ภาษีอากร 38 ชนิด ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 

บางกอก ภาษีอากร 38 ชนิด
ภาพประกอบเนื้อหา - “ทัศนียภาพของเมืองบางกอก” (View of the city of Bangkok) จากหนังสือ “บันทึกของทูตจากข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียประจำสยามและโคชิน-ไชนา” (Journal of an embassy from the Governor-General of India to the courts of Siam and Cochin-China) โดย จอห์น ครอว์เฟิร์ด ทูตอังกฤษผู้รับหน้าที่มาเจรจากับสยามก่อน เบอร์นีย์

ภาษีอากร 38 ชนิด ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 

ในสมัยรัชกาลที่ 3 บ้านเมืองมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายไปกับกิจการต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะสงครามกับญวน และลาว เป็นผลให้มีความจำเป็นต้องปรับปรุงและเพิ่มเติมระบบการจัดเก็บภาษีอากรเสียใหม่ 

ตัวอย่างเช่น ภาษีอากรค่านา ที่แต่เดิมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเคยเก็บเป็นเงินแทนข้าวเปลือก จนภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองวิกฤต ฝนแล้งบ้าง น้ำท่วมบ้าง ปลูกข้าวยากลำบาก ไม่ได้ผลผลิตมากพอ จึงเปลี่ยนจากเก็บเป็นเงินมาเป็นข้าวเปลือกแทน จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ให้เปลี่ยนไปเก็บเป็นเงินเหมือนแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยคิดไร่ละสลึง และเก็บเงินแทนค่าขนข้าวส่งฉางหลวงอีกไร่ละเฟื้อง 

นอกจากนี้ ยังใช้ระบบ “เจ้าภาษีนายอากร” เข้ามาเป็นผู้ดูแลจัดเก็บภาษีอากร 

ภาษีอากร 38 ชนิด ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 มีดังนี้

1. บ่อนเบี้ยจีน (แต่เดิมเก็บแค่บ่อนเบี้ยไทย)

2. หวย ก.ข.

3. ภาษีเบ็ดเสร็จ (เก็บจากสินค้าลงสำเภา)

4. ภาษีของต้องห้ามหกอย่าง (ได้แก่ อากรรังนก, ไม้กฤษณา, นอแรด, งาช้าง, ไม้จันทร์, ไม้หอม)

5. ภาษีพริกไทย (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)

6. ภาษีพริกไทย (เก็บจากชาวไร่ชาวสวน)

ต้น ก้าน พริกไทย พริกไทยกับพริกเทศ
รายละเอียดก้าน พวงอ่อน และเมล็ดพริกไทย (ภาพโดย Biodiversity Heritage Library ใน Flickr)

7. ภาษีฝาง (หรือไม้ฝาง)

8. ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)

9. ภาษีไม้แดง (เก็บสิบลดจากผู้ขาย)

10. ภาษีเกลือ

11. ภาษีน้ำมันมะพร้าว

12. ภาษีน้ำมันต่าง ๆ

13. ภาษีกะทะ

14. ภาษีต้นยาง

15. ภาษีไต้ชัน (หรือไต้ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดให้สว่าง)

16. ภาษีฟืน

17. ภาษีจาก (หรือต้นจาก)

18. ภาษีกระแชง (หรือเรือกระแชง)

19. ภาษีไม้ไผ่ป่า

20. ภาษีไม้รวก

21. ภาษีกอไม้สีสุก

22. ภาษีไม้ค้างพลู

23. ภาษีไม้ต่อเรือ

24. ภาษีไม้ซุง

25. ภาษีฝ้าย

26. ภาษียาสูบ

27. ภาษีปอ

28. ภาษีคราม

29. ภาษีเนื้อแห้ง ปลาแห้ง

30. ภาษีเยื่อเคย

“ทัศนียภาพของเมืองบางกอก” (View of the city of Bangkok) จากหนังสือ “บันทึกของทูตจากข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียประจำสยามและโคชิน-ไชนา” (Journal of an embassy from the Governor-General of India to the courts of Siam and Cochin-China) โดย จอห์น ครอว์เฟิร์ด ทูตอังกฤษผู้รับหน้าที่มาเจรจากับสยามก่อน เบอร์นีย์

31. ภาษีน้ำตาลทราย

32. ภาษีน้ำตาลหม้อ

33. ภาษีน้ำตาลอ้อย

34. ภาษีสำรวจ

35. ภาษีเตาตาล

36. ภาษีจันอับ, ไพ่, เทียนไขเนื้อ, และขนมต่าง ๆ

37. ภาษีปูน

38. ภาษีเกวียน, โคต่าง, เรือจ้าง, ทางโยง

นอกจากนี้ ​รัชกาลที่ 3 ยังโปรด ฯ ให้เลิกเก็บภาษีอากร 2 อย่าง คือ อากรรักษาเกาะ และอากรค่าน้ำ ซึ่งเก็บมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

อ่านเพิ่มเติม : 

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

อธิบายตำนานภาษีอากร ใน, “ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ 16 ตำนานภาษีอากรบางอย่าง กับคำอธิบายของพระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ”. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพสนองคุณ นายร้อยตรีน้อย แสงมณี ผู้เปนบิดา เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2470. โสภณพิพรรฒธนากร, 2470


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2568