ที่มา | นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
---|---|
ผู้เขียน | Ya-Liang Chang |
เผยแพร่ |
ตามข้อมูลล่าสุด (พ.ศ. ๒๕๕๖) ที่ NESDB (Office of the National Economic and Social Development Board) แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภาคอีสานน้อยกว่ากรุงเทพฯ มาก เห็นได้ชัดว่าอำนาจทางเศรษฐกิจของภาคอีสานไม่เข้มแข็ง แต่ภาคอีสานก็มีมรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมที่ภาคอื่นๆ ไม่มี หนึ่งในนั้นคือภาพผะเหวด (scroll paintings)
ภาพผะเหวดใช้บ่อยในประเพณี “บุญผะเหวด” บ้างเรียกว่า “บุญพระเวส” บุญผะเหวดเป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสาน
ภาพผะเหวดในฐานะพุทธศิลป์ที่มีการวาดแบบผ้าพระบฏและแบบผ้าม้วนยาว ภาพผะเหวดและผ้าพระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา สมัยโบราณภาคอีสานมีภาพผะเหวดจำนวนมาก มีภาพผะเหวดที่วาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัด แต่ก็มีภาพผะเหวดวาดภาพบนผ้าทำแทนที่ฝาผนัง
ภาพจิตรกรรมในวัดของภาคอีสานสามารถแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ภาพผะเหวดและภาพจิตรกรรมฝาผนัง การแสดงศิลปกรรมทั้ง ๒ ประเภท ใช้สื่อที่มีความแตกต่างมาก แม้ภาพผะเหวดและภาพจิตรกรรมฝาผนังจะแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงการทำบุญถวายพระพุทธเจ้าในสังคมเก่า
เมื่อมีเทศกาลทางพุทธศาสนา เช่น บุญผะเหวด ชาวอีสานจะเตรียมภาพผะเหวดเรื่องราวพุทธชาดกที่มีมายาวนานเขียนบนผืนผ้าเพื่อแสดง และเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า เมื่อพิธีเสร็จสิ้นแล้วชาวบ้านนิยมแขวนนำภาพผะเหวดนั้นไปไว้ในวัด เพื่อเป็นที่เคารพบูชาต่อไป
หลังจากภาพผะเหวดถูกแทนที่โดยจิตรกรรมฝาผนัง ขณะนี้มีเพียงไม่กี่หมู่บ้านที่ยังคงแห่ผ้าภาพผะเหวด ภาพผะเหวดเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมเก่า แต่เพราะจากการเพิ่มขึ้นของภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพผะเหวดก็ค่อยๆ จางหายไป
ข้อมูลของภาพผะเหวดเพียงเล็กน้อยจากฐานข้อมูลของกระทรวงวัฒนธรรมไทยกล่าวว่า ภาพผะเหวดเคยเป็นที่นิยมของประชาชนในอีสาน ต่อมาเมื่อความเจริญของบ้านเมือง การไหลออกของประชากรในพื้นที่ และปัจจัยอื่นๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของภาพผะเหวด
ภาพผะเหวดยังสะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำของวันเก่าๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่า แต่เพราะว่ามีศิลปินผู้สร้างงานน้อยลง และการดูแลรักษาภาพผะเหวดไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้จำนวนของภาพผะเหวดลดลง
เมื่อผู้เขียนทำการวิจัยเชิงสํารวจวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เห็นภาพผะเหวด ณ วัดศรีภูมิ บ้านนาหอ ตำบลนาหอ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งมีคนจำนวนน้อยที่รู้จักและสนใจ วัดศรีภูมิเป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๙๕ ประตูโบสถ์ล็อคในวันธรรมดา แต่ถ้าเป็นวันหยุด หรือมีผู้สนใจขอเข้าชม จึงจะเปิดประตูให้เข้าไป ดังนั้น คนจำนวนมากจึงไม่มีโอกาสที่จะเห็นภาพผะเหวด
ภาพผะเหวดเป็นศิลปะพื้นบ้านที่เคยปรากฏกับสายตาคนจำนวนมากในเทศกาลทางพุทธศาสนา ที่แสดงให้เห็นถึงจิตสำนึกร่วม (Collective Consciousness) ของสังคมอีสานโบราณ
ผู้เขียนไม่เข้าใจว่าทำไมในเมื่อเทศกาลทางพุทธศาสนายังคงเป็นที่นิยม แต่จำนวนภาพผะเหวดกลับค่อยๆ ลดความนิยมลงในปัจจุบัน? ไม่เพียงแค่ศิลปินผู้สร้างภาพผะเหวดจะลดน้อย แต่คนไปวัดโบราณเพื่อบูชาภาพผะเหวดก็น้อยลงด้วย นี่คือการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประชากร และโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เกิดจากการพัฒนาของประเทศไทยสู่ความทันสมัย
นอกเหนือไปจากภาพผะเหวด ก็มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ณ วัดศรีภูมิ พิพิธภัณฑ์นี้มีโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูป สมุดไทย ฯลฯ แต่ทั้งพิพิธภัณฑ์และโบสถ์ของวัดศรีภูมิต่างๆ ก็ล็อคประตูในวันปกติ และการขาดการจัดการที่ดี โบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดจัดวางไว้ในตู้กระจก แต่ไม่มีการป้องกันที่ดี ภายในพิพิธภัณฑ์มีภัยคุกคามต่างๆ ต่อโบราณวัตถุ เช่น ฝุ่น แมลง และอุณหภูมิที่สูง
ในทางกลับกันมีพิพิธภัณฑ์อีกแห่ง ณ วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้าย” ที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดศรีภูมิ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้ายมีการจัดการที่ดีร่วมกับประเพณีผีตาโขนและการสนับสนุนของส่วนราชการท้องถิ่น จึงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ ในความจริงส่วนราชการท้องถิ่นควรช่วยเหลือ ดูแล และปกป้องโบราณวัตถุของวัดศรีภูมิ แต่กลับไม่ได้ ช่างน่าเศร้าจริงๆ
แม้ว่าความเจริญต่างๆ จะมาถึงภาคอีสานล่าช้าไปบ้าง แต่ภาคอีสานก็ยังคงมีศิลปะพื้นบ้านที่มีคุณค่าแบบชนบท ที่รอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อปกป้องโบราณวัตถุ เช่น ภาพผะเหวด ทั้งที่ภาพผะเหวดถูกแทนที่โดยจิตรกรรมฝาผนังปัจจุบัน แต่ถ้าสามารถปกป้องภาพผะเหวดก็จะเก็บความทรงจำของสมัยโบราณ
ภาพผะเหวดเป็นสิ่งล้ำค่ามรดกทางวัฒนธรรมเชิงนามธรรม ในภาคอีสาน ถ้าภาพผะเหวดมีความคิด ภาพผะเหวดก็คงหวังว่าถูกคุ้มครองดีๆ