สมพาสกับนางนาค

มีนิทานเขมรที่ว่าด้วยพิธีกรรมบูชานาค ที่สะท้อนถึงความเชื่อเกี่ยวกับนาคที่จะคุ้มครองบ้านเมือง โดยผ่านพิธีกรรม นิทานดังกล่าวนั้นมีอยู่ในเอกสารจีนเรื่อง บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ เขียนโดย โจวต้ากวาน ราชทูตจีน ที่เข้ามายังเมืองเขมรพระนคร เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19 แปลโดย อ.เฉลิม ยงบุญเกิด มีรายละเอียดดังนี้ (คัดมาให้อ่านและจัดย่อหน้าใหม่)

หน้าปกหนังสือ บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ จัดพิมพ์โดย สนพ.มติชน
หน้าปกหนังสือ บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ จัดพิมพ์โดย สนพ.มติชน

“ปราสาททองคำภายในพระราชวังนั้น พระเจ้าแผ่นดินเข้าที่พระบรรทมในยามราตรีบนยอดปราสาท

พวกชาวพื้นเมืองพากันกล่าวว่า ในปราสาทนั้นมีภูติงูเก้าศีรษะ ซึ่งเป็นพระภูมิเจ้าที่ทั่วทั้งประเทศ ภูติตนนี้เป็นร่างของสตรีและจะปรากฏกายทุกคืน พระเจ้าแผ่นดินจะเข้าที่พระบรรทมและทรงร่วมสมพาสด้วยก่อน แม้แต่บรรดามเหสีทั้งหลายของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่กล้าเข้าไปในปราสาทนี้

พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จออกจากปราสาทนั้นเมื่อเพลายามที่ 2 แล้วจึงจะเข้าที่พระบรรทมร่วมกับพระมเหสีและพระสนมได้

ถ้าหากราตรีใดภูติตนนี้ไม่ปรากฏกาย ก็หมายความว่าเวลาสวรรคตของพระเจ้าแผ่นดินชาวป่าเถื่อนพระองค์นั้นใกล้เข้ามาแล้ว

ถ้าพระเจ้าแผ่นดิินของชาวป่าเถื่อนมิได้เสด็จไปเพียงราตรีเดียว ก็จะต้องทรงได้รับภัยอันตราย”

นิทานเรื่อง กษัตริย์เขมรต้องสมพาสกับนางนาค
นิทานเรื่อง กษัตริย์เขมรต้องสมพาสกับนางนาค
ภาพที่ 2 เนื้อหาต่อจากภาพที่ 1
ภาพที่ 2 เนื้อหาต่อจากภาพที่ 1

 

ปราสาททองคำ ในที่นี้หมายถึง ปราสาทพิมานอากาศ ส่วน ภูติงูเก้าศีรษะ ก็คือ นางนาค

แต่อย่าถือเป็นจริงเป็นจังเพราะเป็นนิทาน

ถึงอย่างไรก็ตามก็สะท้อนถึงระบบความเชื่อและการประกอบพิธีกรรม