การ(บ่น)ลาออกแต่ไม่ยอมออก เครื่องมือทางการเมืองของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

การ(บ่น)ลาออกแต่ไม่ยอมออก เครื่องมือทางการเมืองของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

เมื่อนึกถึงนายกรัฐมนตรีของไทยที่สร้างวีรกรรมอันโชกโชน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองภายในหรือการต่างประเทศ หนึ่งในชื่อที่จะต้องผุดขึ้นมาในความคิดของผู้คลุกคลีกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย คงจะหนีไม่พ้นชื่อของ จอมพล . พิบูลสงคราม

จอมพล (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440-11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) ถือได้ว่าเป็นนักการเมืองไทยคนหนึ่งที่แต่งแต้มสีสันให้กับประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างน่าสนใจจอมพลตราไก่ผู้นี้เคยผ่านประสบการณ์มากมาย ทั้งถูกลอบยิง ถูกลอบวางยา ถูกจำคุกในระหว่างการไต่สวนข้อหาอาชญากรสงคราม รวมถึงถูกจี้เป็นตัวประกันในคราวกบฏแมนฮัตตัน คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องราวทางการเมืองต่าง ๆ ของ จอมพล . ได้รับการศึกษาและอภิปรายมาแล้วอย่างมากมายจากนักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากวีรกรรมเสี่ยงชีวิตบนเวทีการเมืองไทยที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้วในข้างต้น อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่น่าสนใจของจอมพลผู้นี้คือการ ลาออกแต่ไม่ยอมออก จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน .. 2486

อันที่จริง เมื่อนึกถึงการลาออกของ จอมพล . ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 1 (.. 2481-87) ผู้คนก็มักจะนึกถึงการลาออกเมื่อ .. 2487 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแพ้การลงคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผ่านพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดระเบียบราชการการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ และร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล ในวันที่ 20 และ 22 กรกฎาคม 2487 ตามลำดับ[1]

อย่างไรก็ดี ในช่วงราวเกือบ 1 ปีก่อนหน้าที่ จอมพล . จะลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีฉากละครการเมืองฉากหนึ่งอุบัติขึ้นบนเวทีการเมืองไทย เหตุการณ์ทั้งหมดเริ่มขึ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2486 เมื่อ จอมพล . ได้ส่งหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปถึง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

การตัดสินใจลาออกของ จอมพล . ได้ถูกเผยแพร่และประกาศผ่านทางวิทยุในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2486 ความพิสดารอยู่ที่ไม่กี่ชั่วโมงหลังการแถลงข่าวการลาออกของ จอมพล . นั้น กรมโฆษณาการก็ได้แถลงข่าวแก้ไขเรื่องการลาออกของ จอมพล . ทันทีในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 กล่าวโดยรวบรัดคือ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2486 นั้น จอมพล . ยื่นใบลาออกแต่ไม่ยอมลาออกนั่นเอง

คำถามที่พึงมีต่อเหตุการณ์ประหลาดดังกล่าวมีอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรก เหตุใด จอมพล . จึงตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2486? ประการที่ 2 เกิดเหตุอะไรขึ้นบ้างในช่วงระยะเวลาระหว่างที่ จอมพล . ยื่นจดหมายลาออก จนถึงวันที่มีการแถลงข่าวยกเลิกการลาออกของ จอมพล .?

บทความชิ้นนี้มุ่งที่จะตอบคำถามทั้ง 2 ข้อโดยการไล่เรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยที่ จอมพล . ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก (2481-87) โดยวิเคราะห์เรียบเรียงจากการใช้บันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เอกสารรายงานประชุมคณะรัฐมนตร[2] และเอกสารจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อบรรยายและทำความเข้าใจละครการเมืองฉากหนึ่งอันน่าสนใจในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

สืบเนื่องจากคำถามที่ว่าเพราะเหตุใด จอมพล . จึงตัดสินใจส่งหนังสือลาออกถึงคณะผู้สำเร็จราชการ ผู้เขียนเชื่อว่า หนึ่งในคำถามสำคัญที่ผู้สันทัดในการวิเคราะห์การเมืองจะต้องหยิบยกขึ้นมาก็คือคำถามที่ว่า จอมพล . มีความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะลาออกจริงหรือ?

แม้ว่าเหตุการณ์การลาออกในปี 2486 มักจะไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ลงรายละเอียดมากนักในงานศึกษาด้านการเมืองไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ปรากฏข้อสันนิษฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับสาเหตุของกรณีดังกล่าวไว้อยู่แล้ว[3] เพื่อที่จะทำความเข้าใจเหตุการณ์การลาออกในปี 2486 ผู้เขียนจึงขอไล่เรียงบริบททางประวัติศาสตร์ก่อนและหลังที่จะเกิดเหตุการณ์ลาออกแต่ไม่ยอมออกเพื่อที่จะวิเคราะห์ทำความเข้าใจพฤติกรรมดังกล่าวของ จอมพล . พิบูลสงคราม ก่อนที่จะอภิปรายเหตุการณ์การลาออกในปี 2486

จอมพล ป. จอมลาออก

เมื่อพิจารณาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในช่วง จอมพล . เป็นนายกรัฐมนตรีช่วงแรก จอมพล . เป็นผู้ที่ชอบเปรยถึงเรื่องการลาออกของตนอยู่เสมอ บทความในส่วนนี้จะอภิปรายถึงเหตุการณ์การลาออกในช่วงต่าง ๆ ของ จอมพล . ในปี 2484, 2485 และ 2487 เพื่อให้เห็นถึงสาเหตุและบริบทของการลาออกในแต่ละครั้งตลอดจนแสดงให้เห็นว่า จอมพล . มีแนวโน้มที่ยกอ้างการลาออกขึ้นมาหลายครั้งในช่วงการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเหตุการณ์การลาออกที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะทำให้เข้าใจเหตุการณ์การลาออกในปี 2486 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญและถูกอภิปรายไว้ในช่วงท้ายของบทความ

ตามที่ได้เกริ่นมาในข้างต้น จอมพล . มักจะชอบหาเหตุอ้างถึงการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองอยู่เป็นประจำ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ได้เคยตรัสถึงพฤติกรรมการหาเหตุอ้างถึงการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ จอมพล . ไว้อย่างน่าสนใจว่า

ในระหว่างที่จอมพล . รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นั้นเคยลาออกหลายครั้ง ครั้งแรกในปี 2482 วันที่ 10 ธันวาคม แต่ไม่ได้ออกจริง หนังสือใบลาก็ไม่ได้ถอนไป เรื่องนี้ไม่ได้เปิดเผยให้คนภายนอกทราบ[4] นอกเหนือจากทัศนะของพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ หนึ่งในตัวอย่างที่เกิดขึ้นคือการเปรยถึงการลาออกหลังจากที่ฝ่ายไทยได้รับชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในกรณีสงครามอินโดจีนปลายปี 2483-84

เป็นที่ทราบกันดีว่าชัยชนะของไทยเหนือชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่างฝรั่งเศสนั้นนำไปสู่การแซ่ซ้องสรรเสริญรัฐบาล จอมพล . อย่างมากมาย กระนั้นก็ดี ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่ฝ่ายไทยกับฝรั่งเศสได้เจรจากันเรื่องการคืนดินแดนหลังจากการเจรจาสงบศึกชั่วคราวโดยมีญี่ปุ่นเป็นคนกลางในเดือนกุมภาพันธ์ 2484 นั้น จอมพล . ได้เลือกที่จะหยิบยกเรื่องที่ตนเองจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นมาพูดถึงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนกุมภาพันธ์ 2484

จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับบรรดานักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กระทำการปฏิญาณตนต่อพระแก้วมรกต ในการเรียกร้องดินแดนคืน วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม (ภาพจากหนังสือ ไทยสมัยสร้างชาติ)

แม้ว่าในช่วงต้นปี 2484 ประเทศไทยจะยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามที่อุบัติขึ้นในยุโรป แต่ทางรัฐบาลไทยมีการพูดคุยและคะเนถึงความเป็นไปได้ของไทยในการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลางในการเมืองโลก รวมถึงกรณีที่สถานการณ์บังคับให้ไทยต้องเลือกข้างระหว่างฝ่ายอังกฤษหรือเยอรมนี ขณะที่ประชุมกัน จอมพล . (ยศ นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม ในช่วงเวลานั้น) ได้เสนอตัวว่าจะยุบคณะรัฐมนตรีเสีย และไม่ขอกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก

จอมพล . ได้กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2484 ว่า

ข้าพเจ้าเห็นว่าฐานะของเยอรมันดีกว่าญี่ปุ่น คือ ไม่ต้องพึ่งประเทศเล็ก เพราะกำลังของเขาพร้อม สำหรับใจข้าพเจ้า ถ้าจะเอาตัวรอดละก็เห็นว่าควรเข้ากับอังกฤษ คือ เราไปเสียให้พ้นเขตต์แดนเรือปืนแล้วทางการเงินของเราก็ปลอดภัย และแม้ว่าเยอรมันจะชะนะเราก็คงไม่เป็นไร เรื่องนี้เพื่อให้ข้าพเจ้าเป็นคนบริสุทธิ์แล้ว ช่วยชีวิตข้าพเจ้าบ้าง ช่วยชื่อเสียงข้าพเจ้าบ้าง และในนโยบายต่างประเทศนั้น เห็นว่าควรตั้งกรรมการเสียดีกว่า

และวิธีที่เซฟที่สุดก็คือเมื่อเสร็จทางอินโดจีนแล้วก็ยุบรัฐบาลเสียแล้วตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่แค่อย่าให้ข้าพเจ้าเป็นนายก [เน้นโดยผู้เขียน] ให้ข้าพเจ้าทำงานแต่ทางทหารหน้าเดียว แล้วเรื่องเกี่ยวกับต่างประเทศก็พูดกันใหม่[5]

ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นที่ชัดเจนว่าไทยได้กำชัยเหนือฝรั่งเศสทั้งยังจะได้รับดินแดนบางส่วนกลับคืนมาเป็นที่แน่นอนแล้ว แต่ จอมพล . ก็เสนอขอลาออกไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ไทยจำต้องเข้าร่วมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในอนาคตอันใกล้

อย่างไรก็ดี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) ได้กล่าวทัดทาน จอมพล . โดยยกเหตุผลว่ามันก็เอาอ้ายโจทย์เลขข้อเก่ามาให้เราตอบอีก และเราจะเอาเรื่องอะไรมาอ้างในการยุบรัฐบาล[6] ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2484 จอมพล . ไม่ได้หยิบยกเรื่องการลาออกขึ้นมาในการประชุมครั้งต่อ ๆ มาอีก

นอกเหนือจากการพูดถึงการไม่ขอกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงระหว่างการเจรจากับรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้น เมื่อมีการกระจายบัตรสนเท่ห์เป็นคำแถลงของคณะอิสสระไทย กล่าวหา นายวนิช ปานะนนท์ ในกรณีการขายชาติต่อประเทศญี่ปุ่น ไม่เพียงเท่านี้บัตรสนเท่ห์ฉบับดังกล่าวยังได้กล่าวพาดพิงถึง จอมพล . อีกในทำนองที่ว่านายกรัฐมนตรีรู้ไม่เท่าทันการขายชาติของผู้ใต้บังคับบัญชา[7]

แม้ว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนความวุ่นวายดังกล่าว แต่ จอมพล . ก็ได้เปรยขึ้นมาถึงความต้องการที่จะลาออกอีกครั้ง ในบันทึกรายงานประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 ตุลาคม 2484 จอมพล . ได้รำพึงรำพันในที่ประชุมว่า

เรื่องนี้มีประเด็นพาดพิงมาถึงผมด้วย ผมเป็นคนใช้ให้นายวนิช ปานะนนท์ติดต่อกับญี่ปุ่นในเรื่องต่าง ๆเมื่อเป็นเช่นนี้เครดิตของผมก็ไม่มี ฉะนั้นผมจึงอยากจะขอถอนตัวจากนายกรัฐมนตรี [เน้นโดยผู้เขียน] และมอบตำแหน่งนี้ให้เพื่อนฝูงคนอื่นทำต่อไปผมก็รู้ว่าพวกเราทุกคนคงไม่อยากให้ผมออก แต่เมื่อมันมีเรื่องเช่นนี้ ผมก็ไม่อยากอยู่ ตั้งแต่เกิดมาผมไม่เคยโกงใคร เมื่อครั้งอยู่โรงเรียนเพียงแต่ก๊อปปี้ผมยังไม่เอาเลย ฉะนั้นผมจึงไม่อยากจะให้ชื่อเสียงของผมต้องมาเสียเพราะเรื่องนี้[8]

(จากซ้ายไปขวา) หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) (ภาพจากหนังสือสมุดภาพพระยาพหลพลพยุหเสนา ภาค 1 จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ต้นฉบับ พ.ศ. 2556)

นายควง อภัยวงศ์ (หลวงโกวิทอภัยวงศ์ ) จึงได้ออกตัวทัดทานไว้ว่าผมขอขัดคอ เพราะไม่เห็นด้วยกับการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตร[9] เช่นเดียวกันนั้น นายโป๊ โปรคุปต์ (ขุนสมาหารหิตะคดี) ได้เสนอตัวออกโรงช่วยยุดยื้อ จอมพล . ไว้โดยให้ความเห็นว่าที่ท่านนายกรัฐมนตรีว่าจะลาออกนั้น รัฐบาลคงไม่ยอม เรื่องนี้มันอยู่ที่เรา[10] เมื่อมีการทัดทานอย่างเพียงพอ ท้ายที่สุด จอมพล . ก็ไม่ได้ขอยื่นใบลาออกตามที่อ้างไว้ในที่ประชุม

จอมพล . ยังได้เปรยถึงการลาออกอีกครั้งหนึ่งในช่วงเดือนมีนาคม 2485 ตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล . ได้เข้าร่วมสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม 2484 จะด้วยเหตุผลในด้านความจำเป็นหรือจะด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม 3 เดือนหลังจากที่ไทยได้เข้าร่วมกับญี่ปุ่น จอมพล . พิบูลสงคราม ได้ประกาศขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2485

โดยได้ยื่นใบลาออกไปให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ในขณะที่ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนหนึ่งนั้นไม่รับรู้ถึงการลาออกดังกล่าวเลย กระนั้นก็ดี ในวันต่อมา จอมพล . ก็ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และได้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นมาในวันที่ 10 มีนาคม 2485[11]

อาจจะเป็นไปได้ว่าการลาออกของ จอมพล . ในเดือนมีนาคม 2485 นั้นเป็นการลาออกเพื่อปรับคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสอดคล้องไปในแนวนโยบายที่ จอมพล . ได้วางเอาไว้ โดย จอมพล . ได้ให้เหตุผลการลาออกต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของเขาโดยกล่าวว่า

การที่ผมถวายบังคมลาออกโดยมิได้แจ้งให้รัฐมนตรีแต่ละท่านทราบก่อนก็เพราะผมขอถือวิสาสะ ที่ผมทำเช่นนั้นก็เพราะเหตุว่าผมได้เคยพูดว่าจะลาออกหลายครั้งหลายหนแล้ว และผมเจตนาจะลาออกจริง ๆ ด้วยแต่ครั้นเสนอทีไรด้วยความไมตรีของพวกเราก็ไม่มีใครจะยอมให้ผมลาออก [เน้นโดยผู้เขียน] นอกจากนั้นทางคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ไม่ยอมให้ลาออก ผมยื่นทางสภาผู้แทนราษฎรก็ไม่สำเร็จ รวมความว่าผมอยู่ในฐานะถูกปิดประตูตีแมว แต่หากว่าเป็นไปในทางที่ดีและไมตรีจิตต์เท่านั้น[12]

จากคำกล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนี้จะเห็นว่า หลักการที่ จอมพล . ยกขึ้นมาสร้างความชอบธรรมในการลาออกของตนนั้นเป็นเพราะตนเองได้เอ่ยถึงความต้องการที่จะลาออกหลายต่อหลายครั้งแต่มักจะถูกทัดทานทำให้ไม่สามารถลาออกได้จริง เป็นที่แน่นอนว่าการปรับคณะรัฐมนตรีนั้นไม่จำเป็นที่ตัวนายกรัฐมนตรีจะต้องลาออก

เมื่อย้อนพิจารณาถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ จะพบว่า จอมพล . ได้เคยดำเนินการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีหลายต่อหลายครั้งตั้งแต่ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาล เช่น การปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อครั้งที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ดังนั้น เป็นไปได้ที่ว่าการลาออกครั้งนี้เป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมืองของ จอมพล . เพื่อทดสอบคะแนนเสียงและความนิยมทางการเมืองเท่านั้น

กรณีการลาออกอีกครั้งหนึ่งของ จอมพล . คือในปี 2487 ซึ่งเป็นการลาออกเพราะพ่ายแพ้ในการลงคะแนนเสียงกรณีพระราชบัญญัติเพชรบูรณ์และพุทธบุรีมณฑล อันที่จริงก่อนหน้าที่ จอมพล . จะเผชิญกับปัญหาดังกล่าวนั้น เขาได้เคยเกริ่นถึงการลาออกของตนล่วงหน้าหลายเดือนก่อนที่จะยอมลาออกอย่างจริงจังในเดือนกรกฎาคม โดยการเอ่ยถึงการลาออกครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการจับกุมนายวนิช ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาล จอมพล . และเป็นเสมือนกระบอกเสียงในการติดต่อกับฝ่ายญี่ปุ่น

นายควง อภัยวงศ์

ในช่วงต้นปี 2487 นายวนิชถูกจับกุมโดยข้อหาทุจริตทองคำของธนาคารไทยจำกัด ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว รัฐบาลของ จอมพล . ถูกกดดันจากฝ่ายญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ตัวแทนและที่ปรึกษาของสถานทูตญี่ปุ่น อย่างเช่น นายโค อิชิอิ ได้พยายามที่จะติดต่อเพื่อแจ้งแก่ จอมพล . ทราบ ถึงความประสงค์ของ นายทสุโบกามิ เตอิจิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยที่จะขอเข้าพบเพื่อจะพูดคุยถึงกรณีการจับกุมนายวนิช อย่างไรก็ดี จอมพล . ได้พยายามบ่ายเบี่ยง พร้อมทั้งเขียนบ่นถึงปัญหาดังกล่าวด้วยลายมือตัวเองว่า

ซาบแล้ว คิดว่าล่วงเลยมานานแล้ว งดแถลงทั้งสิ้นดีกว่า เพาะพูดไปมีแต่ขาดทุน บอก .. [ญี่ปุ่นผู้เขียน] เขาด้วย ส่วนการพบฉันนั้น เห็นจะยังอีกนานวัน เพาะคิดจะดูทางที่อพยพเสียให้เส็ดก่อน และฉันไม่สะบายมากขึ้น เดิมเปนหลอดลมอักเสบ นานเข้า เวลานี้เสื่อมลงไปทางใกล้ปอด ต้องพักและฉีดคาลเซี่ยมประจำ มีอะไรมอบอำนาดให้ ... ต่างประเทสกับรองนายก ลงนามแทนได้ จะกลับเห็นจะสิ้น มี.. 87 บางทีอาดขอลาออก [เน้นโดยผู้เขียน] เพาะไม่สามารถทนโรคปอดได้ . พิบูล 3 มี.. 87”[13]

วันรุ่งขึ้นภายหลังที่ จอมพล . เขียนปรารภถึงปัญหาสุขภาพและความเป็นไปได้ในการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.. ไชย ประทีปะเสน เจ้ากรมประสานงานพันธมิตรไทยญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นได้เขียนรายงานถึง จอมพล . ว่า นายโค อิชิอิ ยังได้พยายามอีกครั้งที่จะติดต่อขอเข้าพบ จอมพล . อีกทั้งยังปฏิเสธที่จะพูดคุยเรื่องดังกล่าวกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศและรองนายกรัฐมนตรีโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งโดยตรงจากทางรัฐบาลญี่ปุ่น ในเอกสารจดหมายนั้น พล.. ไชยได้ระบุว่า

เอกอัครราชทูต (ทสุโบกามิ) จะขึ้นมาพบพนะท่านได้จะดี เขาถามว่าท่านหยู่ที่ไหน ฉันตอบว่าการขึ้นมาพบนั้นคงลำบากเพราะไม่มีที่พัก ท่านเองหยู่ในกะท่อมในป่า เขาบอกว่าถ้าเช่นนั้น ขอให้ฉันเรียนว่าเอกอัครราชทูตมีเรื่องด่วนที่จะพบท่าน และเรื่องนี้ไม่ทำความลำบากให้แก่ท่านเลย ถ้าท่านจะกลับมาหรือจะให้เขามาพบก็ได้ ฉันบอกว่าฉันเรียนให้แต่ถ้าเปนเรื่องด่วนก็ควนพูดกับ .... ก่อนก็ได้ เขาบอกว่าได้รับคำสั่งจากรัถบาลมาเช่นนั้น ทำไม่ได้ ขอประทานดำหริ พล.. ไชย ประทีปะเสน 4 มี.. 87”[14]

จะด้วยความจำใจหรืออย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ทางญี่ปุ่นแสดงออกถึงความต้องการอย่างแรงกล้าในการที่จะขอพบนายกรัฐมนตรีของไทย จอมพล . จึงยกอาการป่วยถึงแก่ชีวิตของตนขึ้นมาอีกครั้งเพื่อเป็นข้ออ้างในการหลีกเลี่ยงการพบกับเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น โดย จอมพล . ได้ส่งโทรเลขถึง พล.. ไชย ว่าเจ้าตัวนั้นอยู่ที่เพชรบูรณ์และเดินทางไปตรวจราชการโดยรถยนต์ และด้วยเหตุที่ฝนตกทำให้ถนนเป็นโคลนไม่สามารถกลับไปได้ ทั้งนี้ จอมพล . ยังได้อ้างเหตุทางด้านสุขภาพของตนขึ้นมาอีกครั้งโดยกล่าวว่า

ถ้าทูตจะมาพบฉัน ดูก็เปนการลำบากมากพอไช้ ส่วนฉันถ้ากลับไปแล้วกลับมา ร่างกายของฉันซึ่งไม่ดีทางปอดหยู่ แล้วคงตายแน่ช่วยอธิบายไห้เขาซาบด้วย ว่า ฉันมานี้ เพื่อพักผ่อนกึ่งลา และหาที่อพยพไห้เด็กด้วยเท่านั้น ไม่ได้มาคิดการหย่างไดเลย ถ้าจะพบกันจิง ๆ ฉันขอนัดพบกึ่งทางคือ บัวชุม จะมาเมื่อได้ไห้แจ้งมาด่วนจะได้บุกโคลนไปพบ[15]

อาจจะเป็นไปได้ที่ จอมพล . มีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรงถึงขั้นต้องลาออก หรืออาจจะเป็นไปได้ที่ว่าฝ่ายญี่ปุ่นเกิดระแวงสงสัยรัฐบาลของ จอมพล . มาตั้งแต่เมื่อปลายปี 2486 ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลไทยในช่วงขณะนั้นอาจจะเผชิญกับปัญหาทางด้านเสถียรภาพและภัยจากการแทรกแซงโดยกองทัพญี่ปุ่นก็เป็นได้

จะด้วยปัญหาใดก็ดี หาก จอมพล . ดำริที่จะลาออกอย่างจริงจังเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพก็อาจจะตัดสินใจลาออกไปในทันที แต่สุดท้าย จอมพล . ก็ไม่ได้ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ ชะตากรรมของ จอมพล . ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้จบลงเมื่อจอมพลได้ตัดสินใจลาออกในเดือนกรกฎาคม 2487 อันเนื่องมาจากการแพ้การลงคะแนนเสียง ซึ่ง จอมพล . ได้มองกรณีการลาออกที่เกิดขึ้นจริงในครั้งนั้นของตนว่า

ถึงการลาออกครั้งหลังนี้ก็เถอะ [การลาออกในเดือนกรกฎาคม 2487 – ผู้เขียน] ถ้าผมไม่ออกใครจะมาทำไม?…เวลานั้น อำนาจทุกอย่างยังอยู่ในมือผม แต่ผมไม่อยากจะใช้[16] คำพูดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของ จอมพล . ว่าการลาออกนั้นอาจเป็นเพียงแค่เครื่องมืออย่างหนึ่งในทางการเมืองของ จอมพล . เท่านั้น

สิ่งที่ยากจะปฏิเสธในกรณีทั้งหมดที่ได้หยิบยกขึ้นมาอภิปรายก็คือ จอมพล . ได้ยกเรื่องการลาออกของตนขึ้นมาใช้ในฐานะเครื่องมือในการแก้ปัญหาทางการเมืองหลายต่อหลายครั้ง กล่าวคือการแกล้งออกตัวว่าจะขอลาออกทั้ง 3 ครั้งในปี 2484, 2485 และ 2487 เป็นกลยุทธ์และแบบแผนทางการเมืองประจำตัวของจอมพลตราไก่ในครั้งที่เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกดังที่ได้กล่าวมา

รัฐบาลคณะราษฎรสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (หลวงพิบูลสงคราม) เป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2481-88

การลาออกในปี 2486 : วันยื่นใบลาออก

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2486 พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้รับจดหมายแสดงเจตจำนงขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งลงนามโดย จอมพล . พิบูลสงคราม

จากปากคำบอกเล่าของ นายทวี บุณยเกตุ ซึ่งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น เนื้อความในจดหมายที่พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ได้รับมาพูดถึงปัญหาสุขภาพที่ จอมพล . กำลังเผชิญภายหลังจากการกลับมาจากการตรวจราชการทางภาคเหนือ จอมพล . ได้อ้างถึงอาการปวดหัวและขอลาออกพร้อมทั้งร้องขอให้คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนตน[17]

ภายหลังจากที่พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ได้รับจดหมายการลาออกดังกล่าว เมื่อเวลาราว 14.00 นาฬิกา พระองค์ได้โทรศัพท์เรียกนายทวีไปพบเพื่อถามว่านายทวีรับทราบเรื่องการลาออกของ จอมพล . หรือไม่ ซึ่งนายทวีได้ตอบรับไปว่าไม่ทราบและไม่ได้ยินมาก่อน

ทั้งนี้ พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ได้ขอให้นายทวีสันนิษฐานว่าการลาออกนั้นมาจากปัญหาส่วนตัวหรือไม่ ซึ่งนายทวีก็ได้กล่าวว่า ถ้าจะให้ข้าพระพุทธเจ้าสันนิษฐานตามความคิดเห็นในทางส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ก็น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองมากกว่า[18] ทั้งนี้ นายทวียังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า

เมื่อท่านกลับจากเยี่ยมเยียนทหารทางภาคเหนือแล้ว ท่านยังได้แสดงความพอใจในกิจการที่เป็นอยู่ ยิ่งกว่านั้นยังทราบว่าท่านมีอารมณ์ดีไม่เห็นมีทีท่าว่าจะไม่พอใจใครในเรื่องอะไร ส่วนในทางครอบครัวเล่าก็ไม่น่าจะมี หรือถ้าแม้ว่าจะมีข้าพระพุทธเจ้าก็เข้าใจว่าคงจะไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ท่านนายกยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง เพราะท่านนายกไม่ใช่เด็ก จะได้เอาเรื่องระหองระแหงหยุมหยิมเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในครอบครัวมาเป็นเหตุลาออก[19]

นอกจากนี้ นายทวียังได้บันทึกย้ำความเห็นของตนอันเกี่ยวเนื่องกับประเด็นดังกล่าวอีกครั้ง เมื่อได้พบกับ จอมพล . ภายหลัง ซึ่งนายทวีได้บันทึกบทสนทนาระหว่างตนและ จอมพล . ว่า

ผมได้พยายามสันนิษฐานหลายอย่าง แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรที่จะให้สันนิษฐานได้การระหองระแหงในครอบครัว ผมไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ แต่ถึงแม้ว่าจะมี ก็ไม่น่าจะเป็นเหตุให้ท่านนายกต้องลาออก เพราะประเทศกำลังอยู่ในภาวะสงคราม ไม่ใช่เวลาปรกติ และท่านนายก [จอมพล . พิบูลสงครามผู้เขียน] ก็มิใช่เด็ก ๆก็น่าจะมีอะไรเล่า นอกจากจะเป็นเหตุผลทางการเมือง[20]

เป็นที่ชัดเจนว่าในบันทึกภายหลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามนั้น นายทวีได้พิเคราะห์ว่าปัญหาการทะเลาะภายในครอบครัวของท่านผู้นำไม่น่าจะเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ จอมพล . ลาออก อย่างไรก็ตาม ในการให้สัมภาษณ์ในหลายปีต่อมา นายทวีกลับย้อนมองว่าปัจจัยหลักที่ทำให้ จอมพล . ลาออกก็คือปัญหาภายในครอบครัว[21]

จะด้วยเหตุผลประการใดก็ตามที่ทำให้นายทวีมีทัศนะดังกล่าว แต่เป็นที่ชัดเจนจากที่ได้อภิปรายมาก่อนหน้าแล้วว่า จอมพล . นิยมชมชอบที่จะพูดถึงการลาออกของตนเพื่อบรรลุจุดประสงค์บางประการทางการเมือง ซึ่งนายทวีเองก็คาดว่าน่าจะเป็นประเด็นทางการเมือง

จากบันทึกของนายทวี ภายหลังจาก จอมพล . กลับจากราชการทางภาคเหนือในช่วงต้นปี 2486 จอมพล . ได้พยายามลาออกแล้วครั้งหนึ่ง โดยปราศจากวี่แววหรือสาเหตุใด ๆ อันมีนัยยะสำคัญ แต่ทั้งนายทวี และ พล... อดุล อดุลเดชจรัส (ยศในช่วงเวลานั้น) ซึ่งรับราชการเป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ร่วมกันทัดทานไว้จนสำเร็จ

ส่วนในกรณียื่นใบลาออกโดยตรงต่อคณะผู้สำเร็จราชการฯ ในปี 2486 นายทวียอมรับต่อพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ว่าเขาไม่ได้รู้เห็นถึงจดหมายลาออกที่ว่ามาก่อน[22] จากการสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ เมื่อความพิสดารบังเกิดเช่นนี้ คณะผู้สำเร็จราชการฯ จึงได้ร้องขอให้นายทวีและขุนนิรันดรชัย (สเหวก นิรันดร) ไปพบกับ จอมพล . เพื่อสอบถามถึงสาเหตุของการลาออกอันแปลกประหลาดครั้งนี้

เมื่อขุนนิรันดรชัยและนายทวีไปถึงที่พักของนายกรัฐมนตรี จอมพล . ให้เพียงขุนนิรันดรชัยเข้าพบ และได้ปล่อยให้นายทวีนั่งรอ ภายหลังจากที่ขุนนิรันดรชัยเข้าไปพบ จอมพล . ประมาณ 15 นาที จอมพล . ได้ออกมาจากห้องและได้พูดจาปราศรัยกับนายทวีโดยกล่าวในทำนองที่ว่าตนเองนั้นสุขภาพไม่ค่อยดี[23] และทั้งยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าที่ไม่ยอมให้นายทวีเข้าพบก็เป็นเพราะทราบดีว่านายทวีจะพยายามทัดทานการลาออก[24]

ส่วนขุนนิรันดรชัยนั้นก็ได้รายงานต่อพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ว่า จอมพล . บอกต่อเขาว่าเหตุผลทั้งหมดอยู่ในใบลาออกแล้ว การพูดคุยที่เหลือจึงไม่จำเป็น[25] เมื่อทั้งนายทวีและขุนนิรันดรชัยกลับมารายงานต่อคณะผู้สำเร็จราชการฯ นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในเวลานั้น ได้เสนอให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ โทรศัพท์ไปถามไถ่ถึงเหตุผลด้วยตัวเองเพื่อความชัดเจนมิฉะนั้นจะเกิดปัญหาขึ้นได้ แม้ว่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ จะทรงปฏิบัติตามข้อเสนอของนายปรีดี แต่ทางฝ่าย จอมพล .​ ก็บ่ายเบี่ยงบอกปัดไม่ยอมพูดคุยด้วยโดยอ้างเหตุว่ามีธุระติดพัน[26]

(ซ้าย) หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม), (ขวา) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)

อนุมัติการลาออก

ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2486 ซึ่งตรงกับวันเสาร์นั้น พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ได้ทรงเชิญนายทวีเข้าพบอีกครั้ง พระที่นั่งอัมพรสถานเพื่อพูดคุยถึงวิกฤติการณ์การลาออกของผู้นำประเทศไทย เมื่อนายทวีไปถึงก็ได้พบ พล... อดุลนั่งรออยู่แล้ว เช่นเดียวกันกับทุกครั้ง พล... อดุลได้สาธยายถึงความพยายามของตนในการเกลี้ยกล่อม จอมพล . ให้เปลี่ยนใจเรื่องการลาออกพร้อมทั้งถามไถ่ไต่สวนถึงสาเหตุ แต่ จอมพล . ซึ่งมีความสนิทชิดเชื้อกับ พล... อดุลมาอย่างยาวนาน ก็ไม่ได้ยอมเปิดเผยถึงสาเหตุประการใด

ทั้งนี้ นายปรีดีจึงได้ขอร้องให้นายทวีพยายามขอเข้าพบ จอมพล .​ เพื่อถามสาเหตุอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนายทวีได้รับคำพร้อมกับทำหนังสือใบบันทึกเพื่อแสดงเป็นลายลักษณ์อักษรสอบถาม จอมพล .​ และขอนัดแนะพูดคุย[27] ด้วยเหตุที่นายทวีติดภารกิจมากมายจึงได้ให้รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายจิตตะเสน ปัญจะ นำใบบันทึกไปส่งมอบแก่ จอมพล . ที่บ้านพักย่านหลักส[28] จอมพล . ได้เขียนตอบนายทวีในใบบันทึกว่าฉันไม่ไปพบเพราะไม่มีอะไรจะพูด ได้แจ้งในใบลาไปแล้ว[29] ซึ่งข้อความที่ว่ามีใจความทำนองเดียวกันกับที่ขุนนิรันดรชัยได้รายงานแก่พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์

คำตอบที่ จอมพล .​ เขียนตอบในใบบันทึกนั้นเป็นสารคำตอบที่จอมพลส่งถึงนายทวีและคณะผู้สำเร็จราชการฯ ในแง่ที่ว่าตัวจอมพลเองจะไม่พบเพื่อชี้แจงเหตุผลใด ๆ เกี่ยวกับการลาออกในครั้งนี้ของตนเป็นแน่แท้ ส่วน พล... อดุลนั้น เมื่อได้อ่านข้อความของ จอมพล . ในใบบันทึกดังกล่าวก็ได้แสดงความเห็นว่าการทัดทานนั้นเห็นจะไม่เกิดประโยชน์

จากบันทึกความทรงจำของนายทวี พล... อดุลนั้นได้เอ่ยออกมาว่าเขาได้พยายาม เกลี้ยกล่อมอยู่ตั้ง 3 ชั่วโมง ก็ไม่ยอมถอนใบลา บันทึกฉะบับนี้ก็เท่ากับเป็นการยืนยันว่าไม่ยอมถอน ยิ่งกว่านั้นยังได้ทราบมาว่า ท่านนายกได้สั่งให้ขนของส่วนตัวของท่านจากทำเนียบสามัคคีชัย เวลานี้ก็ดูเหมือนขนกันอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ควรอนุมัติให้ลาออกได้ตามที่ขอลามา[30]

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คณะผู้สำเร็จราชการฯ ก็แลดูจะไม่มีทางเลือกนอกเสียจากจะอนุมัติการลาออก เมื่อทางฝ่ายคณะผู้สำเร็จราชการได้พยายามติดต่อกับ จอมพล . แต่เจ้าตัวได้เขียนชัดแจ้งในใบบันทึกอันเป็นหลักฐานสำคัญ ด้วยเหตุนี้ นายปรีดีจึงได้เขียนลงในใบบันทึกซึ่งเป็นหน้าปกของใบลาออกว่าใบลานั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแล้ว อนุมัติให้ลาออกได้ซึ่งทั้งนายปรีดีและพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ได้ลงนามอนุมัติใบลาฉบับสำคัญของ จอมพล .[31]

หลังจากที่มีการลงนามอนุมัติการลาออกแล้ว เป็นธรรมเนียมที่จะต้องหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามวิถีทางของระบอบรัฐธรรมนูญ คณะผู้สำเร็จราชการฯ จึงได้เชิญประธานสภาผู้แทนราษฎร นายปลอด วิเชียร สงขลา เข้ามาเพื่อหารือถึงกระบวนการในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายปลอดได้ตอบรับพร้อมกับบอกว่าการเรียกประชุมสภาฯ ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2486 อาจจะเป็นการฉุกละหุกจนเกินไป จึงขอเรียกประชุมสภาฯ ในวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 แทน โดยที่ทางคณะผู้สำเร็จราชการฯ จะส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลาออกตามไปให้

นอกเหนือจากนี้ ทั้งนายทวีและ พล... อดุลได้เห็นพ้องต้องกันถึงความจำเป็นที่จะต้องร่างแถลงการณ์ประกาศถึงการลาออกของนายกรัฐมนตรี ทั้งสองมองว่าแถลงการณ์การลาออกในช่วงภาวะสงครามนั้นควรจะเป็นแถลงการณ์สั้น ๆ โดยยกสาเหตุการลาออกอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพตามที่ระบุไว้ในใบลาออก[32]

ทวี บุญยเกตุ นายกรัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งระยะสั้นๆ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ นายทวีได้รับเอกสารแจ้งจากทางสภาฯ ว่ามีพระบรมราชโองการให้ จอมพล . ลาออกจากตำแหน่งได้ ซึ่งในหนังสือลงนามโดยคณะผู้สำเร็จราชการฯ[33] หลังจากได้รับเอกสารชิ้นสำคัญดังกล่าว นายทวีก็ได้สั่งให้ นายผดุง สวัสดิบุตร ร่างคำแถลงการณ์การลาออกขึ้นโดยเน้นย้ำว่าเหตุผลของการลาออกนั้นให้เอาอย่างสั้นและกระชับ

หลังจากนั้น นายทวีก็ได้เดินทางไปพบนายปรีดีเพื่อหารือถึงแนวทางการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี[34] ซึ่งผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้นอาจจะเป็นไปได้ทั้ง นายควง อภัยวงศ์ นาวาเอก บุง ศุภชลาศัย[35] หรือ พันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนา[36]

หลังจากนั้นนายทวีได้สั่งการไปถึงอธิบดีกรมโฆษณาการ นายไพโรจน์ ชัยนาม ให้ทำการแถลงการณ์เรื่องการลาออกของ จอมพล . ผ่านทางวิทยุกรมโฆษณาในช่วง 20.00 นาฬิกา ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งได้มอบหมายให้ นายแม่น ชลานุเคราะห์ เป็นผู้อ่านประกาศผ่านทางวิทยุกระจายเสียง[37]

จอมพล . โต้กลับ

หลังจากที่แถลงการณ์การลาออกของ จอมพล . ได้ถูกเผยแพร่ออกไปทางวิทยุ จอมพล . ที่ได้สดับฟังข่าวแถลงการณ์ลาออกของตนเองคงเกิดอาการโกรธมาก ในเวลาประมาณ 21.00 นาฬิกา .. ไชย (ยศในช่วงเวลาดังกล่าว) ได้เดินทางมาพบนายไพโรจน์ ห้องกระจายเสียงวิทยุพร้อมทั้งใช้ปืนข่มขู่ให้นายไพโรจน์ประกาศยกเลิกแถลงการณ์การลาออกของ จอมพล .[38]

อย่างไรก็ดี นายไพโรจน์ได้ตอบ .. ไชยไปว่า การยกเลิกแถลงการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ถ้าหากมีคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีโดยตรงหรือคำสั่งจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเท่านั้น กล่าวคือการประกาศยกเลิกแถลงการณ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ จอมพล .​ หรือนายทวีสั่งการไปยังกรมโฆษณาการเท่านั้น[39]

ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันกับการประกาศแถลงการณ์การลาออกนั้น จากคำบอกเล่าของพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ราว 22.00-23.00 นาฬิกา .. ไชยก็ได้โทรศัพท์ไปหาพระองค์เพื่อจะพูดคุยถึงกรณีแถลงการณ์ลาออก ด้วยความตื่นกลัว พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ จึงให้หม่อมกอบแก้ว ซึ่งเป็นชายาพูดโทรศัพท์แทนพระองค์เองพร้อมทั้งขอให้บอกว่าตนเองมีอาการปวดฟันไม่ค่อยสบาย

ฝ่าย .. ไชย จึงได้ฝากกราบทูลพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ว่าทางทหารฝ่ายญี่ปุ่นค่อนข้างร้อนใจอยากทราบว่าบุคคลใดจะมาแทนที่ จอมพล . ซึ่งพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ได้ให้หม่อมกอบแก้วตอบไปว่าผู้ที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกฯ คนใหม่นั้นขึ้นอยู่กับวิถีทางตามรัฐธรรมนูญของไทย ก่อนจะสิ้นสุดการสนทนา .. ไชยได้บอกหม่อมกอบแก้วโดยส่อนัยยะว่าทางฝ่ายญี่ปุ่นอาจจะเอาเรื่องรัฐบาลไทยได้ถ้าหากนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ จอมพล .[40]

เมื่อการพูดคุยทางโทรศัพท์เสร็จสิ้นลง พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ได้บังเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย จึงได้โทรศัพท์ติดต่อไปหานายปรีดี เพื่อขอพาชายาหลบหนีไปพักที่ทำเนียบของนายปรีดีด้วยเนื่องจากวิตกว่า จอมพล .​ อาจส่งทหารมากรรโชกบังคับริบเอาใบลาออกกลับไป[41] เพื่อความปลอดภัย เมื่อพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และชายาได้มาถึงทำเนียบที่พักของนายปรีดี นายปรีดีได้ขอให้กลุ่มเพื่อนที่เป็นทหารเรืออารักขาความปลอดภัยคณะผู้สำเร็จราชการฯ โดยในวันรุ่งขึ้น จอมพล . ได้เชิญให้คณะผู้สำเร็จราชการฯ เข้าพบ แต่ทั้งพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และนายปรีดีต่างปฏิเสธคำเชิญดังกล่าวด้วยเหตุผลที่ว่าการเรียกตัวผู้สำเร็จราชการฯ ซึ่งเป็นตัวแทนพระองค์เข้าไปพบกับนายกรัฐมนตรีนั้นดูจะเป็นการไม่เหมาะสม[42]

ต่อมาในเช้าวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 ได้มีการประกาศยกเลิกแถลงการณ์การลาออกของ จอมพล . ที่ได้ถูกแถลงไปเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยวิทยุไทยระบุว่าเป็นความคลาดเคลื่อนของการกระจายข่าวสาร[43]

ในช่วงเช้าวันเดียวกัน จอมพล . ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วน ด้วยความที่รู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะมีการวิ่งวุ่นของฝ่ายทหารบกทั่วเมือง นายควง อภัยวงศ์ จึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมในช่วงแรกที่ จอมพล . เรียกประชุม[44] นายควงได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ไว้ว่าหลังจากที่มีการแก้ไขแถลงการณ์การลาออกนั้นก็เกิดปัญหาวุ่นวายตามมามากมาย โดยระบุว่า

ใบลานั่นหายไป [ใบลาออกของ จอมพล . – ผู้เขียน] เออใบลาหาย คุณทวีก็เข้าปิ้งซี แล้ววิทยุประเทศไทยก็ออกประกาศใหม่ ว่าท่านนายกฯ ไม่ได้ลาออก ท่านจอมพลไม่ได้ลาออก เอเกิดอลเวงกันใหญ่ ผมก็นึกว่าช่างปะไร ใครจะอลเวงก็ช่าง ผมอยู่ในกระทรวงทำงานของผมก็แล้วกัน[45]

เมื่อนายควงไม่ยอมไปเข้าประชุม จอมพล . จึงได้ขอให้ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร โทร. ตามจนกระทั่งนายควงตัดสินใจเดินทางเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี[46] การประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486​ นั้น เป็นการประชุมที่ จอมพล . เรียกประชุมด่วนราวกับจะควานหาตัวผู้กระทำความผิด บทสนทนาบางส่วนจากรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 นั้นมีใจความสำคัญที่น่าสนใจดังนี้

จอมพล พิบูลสงคราม : ทวีหายไปไหน?

.. ควง อภัยวงศ์ : ทวีเขาขอให้ผมเรียนว่ามีคนโทรสัพท์ไปขู่เขาว่ามีคนจะไปจับเขา ฉะนั้นจึงขอลาประชุม

จอมพล พิบูลสงคราม : ที่ผมเชินมาประชุมในวันนี้ก็เนื่องจากรู้สึกเสียใจเรื่องที่ผมได้ยื่นใบลาออก คือ ผมยื่นเมื่อวันสุกร์ตอนบ่าย พอมาเมื่อคืนนี้ก็มีประกาสทางวิทยุกระจายเสียงให้ออก ซึ่งทุกท่านคงจะได้ฟังแล้ว ที่จิงผมตั้งใจจะออกและหยากจะได้สดับฟังเหตุการณ์บางหย่าง สงสัยว่าพวกเราจะเล่นสกปรก ถ้าผู้ใดยังสงสัยจะสอบถาม พล... อดุลฯ ดูก็ได้

ฉะนั้นเมื่อผมกลับลงมาจากเหนือและจัดการต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วผมจึงได้ยื่นใบลาออกไปทางประธานคนะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์ พอประธานคนะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์ได้รับหนังสือของผม ก็จัดการเรียกพระพิจิตรราชสาส์นมาจัดการพิมพ์หนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราสดรไห้เรียกประชุมสภาฯ เรื่องนี้เมื่อวันเสาร์ นายทวี บุนยเกตุ ได้ไห้คนโทรสัพท์ไปบอกว่าจะไปหาผม ผมกำลังหยู่กับ พล... อดุลฯ ผมก็ได้ตอบไปว่าไห้มาได้ แต่นายทวีก็ไม่ไป กลายเปนส่งนายจิตตะเสน ปัญจะไปแทน

และข่าวที่ประกาสไปนั้น จะเอาตามระเบียบราชการก็ไม่ถูก ทางสีลธัมก็ไม่ถูก จะเอาทางรัถธัมนูญก็ไม่ถูกอีก จะเอาทางเพื่อนฝูงยิ่งใช้ไม่ได้ไหย่ ดูไม่มีไมตรีจิตต่อผมเสียเลย แต่เดิม ๆ มา นายกรัถมนตรี ออกเคยมีหนังสือชมเชยและขอบไจ ส่วนประกาสนั้นก็ประกาสพร้อมกับประกาสตั้งนายกฯ ไหม่

แต่คราวนี้ จะชมเชยสักนิดก็ไม่มี ทำกับผมหย่างกับหมาตัวหนึ่งทางคนะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์พอได้รับไบลา ปรากตว่าขมักขเม้นนัก ยังไม่ทันอะไรก็จะเตะกันเลย ผมรู้สึกเสียไจว่าจะต้องลงโทสกันบ้าง และต้องลงโทสหย่างแรงด้วย เช้านี้ได้เชินคนะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์ด้วย ก็ไม่มา นายทวีก็หนีไปเลย[47]

จะเห็นได้ว่า คำพูดคำจาอันเกรี้ยวกราดของ จอมพล . ในที่ประชุมนั้นแฝงนัยยะไว้ด้วยความน้อยอกน้อยใจรวมทั้งเสียหน้าเนื่องจากคณะผู้สำเร็จราชการฯ และเพื่อนคณะผู้ก่อการฯ ไม่พยายามรั้งตนให้อยู่ในตำแหน่งอย่างเต็มที่ ซ้ำร้าย จอมพล . ยังคิดว่าคณะผู้สำเร็จราชการฯ ยังรีบผลักไสไล่ส่ง จอมพล . ออกจากตำแหน่งเสียด้วย

ภาพไก่ สัญลักษณ์ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

เป็นที่น่าสังเกตว่า จอมพล . ไม่พอใจที่นายทวีส่งตัวแทนเข้าพบ แทนที่จะเป็นเจ้าตัวเข้าพบเอง อย่างไรก็ตาม เหตุผลแก้เก้อของ จอมพล . ในกรณีที่นายทวีส่งนายจิตตะเสนไปนั้นก็ไม่ได้หักล้างข้อเท็จจริงที่ว่า จอมพล . เองก็ได้เขียนในใบบันทึกว่าให้คณะผู้สำเร็จราชการฯ ปฏิบัติตามใบลาออกเลยทั้ง ๆ ที่สามารถที่จะชะลอเรื่องการลาออกหรือเขียนแสดงความเห็นอย่างอื่นไปก่อนได้

เหตุผลดังกล่าวยังไม่สามารถเป็นข้อแก้ตัวที่ฟังขึ้นได้เพราะท้ายที่สุดแล้ว จอมพล . เองเป็นคนที่ปฏิเสธไม่ให้มีการเข้าพบเพื่อพูดคุยโดยตรงกับนายกรัฐมนตรี ไม่เพียงเท่านี้ ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จอมพล . ยังได้ปรารภเพิ่มเติมโดยที่ขาดเหตุผลอันหนักแน่นอีก ซึ่งรายงานประชุมได้บันทึกไว้ดังนี้

จอมพล พิบูลสงคราม : ในสถานะการน์หย่างนี้ แถลงการน์มันควนจะทำพร้อมกัน คือ ทั้งคนเก่าออกและคนไหม่เข้าหยู่ไนฉบับเดียวกัน

พล.. . เกรียงสักดิ์พิชิต : ไนการลาออกครั้งก่อน [การลาออกในปี 2485 – ผู้เขียน] ผมจำได้ว่า ผมเองได้ไปหา ท่านนายกฯ ว่าทำไมไม่ประกาส ประยูรบอกว่า ยังประกาสไม่ได้ ต้องทำโดยลมุนลม่อม

.. สเหวก นิรันดร : ทุกครั้งที่ท่านนายกฯ ลาออก เมื่อผู้สำเหร็ดฯ โปรดเกล้าฯ แล้วก็ทำหนังสือบอกพร้อมทั้ง ชมเชยมายังท่านนายกฯ ทางนายกฯ ก็ทำหนังสือแจ้งการออกไปยังสภาฯ ด้วย ประธานสภาฯ จึงมาเฝ้าปรึกสากัน เลือกตั้งนายกฯ ไหม่ แต่คราวนี้ผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์กลับทำหนังสือแจ้งไปยังประธานสภาฯ เลย ผมเห็นว่าไม่ถูก

จอมพล พิบูลสงคราม : ก่อนนี้เรื่องลาออกมีตั้งปึกหนึ่ง แต่มาคราวนี้มีไบเดียว แล้วผมก็ไม่ได้รับเสียด้วย แต่ปับลิกเขารับ[48]

จากกรณีดังกล่าวนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าเหตุผลที่เปลี่ยนใจไม่ยอมลาออกจากปากคำของ จอมพล .​ นั้นก็คือการที่ไม่มีหนังสือชมเชยและไม่มีความพยายามที่จะรั้งจอมพลผู้นี้ไว้ แต่เหตุผลที่ยกมานั้นก็ไม่หนักแน่นเท่าที่ควร หาก จอมพล . มีความประสงค์จะลาออกจริง ๆ อย่างที่ว่า การแถลงการณ์ประกาศคนเข้าและออกให้มารับตำแหน่งพร้อมกันนั้นไม่มีความจำเป็นใด ๆ ในวิถีรัฐธรรมนูญ

แต่กล่าวถึงที่สุดจริง ๆ แล้วนั้น จอมพล . มีเจตนาที่จะลาออกจริงหรือไม่นั้น ก็คงยากที่จะล่วงรู้ถึงจิตใจของจอมพลผู้นี้ได้ แต่ตามที่ได้อภิปรายไปโดยคร่าวไปแล้วในข้างต้น จอมพล .​ มักจะใช้การลาออกของตนเพื่อเป็นเครื่องมือในการบรรลุจุดประสงค์ทางการเมืองบางประการ เช่นเดียวกันกับการลาออกในครั้งนี้ จอมพล .​ ได้เปิดเผยในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีถึงจุดประสงค์อันแท้จริงถึงการลาออกของตนตามที่รายงานการประชุมได้บันทึกไว้ดังนี้

จอมพล พิบูลสงคราม : ถ้าเปนการเปนไปตามแบบแผนก็จะเปนการดีหย่างยิ่ง ที่เราจะได้มีโอกาสรู้อะไร ๆ บางหย่างดี ๆ ที่ผมไปทางภาคเหนือมาคราวนี้ ได้รู้การเคลื่อนไหวอะไร ๆ มาบ้าง มื่อผมกลับมาและจัดการบางหย่างเรียบร้อยแล้วผมก็จัดการเขียนใบลาออกแล้วปล่อยไห้เปนไปตามเรื่องเพื่อที่จะรู้อะไร ๆ [เน้นโดยผู้เขียน] แต่พวกเราเองกลับมาทำลายกันเสียเอง…”[49]

ถ้อยความดังกล่าวชี้แจงอย่างชัดเจนว่าในครั้งนี้ จอมพล . ไม่ต้องการที่จะลาออกจริง ๆ แต่ใช้การลาออกเป็นเครื่องมือทดสอบบางสิ่งบางอย่าง แต่สิ่งที่ จอมพล . ต้องการทดสอบนั้นคือ คณะผู้สำเร็จราชการฯ คณะผู้ก่อการฯ คนอื่น ๆ หรือว่าฝ่ายญี่ปุ่นนั้น รายงานประชุมคณะรัฐมนตรีฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 ไม่ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ถ้อยความในรายงานการประชุมดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกันกับบทสัมภาษณ์ของ จอมพล .​ ที่ได้ให้ไว้กับนักข่าวในช่วงที่เจ้าตัวถูกจองจำไต่สวนในข้อหาอาชญากรสงคราม ในช่วงหลังสงครามในปี 2488 เมื่อถูกสอบถามว่าเหตุใด จอมพล .​ จึงลาออกแต่ไม่ยอมออก จอมพล . ได้ตอบไปว่า

ไม่ใช่เกี่ยวด้วยเหตุผลอย่างอื่น ผมยื่นใบลาออกจริง แต่เห็นรวบรัดกันเกินไป พอว่าออกเขาก็ประกาศทางวิทยุเลย ไม่มีการตอบรับ ไม่มีการขอบใจ ผมก็โกรธขึ้นมาบ้าง เลยตัดสินใจว่าไม่ออกไม่แอกมันละ…”[50]

หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 จอมพล . ได้แสดงอากัปกิริยาโกรธเคืองคนรอบข้างหลายต่อหลายคน แต่บุคคล 3 คนที่ จอมพล . ค่อนข้างแค้นเคืองมากก็คือ พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ นายปรีดี และนายปลอด อันที่จริงในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นั้น นอกเหนือจะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว นายปลอดได้เรียกให้มีการประชุมสภาฯ ด้วยเช่นเดียวกันเพื่อพูดคุยถึงเรื่องนายกรัฐมนตรี

จอมพล ป. ยื่นใบสมัครเพื่อลงเลือกตั้งเป็นผู้แทนจังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2500 (ภาพจาก 6 จอมพลไทย ยุคระบอบประชาธิปไตย)

จะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ในเอกสารรายงานการประชุมสภาฯ วันที่ 15​ กุมภาพันธ์ 2486 นั้น ระบุว่าเริ่มประชุมเวลา 14.20 นาฬิกา และปิดการประชุมเวลา 14.25 นาฬิกา ซึ่งนายปลอดได้ระบุว่ามีผู้เข้าร่วมประชุม 81 คน และได้กล่าวอีกว่า ต่อจากนี้ไปเป็นการประชุมภายใน ซึ่งรายงานการประชุมสภาฯ ฉบับดังกล่าวไม่ปรากฏการบันทึกพูดคุยโต้เถียงใด ๆ ทั้งสิ้น[51] อาจจะเป็นไปได้ในแง่ที่ว่าหลังจากมีการประกาศว่าการลาออกของ จอมพล . เป็นโมฆะแล้ว การประชุมเพื่อคัดเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็หมดความจำเป็นลง

ต่อมาวันที่ 16​ กุมภาพันธ์ 2486 ได้มีร่างหนังสือจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดสั่งการให้ทำหนังสือในทำนองที่ว่าบ้านเมืองกำลังไม่สงบและในทางเหนือก็ยังทำศึกอย่างหนักฉะนั้นจึงหยากขอแจ้งวิงวอนไห้ท่านพยายามช่วยร่วมมือกับฝ่ายทหานและรัถบาล หย่าไห้เกิดความไม่สงบหรือระส่ำระสายขึ้นในวงการราชการและประชาชนหย่างเต็มที่ หวังว่าจะไม่มีการประชุมกัน เพื่อกิจการบ้านเมืองจนเกินไป ซึ่งจะทำไห้เปนบ่อเกิดแก่การรวนเรไนการปกครอง ตามที่เรียนมานี้ ก็เพื่อขอความกรุนาเปนพิเสสไนยามคับขันนี้เท่านั้น หวังว่าคงจะได้กรุนาร่วมมือโดยจิงไจตามที่แจ้งไปนี้…”[52]

ในร่างหนังสือของกองบัญชาการทหารสูงสุดที่ 1324/2486 นี้เอง จอมพล .​ ได้ระบุให้ส่งไปถึง 1. ประธานสภาผู้แทนราษฎร 2. นายปรีดี 3.​ พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ แม้จะระบุถึงผู้รับ 3 คน แต่ทว่า จอมพล . ได้เขียนสั่งไปด้วยลายมือตัวเองว่าส่งไห้ประธานสภาก่อนคนเดียว อีกสองเอาไว้ก่อน[53]

ดังนั้น ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2486 นั้น นายปลอดได้เรียกให้มีการประชุมสภาฯ อีกครั้ง การประชุมครั้งนี้มีสมาชิกเข้าประชุมถึง 120 คน โดยเริ่มประชุมเวลา 14.05 นาฬิกา นายปลอดได้กล่าวถึงหนังสือเตือนจากผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมทั้งยังกล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อฉันได้ทราบสถานการณ์เช่นนี้ ประกอบด้วยเวลานี้ก็ไม่มีระเบียบวาระอะไรที่จะประชุม เพราะฉะนั้นของดการประชุมชั่วคราว หลังจากนั้นนายปลอดได้ประกาศเลิกประชุมสภาฯ ในเวลา 14.07 นาฬิกา[54]

ในส่วนของนายควงนั้น เมื่อครั้งที่ถูกเรียกให้เข้าประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15​ กุมภาพันธ์ ได้มีปัญหาทะเลาะกับ จอมพล . ซึ่งนายควงก็ได้เขียนจดหมายลาออกและยื่นต่อ จอมพล . ในที่ประชุมวันเดียวกันนั้น[55] สำหรับนายทวี เมื่อการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 กุมภาพันธ์ สิ้นสุดลง จอมพล . ก็ได้โทร. ติดต่อถามไถ่ว่าเหตุใดนายทวีจึงไม่เข้าร่วมประชุม

ซึ่งนายทวีได้ตอบไปอย่างตรงไปตรงมาว่าเขากลัวจะถูกสังหารโดยคนของ จอมพล . ในเวลาต่อมา เมื่อจอมพล . ได้สั่งการเรียกรถหุ้มเกราะกลับเข้ากรม นายทวีก็ได้ตัดสินใจที่จะเข้าพบกับ จอมพล . เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ความวุ่นวายภายใน[56] จากบันทึกของนายทวี จอมพล . ได้กล่าวยอมรับถึงเหตุการณ์ทั้งหมดว่า

ที่เชิญมานี้ก็จะให้คุณชี้แจงว่า ที่ผมได้ยื่นใบลา ๆ ออกนี้ ความตั้งใจจริงของผมก็เพื่อจะลองใจผู้สำเร็จฯ ดู เพราะผมสังเกตมานานแล้ว พระองค์อาทิตย์ไม่ชอบผม แต่ก่อนก็เคยไปมาหาสู่กันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูห่างเหิน ฉะนั้นคราวนี้ผมลองใจยื่นใบลาไป ก็รีบฉวยโอกาสรวบรัดให้ผมออกเลย ซึ่งผมก็ไม่ว่า เพราะรู้ตัวอยู่ก่อนแล้ว แต่คราวนี้ คุณนะซิที่ผมไม่เข้าใจว่าทำไมจึงไปร่วมคิดกับประธานผู้สำเร็จฯ มาเล่นงานผม และทำไมถึงได้รวบรัดประกาศไป ซึ่งถ้าพิจารนาไปก็มีทำนองคล้าย ๆ กับว่าจะร่วมหัวกันไล่ผมออก…”[57]

เมื่อชี้แจงกันถึงเหตุผลเรียบร้อย นายทวีจึงแจ้งความจำนงขอลาออกเพื่อรักษาเกียรติยศของตน โดยมองว่าการกลับลำยกเลิกแถลงการณ์ลาออกซึ่งเจ้าตัวเป็นผู้รับผิดชอบนั้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ นายทวีจึงขอลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ กระนั้นก็ดี แม้จะมีเรื่องมีราวเกิดขึ้น แต่ จอมพล .​ ก็ได้พยายามรั้งนายทวีไว้ด้วยการกล่าวว่า

คุณพูดเช่นนั้นไม่ถูก จะว่าคุณเป็นผู้ผิดก็ไม่ได้ เพราะถ้าจะพูดกันตามความจริงแล้ว ผมเป็นต้นเรื่องที่ยื่นใบลาออก ผมก็ต้องผิดด้วยเพราะผมเป็นต้นเรื่อง ถ้าผมไม่ยื่นใบลา เรื่องก็ไม่เกิดขึ้น ฉะนั้นจงอย่าออกเลย เชื่อผมเถิด ลาพักผ่อนเสียช่วยคราวก็แล้วกัน อีกสองสามเดือนผมก็จะลาออกใหม่ [เน้นโดยผู้เขียน][58]

ไม่ว่า จอมพล . จะรั้งนายทวีไว้อย่างไร ท้ายที่สุด นายทวีได้ยืนกรานที่จะลาออก ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 18​ กุมภาพันธ์ 2486 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก็ได้ตกลงให้ทั้งนายทวีและนายควงลาออกได้ตามความประสงค์[59]

ปูนปั้นรูปหัวไก่ ประดับอยู่ตรงชายคารับพื่นระเบียงของอาคารภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สันนิษฐานว่าได้รับการซ่อมแปลงเป็นรูปดังกล่าวสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (ที่มา : หนังสือทำเนียบรัฐบาล)

จงหาคนใหม่ให้ดีกว่าฉัน

แม้ จอมพล . จะกลับมาบริหารงานราชการแผ่นดินดังเดิม แต่การใช้การลาออกเพื่อทดสอบบางสิ่งบางอย่างก็ยังเกิดขึ้นตามมาอีกครั้ง ในเดือนเมษายน จอมพล . ได้พยายามขอลาออกจากตำแหน่งอีกครั้งตามที่ได้เคยปรารภไว้กับนายทวีเมื่อครั้งที่เกิดเรื่องในเดือนกุมภาพันธ์ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ในวันที่ 5 เมษายน 2486 เมื่อ จอมพล . ได้กล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทยผ่านทางวิทยุ ซึ่งเนื้อหาของคำปราศรัยนั้นเต็มไปด้วยคำพูดที่แฝงไปด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ

การที่ฉันปติบัติงานไป ทั้งทางตรง และทางกลอุบายเพื่อชาติพ้นภัยนั้น กลับปรากตขึ้นเวลานี้ว่า มีข้าราชการและประชาชนจำนวนมากไม่มีความพอไจไนการนำของฉันขึ้น มีการพูดติเตียนฉันนานาประการ โดยฉันเองก็ไม่สามารถแจ้งเหตุผลไห้ซาบได้ฉันรับเคราะห์ร้ายคนเดียว พูดแก้ตัวก็ไม่ได้ และฉันก็จะไม่พูดยิ่งไปกว่าที่พูดนี้ ซึ่งดู ก็เปนการรุนแรงไปมากหยู่แล้ว ฉันจะทนไห้คนด่าหย่างน่าด้าน[60]

ในการกระจายเสียงครั้งดังกล่าวนี้ จอมพล . ได้ตัดพ้อด้วยความเสียใจ ซึ่งในตอนท้ายของการประกาศนั้น จอมพล . ได้ตัดสินใจเปิดเผยว่า

สำหรับตำแหน่งนายกรัถมนตรี ฉันไม่ไยดีอะไร แม้ท่านข้าราชการและประชาชนต้องการผู้ได ควนจะเลือกตั้งกันไหม่ได้ เพื่อไห้สำเหร็ดตามนี้ ฉันขอไห้รัถมนตรีประชุมข้าราชการไนบังคับ ไห้เลือกนายกรัถมนตรีแทนฉัน แล้วเสนอขึ้นมา ฉันจะยินดีจัดการไห้เปนไปตามความต้องการทุกประการโดยเร็วด้วย เพื่อไห้ชาติของเราได้มีผู้นำที่ทุกคนพอไจ…”[61]

เป็นที่ชัดแจ้งว่า จอมพล . ได้ใช้การลาออกเพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองอีกครั้ง ถึงแม้ว่า จอมพล . จะได้ประกาศออกไปทางวิทยุ แต่ในวันรุ่งขึ้นได้เกิดความโกลาหลภายในหน่วยงานราชการเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ออกหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ .. 66/2486 ลงวันที่ 6 เมษายน 2486 ไปถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการสภาฯ ราชเลขานุการในพระองค์ และกระทรวงต่าง ๆ เพื่อกล่าวถึงถึงคำชี้แจงของตนเมื่อวันที่ 5​ เมษายน 2486 โดยมีคำสั่งให้ข้าราชการประชุมกันในแต่ละหน่วยงานทั่วประเทศเพื่อระดมความเห็นเสนอว่าใครควรจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป[62]  โดยในหนังสือที่ .. 66/2486 นี้ จอมพล .​ ต้องการจะสื่อโดยนัยยะว่าให้ข้าราชการกระทรวงต่าง ๆ ระดมกำลังและสมองเพื่อเฟ้นหาคนที่ดีกว่าเดิมมาแทนที่ตนเสีย

เมื่อมีหนังสือประกาศออกไปให้เหล่าข้าราชการเฟ้นหานายกรัฐมนตรีคนใหม่เข้ามาแทนที่ .. ไชย ซึ่งเป็นคนสนิทของ จอมพล . ได้เขียนคำสั่งไปในเชิงข่มขู่ว่าสำหรับกรมเลขาเข้าไจว่าคงจะยังต้องการท่านนายกฯ หยู่ แต่ก็ควนแจ้งไห้ซาบถ้าไครเห็นเปนหย่างอื่น ขอไห้แจ้งแม้เปนส่วนตัวมายังฉันก็ได้ ถ้าพ้นวันที่ 8 ไม่มีใครอื่นไห้ถือว่าไม่ต้องการเลือกตั้งไหม่[63]

กล่าวคือ .. ไชยพยายามจะสื่อโดยนัยยะว่าใครก็ตามที่ไม่พอใจ จอมพล . ให้สามารถติดต่อพูดคุยถึงความไม่พอใจดังกล่าวโดยตรงได้ แต่ถ้าไม่มีใครติดต่อมาภายใน 2 วันก็หมายความว่าทุกคนยังคงรักและเคารพ จอมพล . อยู่ เมื่อมีข้อความทำนองนี้ ก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเท่าใดนักเมื่อข้าราชการต่างมีหนังสือลงนามมากมายมาเพื่อชี้แจงว่าพวกตนยังคงเคารพและรักในตัว จอมพล . พิบูลสงคราม อยู่มาก ไม่เพียงเท่านี้ ข้าราชการหลายคนพร้อมใจกันเสนอทัดทานไม่ยอมให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง[64]

นายทองเปลว ชลภูมิ เลขาธิการสภาฯ ได้ทำหนังสือทัดทาน จอมพล . ไว้โดยอ้างว่าการเสนอให้ข้าราชการและประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงอาจจะเป็นการผิดกฎหมายอาญาและขัดต่อวิถีทางรัฐธรรมนูญได้ ทั้งยังอาจจะขัดกับคำสั่งที่ 35/86 ของผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ห้ามการกระทำใด ๆ อันขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุฉะนี้ การให้มีการประชุมเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำนั้นไม่ควรกระทำด้วยเหตุอันใดทั้งสิ้น[65]

นอกจากนี้ก็ยังมีหนังสือจากกระทรวงต่าง ๆ ส่งเข้ามาเพื่อทัดทานการลาออกของ จอมพล . อีกครั้งโดยระบุว่าข้าราชการภายในกระทรวงยังคงนิยมชมชอบการนำของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันอยู่มาก ดังนั้น เหล่าข้าราชการจึงพร้อมใจกันขอวิงวอนให้ จอมพล . ได้ทำหน้าที่ต่อในตำแหน่งผู้นำของชาติ[66]

เมื่อมีกระแสทัดทานภายในกระทรวงต่าง ๆ จนเพียงพอแล้ว จอมพล . จึงได้เขียนด้วยลายมือแสดงความรู้สึกของตนที่มีต่อความพยายามต้องการลาออกครั้งนี้ของตนโดยระบุว่า

เมื่อไห้หานายกไหม่ตามวิธี ซึ่งคิดว่าไม่ผิด เพาะเปนขั้นต้น หยากทำไห้เหมาะสมแก่ภาวะคับขัน ไม่หยากออกไป แล้วปล่อยไห้ลอย ๆ กัน จึงหยากตั้งรากถานคนแทนไว้ เมื่อได้มาจะได้เสนอไปพร้อมกับไบลาตามรัถธัมนูน ขอหย่าว่าฉันเปนคนผิดรัถธัมนูนบ่อยนัก ทนไม่ไหว หยากไห้เปนตามรัถธัมนูญก็ได้ จะได้ทำต่อไป[67]

กล่าวคือเพื่อไม่ให้การให้หาผู้นำคนใหม่ถูกมองว่าเป็นการผิดรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีคือ จอมพล . จึงต้องดำรงตำแหน่งต่อไป ซึ่ง จอมพล . เองก็ดำรงตำแหน่งโดยไม่ได้ลาออกอย่างจริงจังจนถึงกรกฎาคม 2487

ตราประจำจังหวัดพิบูลสงคราม ออกแบบเป็นรูปไก่ เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จังหวัดพิบูลสงครามคือเมืองเสียมเรียบในกัมพูชา ซึ่งเใื่อพ.ศ.2484 เมืองนี้ได้ถูกรวมเข้ามาอยู่ในดินแดนไทย อันเป็นผลมาจากสงครามอินโดจีนฝรั่งเศส

สรุป

บทความชิ้นนี้พยายามชี้ให้เห็นว่า จอมพล . มักใช้อุปนิสัยการลาออกของตนเป็นกลยุทธ์เพื่อบรรลุจุดประสงค์ทางการเมืองบางอย่างของตน หรือเพื่อเป็นการทดสอบความภักดีทางการเมืองโดยดูจากการทัดทานของเพื่อนฝูง คนรอบข้าง และผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างที่ได้อภิปรายมาในข้างต้น จอมพล . ได้แสดงออกถึงความพยายามในการลาออกหลายต่อหลายตั้งนับตั้งแต่เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ในทุก ๆ ครั้ง ความพยายามลาออกของ จอมพล . ไม่ได้เกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โตเนื่องจาก จอมพล . ได้เปรยถึงการลาออกในวงแคบ กระนั้นก็ดี การลาออกในปี 2486 นั้นเกิดขึ้นเป็นข่าวใหญ่เนื่องจากมีการประกาศจากวิทยุกรมโฆษณาการ อย่างไรก็ตามสุดท้าย จอมพล .​ ก็สามารถแก้ไขแถลงการณ์ดังกล่าวและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ในภายหลัง จอมพล . ได้ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า สำหรับ จอมพล . นั้น ถ้าไม่ลาออกด้วยตัวเองจริง ๆ ก็คงจะไม่มีใครทำอะไรเขาได้ ดังนั้น การยกอ้างเรื่องการลาออกขึ้นมาคงเป็นเพียงกลยุทธ์โยนหินถามทางสำหรับจอมพลผู้นี้เพียงเท่านั้น

ด้วยเหตุที่การลาออกไม่ยอมออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2486 นั้น ได้ถูกกระจายเสียงไปอย่างกว้างขวางทำให้ชาวต่างชาติได้ลือกันไปต่าง ๆ นานา หลังจากการสิ้นสุดลงของเหตุการณ์ลาออกแต่ไม่ลาออกในเดือนภุมภาพันธ์ 2486 ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ได้รับโทรเลขจากทูตไทยในต่างแดนสอบถามเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว ในช่วงระหว่างที่ข่าวการลาออกของ จอมพล . แพร่กระจายออกไป สถานอัครราชทูตไทยในเบอร์ลินและสถานเอกอัครราชทูตไทยในญี่ปุ่นต่างส่งโทรเลขมาไต่ถามถึงข่าวคราวข้อเท็จจริงที่ว่า จอมพล . ลาออก[68]

ในเยอรมนีมีข่าวลือในทำนองที่ว่า จอมพล .​ ได้ยื่นไบขอลาออก คงเนื่องด้วยการที่มีความเห็นไม่ตรงกันพายไนคณะรัถมนตรี ซึ่งได้มีหยู่เรื่อยมาตั้งแต่พนะท่านได้กลับจากการสำหรวดไนทางภาคเหนือ และนัยว่าพนะท่านได้ถอนไบขอลาออกนั้น ด้วยการขอร้องโดยฉะเพาะบุคคลหลายคนรวมทั้งสถานเอกอัคราชทูตยี่ปุ่นด้วย[69]

ในการแก้ข่าวลือเหล่านั้น นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งโทรเลขตอบกลับไปโดยยอมรับว่าการลาออกของนายกรัฐมนตรีนั้นเกิดขึ้นก่อนเวลาอันควร (premature) ท่านนายกรัฐมนตรีนั้นอันที่จริงก็ได้ยื่นใบลาออกตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ อันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ แต่ภายหลังจากการพูดคุยกับผู้อื่น และด้วยสถานการณ์โลก ปัจจุบัน ท่านได้ตัดสินใจยกเลิกการลาออก[70]

เป็นที่แน่นอนว่าปัญหาเรื่องการลาออกแต่ไม่ออกครั้งนี้ส่งผลกระทบไม่เพียงแต่เฉพาะกับการเมืองไทย แต่ยังสร้างความวุ่นวายต่อสถานทูตไทยในต่างแดนอีกด้วย

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภาพถ่ายสุดท้าย วันที่ 10 มิถุนายน 2507 ก่อนถึงอสัญกรรม ณ ประเทศญี่ปุ่น

กระนั้นก็ดี ยังมีประเด็นอีกมากมายที่พึงนำมาขบคิดวิเคราะห์เพิ่มเติมในการศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจการลาออกในปี 2486 ซึ่งบทความชิ้นนี้ยังไม่ได้ตอบอย่างชัดเจน เช่น บทบาทของญี่ปุ่นที่ส่งผลให้ จอมพล . ตัดสินใจยื่นใบลาออก หรือบทบาทของต่างชาติในเหตุการณ์การลาออกของ จอมพล . ในปี 2486

ทั้งนี้ เอกสารรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นเพราะญี่ปุ่นหรือไม่อย่างไร แต่ฝ่ายญี่ปุ่นเองก็มีความร้อนรนเมื่อทราบข่าวการลาออกของ จอมพล . เมื่อพิจารณาจากปากคำของ .. ไชย ที่ว่าญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะทราบว่าใครจะมาแทนที่ จอมพล . อาจจะเป็นไปได้ที่ จอมพล . ต้องการแสดงให้ญี่ปุ่นเห็นว่าถ้าขาด จอมพล . ไปเมืองไทยจะวุ่นวายและควบคุมไม่ได้

แต่ด้วยความที่ จอมพล . ชอบใช้การลาออกมาเป็นเครื่องมือทำให้ศัตรูทางการเมืองได้ถือโอกาสเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีอันนำไปสู่ปัญหาวุ่นวายที่เกิดขึ้นตามลำดับ[71] ด้วยข้อจำกัดทางด้านภาษาญี่ปุ่น ผู้เขียนจึงยังไม่ได้มีโอกาสวิเคราะห์เหตุการณ์ดังกล่าวจากมุมมองของผู้เกี่ยวข้องในญี่ปุ่นอย่างรอบด้าน

ในแง่มุมนี้เองงานเขียนในอนาคตที่ค้นคว้าข้อมูลเอกสารจากประเทศญี่ปุ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลาออกในปี 2486 จะมีคุณูปการต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างมากทีเดียว

คลิกอ่านเพิ่ม:

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เชิงอรรถ :

[1] ในส่วนของงานที่ศึกษาการลาออกของ จอมพล . พิบูลสงคราม ในปี 2487 โปรดดู Benjamin A. Batson. “The Fall of the Phibun Government, 1944,” in Journal of the Siam Society. 62 (2) (July 1974), pp. 89-120; อดุลย์ กอวัฒนา. “การลาออกของรัฐบาล จอมพล . พิบูลสงคราม เมื่อ 24 กรกฎาคม 2487”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518).

[2] นักประวัติศาสตร์อย่าง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เคยวิเคราะห์ว่าเอกสารรายงานประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ได้เป็นการจดบันทึกในลักษณะคำต่อคำและมีความเป็นไปได้ว่าการจดที่ว่านั้นจดเฉพาะที่คนจดคิดว่าสำคัญ ดูความเห็นดังกล่าวได้จาก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “ประเทศไทย อายุครบ 65 : ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศปี 2482,” ใน ศิลปวัฒนธรรม. (มีนาคม 2547), . 79.

[3] ความเห็นในกรณีการลาออกนั้นค่อนข้างหลากหลาย เช่น นายทวีได้มองว่า การยื่นลาออกนั้นเกิดขึ้นเพราะ จอมพล . มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ซึ่งมีผลให้จอมพลได้ประชดประชันด้วยการลายื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ โดยยกอ้างเรื่องปัญหาสุขภาพ ดู Jayanta K. Ray. “Nai Thawee Bunyaketu,” in Portraits of Thai Politics. (New Delhi : Orient  Longman, 1972), p. 92; เออิจิ มุราชิม่า ได้มองว่าการลาออกนั้นเป็นการเล่นตัวเพื่อแสดงให้พันธมิตรร่วมรบอย่างญี่ปุ่นเห็นว่าถ้าขาด จอมพล . ไปประเทศไทยจะวุ่นวายไม่มีใครปกครองได้ ดู เออิจิ มุราชิมา. “เมื่ออาทิตย์อุทัยฉายแสงเหนือแดนสยาม,” ใน ภูริ ฟูวงศ์เจริญ [บรรณาธิการ]. 70 ปีวันสันติภาพไทย : ความรู้ ความทรงจำ ประวัติศาสตร์. (กรุงเทพฯ : หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558), . 17; กอบเกื้อ สุวรรณทัตเพียร และ E. Bruce Reynoldsได้มองว่า การแกล้งลาออกนั้นเป็นเพียงแค่กลยุทธ์ในการทดสอบความนิยมทางการเมืองภายในประเทศและเพื่อที่จะจัดการกับศัตรูทางการเมืองเท่านั้น ดู Kobkua Suwannathat-Pian. Thailand’s Durable Premier : Phibun Through Three Decades, 1932-1957. (Oxford : Oxford University Press, 1995), p. 186; E. Bruce Reynolds. “Ambivalent Allies : Japan-Thailand, 1941-1945”. Unpublished Ph.D. Thesis. (University of Hawaii, 1988), p. 473.

[4] พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา. “คำให้การของพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์,” ใน ทศสิริ พูนนวล และ กานต์ ธงไชย [บรรณาธิการ]. คำให้การต่อศาลอาชญากรสงคราม : เอกสารประวัติศาสตร์. (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปีชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภาคเอกชน, 2545), . 116.

[5] รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 10/2484 วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2484

[6] เพิ่งอ้าง.

[7] ดูรายละเอียดของบัตรสนเท่ห์และการตั้งการสืบสวนกรณีดังกล่าวได้จาก (3) สร. 0201.2.7/49 เรื่อง นายวนิช ปานะนนท์, นายยล สมานนท์ กับพวกทุจริตเรื่องขายทองของธนาคารไทยจำกัด (14 ..-20 มี.. 2488). ทั้งนี้ ดูความร้อนรนใจของญี่ปุ่นที่จะช่วยเหลือนายวนิชในกรณีดังกล่าวได้จากเอกสารชุดเอกสารที่ฝ่ายอเมริกันตัดสัญญาณได้จาก Tsubokami Teiji (19 September 1941). in The “Magic” Background of Pearl Harbour. (Washington, D.C. : Department of Defense, 1977), V. 3 Appendix, p. A-649.

[8] รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 56/2484 วันที่ 22 ตุลาคม 2484

[9] เพิ่งอ้าง.

[10] เพิ่งอ้าง.

[11] อดุลย์ กอวัฒนา. “การลาออกของรัฐบาล จอมพล . พิบูลสงคราม เมื่อ 24 กรกฎาคม 2487”. . 81.

[12] รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี (พิเศษ) ครั้งที่ 14/2485 วันพุธที่ 11 มีนาคม 2485

[13] หจช. (3) สร. 0201.7/49 บันทึกของรัถมนตรีว่าการกะซวงการต่างประเทส วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2487

[14] หจช. (3) สร. 0201.7/49 หนังสือเขียนด้วยลายมือโดย พล.. ไชย ประทีปะเสน ลงวันที่ 4 มี.. 87 อ้างอิงเลขหน้าที่ระบุไว้โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติหน้าที่ 101 (มุมขวาล่าง)

[15] หจช. (3) สร. 0201.7/49 โทรเลขถึง พล.. ไชย วันที่ 7 มี.. 87​ โดยไม่ได้ระบุหัวข้อและหมายเลขของโทรเลข อ้างอิงเลขหน้าที่ระบุไว้โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติหน้าที่ 102 (มุมขวาล่าง)

[16] มาลัย ชูพินิจ. บันทึกจอมพล : สัมภาษณ์ จอมพล . พิบูลสงคราม. (กรุงเทพฯ : กระท่อม .., 2544), . 48.

[17] Ray. “Nai Thawee Bunyaketu”. p. 92.

[18] ทวี บุณยเกตุ. “บันทึก นายทวี บุณยเกตุ เรื่อง จอมพล . พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี,” ใน ทศสิริ พูนนวล และ กานต์ ธงไชย [บรรณาธิการ]. คำให้การต่อศาลอาชญากรสงคราม : เอกสารประวัติศาสตร์. . 142.

[19] เพิ่งอ้าง, . 142-43.

[20] เพิ่งอ้าง, . 157.

[21] Jayanta K. Ray ซึ่งเป็นผู้รวบรวมบทสัมภาษณ์ของ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และ ทวี บุณยเกตุ นั้น ได้ส่งต้นฉบับไปให้ทั้ง 3 คนตรวจสอบเนื้อหาก่อนที่จะตีพิมพ์ ซึ่งผู้รวบรวมตีพิมพ์กล่าวว่าทั้งสามตรวจทานอย่างละเอียดก่อนจะให้อนุญาตตีพิมพ์ ซึ่งหมายความโดยนัยยะว่านายทวีอาจจะทบทวนเรื่องราวทั้งหมดใหม่ ดูบท Acknowledgements ของ Jayanta K. Ray. Portraits of Thai Politics. (New Delhi : Orient Longman, 1972). ในปี 2515 นายทวีได้ให้สัมภาษณ์ถึงจุดเริ่มต้นของการยื่นใบลาออกในปี 2486 ไว้ว่าเป็นเพราะเรื่องราวและปัญหาที่ทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว สาเหตุนั้นเริ่มมาจากการที่ จอมพล . ไปราชการจังหวัดเพชรบูรณ์และได้ขอให้ผู้ใต้บังคับบัญชาส่งเงินจำนวนหนึ่งพันบาทไปให้ใครคนใดคนหนึ่งในครอบครัว ซึ่ง จอมพล . เขียนด้วยอักษรย่อ ซึ่งผู้บังคับบัญชาคนดังกล่าวได้เข้าใจว่าเป็นการส่งเงินให้กับลูกสาวคนใดคนหนึ่งของ จอมพล . ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ท่านผู้หญิงละเอียดบังเกิดความโมโหและทะเลาะกับ จอมพล . นายทวีมองว่า เหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ จอมพล . ยื่นใบลาออก อย่างไรก็ดี แม้ว่านายทวีจะมองว่าปัญหาภายในครอบครัวของ จอมพล .​ ทำให้นายกรัฐมนตรีถึงกับยื่นใบลาออก แต่ทว่าในบันทึกของนายทวี วันที่ 20 ตุลาคม 2488 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นายทวีกลับมองว่าน่าจะเป็นปัญหาทางด้านการเมืองเสียมากกว่า ดู Ray. “Nai Thawee Bunyaketu”. p. 92.

[22] ทวี. “บันทึก นายทวี บุณยเกตุ เรื่อง จอมพล . พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”. . 145.

[23] เพิ่งอ้าง, . 146.

[24] Ray. “Nai Thawee Bunyaketu”. p. 92.

[25] พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา. “คำให้การของพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”. . 118.

[26] ทวี. “บันทึก นายทวี บุณยเกตุ เรื่อง จอมพล . พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”. . 147.

[27] เพิ่งอ้าง, . 147-148.

[28] Ray. “Nai Thawee Bunyaketu”. p. 93.

[29] ทวี. “บันทึก นายทวี บุณยเกตุ เรื่อง จอมพล . พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”. . 148.

[30] เพิ่งอ้าง, . 149.

[31] ปรีดี. “ความเป็นไปภายในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์,” ใน ปราโมทย์ พึ่งสุนทร และ เปรื่อง ศิริภัทร์ [เรียบเรียงในโอกาสที่ระลึกวันเกิดอายุครบ 72 ปี ของ นายปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2515]. บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2. (กรุงเทพฯ : นีติเวชช์, 2515), . 60.

[32] ทวี. “บันทึกนายทวี บุณยเกตุเรื่องจอมพล . พิบูลสงครามลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”. . 150.

[33] ดูใจความของเอกสารดังกล่าวนั้นได้จาก รายงานประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 7/2486 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486

[34] ทวี. “บันทึก นายทวี บุณยเกตุ เรื่อง จอมพล . พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”. . 151.

[35] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทยสยาม .. 2475-2500. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2551), . 355. น่าสนใจว่า ชาญวิทย์พูดถึงความเป็นไปได้ที่ นายควง อภัยวงศ์ และ นาวาเอก บุง ศุภชลาศัย อาจจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนที่ จอมพล . โดยไม่ได้มีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของหลักฐานใดๆ อาจจะเป็นไปได้ที่ว่าทั้งสองไม่ได้เป็นบุคคลที่ทางสภาฯ มองไว้ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนใหม่เลยก็เป็นได้

[36] ใน รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งพิเศษที่ 6/2486 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 นั้น .. ช่วง ชเวงศักดื์สงครามพูดถึงข่าวที่ตนได้ยินมาหลังจากที่ จอมพล . จะลาออกว่ามีความพยายามที่จะทาบทามพระยาพหลฯ กลับมาเป็นนายกฯ แทน จอมพล . อีกครั้ง ในการประชุมครั้งนั้น .. ช่วง ได้กล่าวว่าผมได้ข่าวว่ามีคนไปทาบทามเจ้าคุนพหลฯ จะไห้เปนนายกฯ ไครเปนคนไปทาบทามไม่ซาบ แต่ได้ความว่าท่านตะเพิดไป

[37] รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งพิเศษที่ 6/2486 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 ในรายงานการประชุมฉบับดังกล่าวนี้ นายแม่น ชลานุเคราะห์ ได้ถูกถามโดย จอมพล . ว่าตอนที่อ่านแถลงการณ์นั้นไม่เอะใจบ้างเลยหรือ ซึ่งนายแม่นตอบกลับในทำนองที่ว่าคนอ่านข่าวมีหน้าที่เพียงแค่อ่านเท่านั้น ท้ายที่สุด จอมพล . ก็อโหสิกรรมให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมประชุมในวันดังกล่าว

[38] Ray. “Nai Thawee Bunyaketu”. p. 93.

[39] กรณีของ ไพโรจน์ ชัยนาม โปรดดู Reynolds. “Ambivalent Allies”. p. 476. ซึ่งผู้แต่งวิทยานิพนธ์ได้มีโอกาสขอสัมภาษณ์ไพโรจน์ใน .. 2530 ดูได้จากเชิงอรรถที่ 48 ในวิทยานิพนธ์บทที่ 7 ซึ่งเป็นไปได้ว่าข้อมูลการบอกเล่าของไพโรจน์และของทวีนั้นมีความตรงกันในกรณีที่ .. ไชยได้เข้ามาข่มขู่แต่ไพโรจน์ได้เลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามคำขู่ดังกล่าว

[40] พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา. “คำให้การของพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”. . 117; นอกจากนี้โปรดดูบทสนทนาของ .. ไชย ประทีปะเสน ในรายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งพิเศษที่ 6/2486 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486 ซึ่งเล่าถึงความพยายามในการที่จะติดต่อกับพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ หลังจากที่มีแถลงการณ์ลาออก ซึ่งเรื่องเล่าค่อนข้างสอดคล้องกันกับรายงานคำให้การของพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ

[41] เพิ่งอ้าง, . 117.

[42] ปรีดี. “ความเป็นไปภายในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”. . 61.

[43] อันที่จริงในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2486 จอมพล . ได้กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าผมได้สั่งไห้ประกาสว่าเปนข่าวคาดเคลื่อน ถ้าปล่อยไว้จะยุ่งกันไหย่ จะเปนประกาสหรือข่าวจิงหรือไม่จิง ทางการค้าแบงก์ปั่นป่วน ถอนเงินกัน ทั้งๆ ที่ประกาสแล้ว ถ้าปล่อยกานข่าวนั้นอีกกี่วันจะตั้งคนะรัถมนตรีได้ เพราะคงมีพิธีกันมาก การที่วิทยุไทยแก้ไขจึงดีหยู่แล้วโปรดดู รายงานประชุมคนะรัถมนตรี ครั้งพิเศษที่ 8/2486 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2486

[44] Ray. “Nai Thawee Bunyaketu”. p. 93.

[45] พันตรี ควง อภัยวงศ์. “การเปลี่ยนรัฐบาล จอมพล . พิบูลสงคราม,” ใน สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย [บรรณาธิการ]. เบื้องแรกประชาธิปตัย : บันทึกความทรงจำของผู้อยู่ในเหตุการณ์สมัย .. 2475- 2500. (กรุงเทพฯ : นรามิตรการพิมพ์, 2516), . 413.

[46] เพิ่งอ้าง, . 413.

[47] รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งพิเศษที่ 6/2486 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486

[48] เพิ่งอ้าง.

[49] เพิ่งอ้าง.

[50] มาลัย ชูพินิจ. บันทึกจอมพล : สัมภาษณ์ จอมพล . พิบูลสงคราม. . 46-47.

[51] รายงานประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 7/2486 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2486

[52] หจช. บกสส 1/361 ผบ ทหารสูงสุดมีหนังสือถึง นายปลอดวิเชียร สงขลา ขอให้ร่วมมือกับฝ่ายทหารและรัฐบาลอย่าให้เกิดความไม่สงบระส่ำระสาย (16-17 กุมภาพันธ์ 2486)

[53] เพิ่งอ้าง, ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า แม้ในชุดเอกสารนั้นมีการขีดฆ่าชื่อของของนายปรีดีและพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ออก กระนั้นก็ดี ในชุดเอกสารดังกล่าวได้มีหนังสือตอบรับจากทั้งพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และนายปลอด แต่ไม่มีของนายปรีดี ไม่ทราบว่าท้ายที่สุดทาง จอมพล . ได้ส่งไปให้นายปรีดีหรือไม่ เป็นไปได้ที่ทางฝ่ายนายปรีดีได้รับหนังสือภายหลังแต่ไม่ตอบ จอมพล . หรืออาจจะเป็นไปได้ที่ว่า จอมพล . ไม่ได้ส่งไปให้นายปรีดีเลย

[54] รายงานประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 8/2486 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2486

[55] พันตรี ควง อภัยวงศ์. “การเปลี่ยนรัฐบาล จอมพล . พิบูลสงคราม”, 413.; อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตรี ควง อภัยวงศ์ ..,...,.. เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 13 มิถุนายน 2511. (พระนคร : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์), . 60.

[56] Judith A. Stowe. Siam Becomes Thailand : A Story of Intrigue. (Hawaii : University of Hawaii Press, 1991), p. 242.

[57] ทวี. “บันทึก นายทวี บุณยเกตุ เรื่อง จอมพล . พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”. . 155.

[58] เพิ่งอ้าง, . 160.

[59] รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งพิเศษที่ 8/2486 วันที่ 18​ กุมภาพันธ์ 2486

[60] หจช. (2) สร 0201.10/63.​ “คำของนายกรัถมนตรียามคับขันนี้อ้างอิง . 7-8 มุมขวาล่างของเอกสาร หจช.

[61] เพิ่งอ้าง.

[62] เพิ่งอ้าง. หนังสือจากสำนักนายกรัถมนตรี ด่วนมากที่ .. 66/2486 วันที่ 6 เมสายน 2486 เรื่อง ไห้ประชุมถามความเห็นว่าจะเอาไครเปนนายกรัถมนตรี

[63] เพิ่งอ้าง. .. ไชยได้เขียนข้อความดังกล่าวลงวันที่ 7 เมษายน 2486 ไว้ในหน้าหนังสือจากสำนักนายกรัถมนตรี ด่วนมากที่ .. 66/2486 วันที่ 6 เมสายน 2486 เรื่อง ไห้ประชุมถามความเห็นว่าจะเอาไครเปนนายกรัถมนตรี

[64] เพิ่งอ้าง; ดูหนังสือลงนามข้าราชการเพิ่มเติมได้จาก หจช. มท. 2.2/366 ให้ประชุมถามความเห็นว่าจะเอาใครเป็นนายกรัฐมนตรี (2486)

[65] เพิ่งอ้าง, หนังสือจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราสดร ลับด่วนมากที่ . 1439/2486 วันที่ 7 เมสายน 2486 เรื่อง ไห้ประชุมถามความเห็นว่าจะเอาไครเปนนายกรัถมนตรี

[66] อดุล อดุลเดชจรัส มองว่าแท้ที่จริงแล้ว เหล่าประชาชนและข้าราชการต่างลงนามกันสนับสนุน จอมพล . น้อยกว่าที่คาดไว้ ดังนั้น จอมพล . จึงได้ดำรงตำแหน่งต่อไปและไม่ได้นำเอกสารที่ข้าราชการลงนามมาป่าวประกาศต่อสาธารณะแต่อย่างใด ดู พล... อดุล อดุลเดชจรัส. “คำให้การของ พล... อดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ,” ใน ทศสิริ พูนนวล และ กานต์ ธงไชย [บรรณาธิการ]. คำให้การต่อศาลอาชญากรสงคราม : เอกสารประวัติศาสตร์. (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปีชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภาคเอกชน, 2545), . 187.

[67] หจช. (2) สร 0201.10/63. จอมพล . เขียนด้วยลายมือวันที่ 19 เมษายน 2486 ลงในจดหมายข้อความจากรัถมนตรีว่าการกะซวงคมนาคมถึงนายกรัถมนตรีเรื่อง พนะฯ นายกรัถมนตรีไห้ประชุมถามความเห็นว่าจะเอาไครเปนนายกรัถมนตรี.

[68] หจช. กต. 73.5/18 จอมพล . พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีลาออก (2486) ดูโทรเลขจากญี่ปุ่นเลขที่ 69/2486 และโทรเลขจากเบอร์ลินเลขที่ 24/18

[69] หจช. (2) กต. 8.1.1/27 โทรเลขจากเบอร์ลินส่งวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2486 ที่ 29/2486

[70] หจช. กต. 73.5/18 โทรเลขตอบกลับที่ 61/2486 เป็นภาษาอังกฤษ ถ้อยความเดิมที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นคือ “In reply to your radiophone No. 62/2486 through misunderstanding on the part of minor officials, the announcement of His Excellency the Prime Minister’s resignation was premature. His Excellency did in fact tender his resignation on the 12th owing to ill health, but later after a discussion with his colleagues and in view of the present critical world situation he withdrew his resignation”.

[71] สำหรับประเด็นเรื่องการลองใจญี่ปุ่น โปรดดู เออิจิ มุราชิมา. “เมื่ออาทิตย์อุทัยฉายแสงเหนือแดนสยาม”. . 17. ในกรณีที่ศัตรูทางการเมืองถือโอกาสโค่น จอมพล . ดูความเห็นดังกล่าวได้จาก Sorasak Ngamcachonkulkid. The New History of the Seri Thai Movement. (Bangkok : Institute of Asian Studies Chulalongkorn University, 2010), p. 157.


หมายเหตุ : คัดเนื้อหาจากบทความ “การลาออกแต่ไม่ยอมออกของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2486” เขียนโดย พีระ เจริญวัฒนนุกูล ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม 2559


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม 2562