ผู้เขียน | อภิพล แซ่ตั้ง |
---|---|
เผยแพร่ |
ประเด็นการ “กราบรถ” ยังคงได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางในสังคมไทย กรณีที่มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปประสบ อุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถยนต์หรูขนาดเล็กราคาแพง แล้วผู้ขับขี่จักรยานยนต์มีท่าทีว่าจะหลบหนีทําให้เจ้าของรถยนต์หรูคันนั้น ต้องเดินไปกระชากคอเสื้อของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ข้ามมาจากอีกฝั่งถนนหนึ่ง ก่อนจะเริ่มบทสนทนาแล้วตามด้วยบทบู๊กระหน่ำ เข้าที่ใบหน้าหลายครั้ง เพราะเขาไม่รู้ว่ารถยนต์ที่ชนเข้าไปนั้นมีราคาค่างวดเท่าใด ก่อนเจ้าของรถยนต์จะสั่งให้ชายผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์ “กราบรถกู” พร้อมชี้ไปที่รถยนต์หรูสีเหลืองคันเล็กคันนั้น
หากเราพูดถึงการ “กราบรถ” เราคงนึกถึงภาพของขบวนเสด็จพระราชดําเนินเท่านั้น เพราะเราไม่ค่อยได้กราบรถ ใครอยู่แล้ว ลําพังจะประคองตัวหรือประคองรถฝ่าการจราจรก็ลําบากมากแล้ว และส่วนใหญ่จะเป็น “อจร” เสียมากกว่า “จร” (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชอรรถาธิบายเป็น “พระราชอารมณ์ขัน” ไว้ว่า “จราจร” มาจาก “จร” กับ “อจร” แปลว่า รวมกันแปลว่า “แล่นบ้าง-ไม่แล่นบ้าง”) จะให้ไปกราบรถใครก็คงไม่มีเวลา แล้วก็ไม่รู้จะกราบทําไม ถ้าอยากจะกราบจริงๆ ก็คงได้แต่รอกราบรถในขบวนเสด็จพระราชดําเนินเท่านั้น ทุกครั้งก่อนขบวนเสด็จฯจะมาถึงหรือผ่านไป ที่ใดที่หนึ่ง จะต้องมีการปิดเส้นทางหรือเรียกเข้าใจง่ายๆว่า “ปิดถนน” เพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุก ฝ่ายได้ถวายอารักขา และพสกนิกรได้เตรียมตัวนั่งลงกับพื้นเพื่อรอขบวนเสด็จฯที่มาถึง และผ่านไปชั่วขณะเดียว ในโอกาสอัน พิเศษนี้ใครใคร่จะโบกธง ส่งเสียงถวายพระพร หรือก้มกราบ ก็แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคน ไม่ได้มีใครมาบังคับถ้าหากเป็น ประชาชนทั่วไป แต่ถ้าเป็นข้าราชการก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะกระทรวงมหาดไทยมีระเบียบการรับเสด็จฯเป็นคู่มือไว้พร้อม
ในบรรดาขบวนรถพระที่นั่ง เรามักเห็นรถอยู่ในขบวนมีสีอยู่สองสีหลัก คือสีเหลืองนวล หรือที่เรียกกันไปต่างๆชื่อได้ อีกเช่น สีไข่ไก่สีครีม ฯลฯ ซึ่งเป็นสีของรถยนต์พระที่นั่ง ที่ถูกวางระเบียบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ว่าต้องไม่เหลืองจัด กับอีกสี หนึ่งคือ สีแดง เป็นสีเฉพาะของรถตามขบวนในขบวนเสด็จฯ หรือขบวนหลวง รถสีอื่นๆนอกเหนือจากนี้ก็เป็นไปตามหน้าที่ของ รถ หรือผู้ตามเสด็จฯในขบวน เช่นรถตํารวจ รถพยาบาล ในขบวนเสด็จฯอาจมีสีบรอนซ์เงิน หรือ ดํา ก็แล้วแต่กรณี
รถอีกสีหนึ่งที่จัดอยู่ในรถขบวนหลวงแต่ไม่ค่อยพบเห็นได้บ่อยนัก ก็คือรถสีเหลือง (ที่เหลืองกว่ารถยนต์พระที่นั่ง) มี ชื่อเรียกว่า “รถพระประเทียบ” เป็นรถประจําตําแหน่งสําหรับสมเด็จพระสังฆราช หรือรถที่ใช้สําหรับผู้แทนพระองค์ซึ่งไม่ได้ ทรงรถยนต์พระที่นั่ง (เช่นองคมนตรีหรือผู้อื่นที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์) ซึ่งรถเหลืองมักปรากฏโฉม เฉพาะในงานพระราชพิธีสําคัญๆเท่านั้น เช่นในตอนท้ายการพระบรมศพหรือพระศพ รถพระประเทียบจะใช้อัญเชิญพระบรมอัฐิไปยังพระศรีรัตนเจดีย์หรือในบางโอกาสใช้อัญเชิญพระพุทธรูปสําคัญ และใช้รับราชทูตที่ถือพระราชสาสน์ตราตั้งมาจาก ต่างประเทศด้วย
เพราะรถเหลือง ในขบวนหลวงเห็นได้ยาก ทําให้ไม่ค่อยได้กราบ เราจึงไม่คุ้นเคยกับการกราบรถเหลือง นอกขบวนหลวงสักเท่าไหร่