเสียมเรียบในกัมพูชา ซึ่งเใื่อพ.ศ.2484 เมืองนี้ได้ถูกรวมเข้ามาอยู่ในดินแดนไทย อันเป็นผลมาจากสงครามอินโดจีนฝรั่งเศส
ตราประจำจังหวัดพิบูลสงคราม ออกแบบเป็นรูปไก่ เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จังหวัดพิบูลสงครามคือจังหวัดบันทายมีชัยในกัมพูชา ซึ่งเมื่อ พ.ศ.2484 เมืองนี้ได้ถูกรวมเข้ามาอยู่ในดินแดนไทย อันเป็นผลมาจากสงครามอินโดจีนฝรั่งเศส

น่าพิจารณาอย่างยิ่งว่า สัญลักษณ์ “ไก่” ของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการออกแบบที่เสมือนว่าจะพยายามลอกเลียนตราสัญลักษณ์ “ครุฑ” ของกษัตริย์อยู่ในที (และบางส่วนดูเหมือนจะได้รับอิทธิพลจากอินทรีนาซี)

ปูนปั้นรูปหัวไก่ ประดับอยู่ตรงชายคารับพื่นระเบียงของอาคารภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สัฯฯิษฐานว่าได้รับการซ่อมแปลงเป็นรูปดังกล่าวสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (ที่มา : หนังสือทำเนียบรัฐบาล)
ปูนปั้นรูปหัวไก่ ประดับอยู่ตรงชายคารับพื้นระเบียงของอาคารภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สันนิษฐานว่าได้รับการซ่อมแปลงเป็นรูปดังกล่าวสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (ที่มา : หนังสือทำเนียบรัฐบาล)

“ไก่” ในยุคนี้ต้องถือว่าถูกสร้างสถานะและความหมายที่พิเศษมากกว่า “ไก่” ในทุกยุคสมัย สัญลักษณ์ “ไก่” ถูกนำไปสร้างขึ้นเป็นรูปปั้นตั้งอยู่ที่ลพบุรี ถูกนำไปแต่งเป็นเพลง ถูกนำไปเขียนเป็นรูป ถูกนำไปทำน้ำพุประดับทำเนียบสามัคคีชัย

และที่สำคัญ ถูกใช้เป็นองค์ประกอบลวดลายประดับชายคาในทำเนียบรัฐบาล ทั้งหมดนี้เพื่อสื่อแสดงถึงอำนาจและบารมีของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความเรื่อง “ศิลปะคณะราษฎร 2475-2490” เขียนโดย ชาตรี ประกิตนนทการ ในหนังสือ “ศิลปะสถาปัตยกรรม คณะราษฎร สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์” (มติชน, 2552)


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 11 มิถุนายน พ.ศ.2562