เปิด “พระปฐมบรมราชโองการ” ของพระมหากษัตริย์ 5 พระองค์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วัดประจำรัชกาลที่ 1-9 พระปฐมบรมราชโองการ ในรัชกาลที่ 1-5
พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี ภายในปราสาทพระเทพบิดร (ภาพจาก : มติชนออนไลน์)

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์จะต้องพระราชทาน “พระปฐมบรมราชโองการ” เพื่อแสดงถึงพระราชปณิธานที่จะต้องทรงดูแลบ้านเมืองให้สงบสุขร่มเย็น ซึ่งแตกต่างกันไปตามยุคสมัย

พระปฐมบรมราชโองการ ในรัชกาลที่ 1-5 แต่ละพระองค์ตรัสไว้อย่างไร?

1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เชิง สะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพ
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานคร

“…พรรณพฤกษ ชลธี แลสิ่งของในแผ่นดิน ทั่วเขตพระนคร ซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้น ตามแต่สมณชีพราหมณาจารย์ราษฎรปรารถนาเถิด…”

  1. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

“แต่บรรดาพฤกษาและแม่น้ำใหญ่ น้อย และสิ่งของทั้งปวง ซึ่งมีในแผ่นดิน ทั่วขอบเขตแดนพระนคร ซึ่งหาเจ้าของหวงแหนมิได้

ให้พระราชทานแก่ สมณะ พราหมณ อณาประชาราษฎร์ทั้งปวง ตามแต่ปรารถนาเถิด”

3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

พระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๑

หมายเหตุ : รัชกาลที่ 3 ไม่ปรากฏพระปฐมบรมราชโองการ พบเพียงพระราชโองการปฏิสันถาร ที่ตรัสกับเจ้าพระยาและพระยาทั้งหมด มีข้อความเหมือนกันทุกรัชกาล ก่อนจะยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ดังตรัสไว้ว่า

“เจ้าพระยา และพระยา ของซึ่งถวายทั้งนี้ จงจัดแจงบำรุงไว้ให้ดี จะได้รักษาแผ่นดิน”

4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

“พรรณพฤกษ ชลธี แลสิ่งของในแผ่นดิน ทั่วเขตพระนคร ซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้น ตามแต่สมณชีพราหมณาจารย์ราษฎรจะปรารถนาเถิด”

  1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งเสด็จเยือนสิงคโปร์เมื่อ ค.ศ. 1896 โดย Robert Lenz

พระองค์ทรงมี “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” 2 ครั้ง แต่ละครั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการต่างกัน 

ครั้งที่ 1 “แต่บรรดาที่ไม่มีเจ้าของผลไม้ทั้งน้ำในห้วยละหารตรท่าก็ดี ตามแต่สมณพราหมณาจารยอาณาประชาราษฎรจะมาแต่จตุระทิศต่างๆ ตามแต่จะปรารถนา”

ครั้งที่ 2 “อิทานหํ สพฺเพสํ อนุมติยา ราชา มุทฺธาวสิตฺโต สฺยาเมสุ อิสฺสราธิปจฺจํ รชฺชํ กาเรมิธ ธฺมมิกราชปเวณิยา อนุชานามิ ยนฺติ สฺยามวิชิเต

อปรปริคฺคหิตํ ติณกฏฺโจทกํ สมณพฺราหฺมณาทโย สพฺเพสฺยามรฏฺฐิกา ยถาสุขํ ปริภุญฺชนุตุฯ”

แปลว่า “ครั้งนี้ท่านทั้งปวงพร้อมใจกัน ยอมให้เราเปนเจ้าครองราชสมบัติได้รับมุรธาภิเษกเปนใหญ่ในสยามราษฎร์วราณาจักรนี้แล้ว เราขออนุญาตยอมให้ โดยธรรมิกราชประเพณี พรรณพฤกษชลธีในสยามราษฎร์วราณาจักรนี้ ซึ่งไม่มีเจ้าของหวงแหนนั้น ตามแต่สมณพราหมณาจารย์ ประชาราษฎรทั้งปวงจะปรารถนาใช้สอยเทอญ ฯ”

ทั้งหมดนี้คือ พระปฐมบรมราชโองการ ในรัชกาลที่ 1-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

https://phralan.in.th/coronation/royalcoronationdetail.php?id=66

https://www.silpa-mag.com/history/article_134923


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 13 พฤษภาคม 2568