ทำไม “อยุธยา-กรุงเทพฯ” ถึงได้ฉายาว่า “เวนิสตะวันออก”?

อาสา คำภา ชลารักษ์บพิตร อยุธยา-กรุงเทพฯ
อาสา คำภา

เคยสงสัยไหมทำไม “อยุธยา-กรุงเทพฯ” ถึงได้ฉายานามว่าเป็น “เวนิสตะวันออก” ?

เรื่องนี้ “อาสา คำภา” หนึ่งในผู้เขียน “ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา” หนังสือเล่มใหม่จากชุดกษัตราธิราชของสำนักพิมพ์มติชน ได้ให้คำตอบไว้ในคลิป Honor History: เล่าประวัติศาสตร์ราชวงศ์สยาม EP1. สายน้ำและการพัฒนา ผ่าน Youtube : Silpawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม ว่า…

“เหตุผลที่ชาวต่างชาติเรียกอยุธยาว่า ‘เวนิสตะวันออก’ เพราะเป็นพื้นที่เกาะเมืองที่มีระบบแม่น้ำ ระบบคูคลอง และระบบนิเวศที่สามารถทั้งเดรนน้ำ ระบายน้ำ โดยสิ่งเหล่านี้กลายเป็นส่งต่อมาถึงกรุงเทพฯ ซึ่งสังคมเมืองน้ำในอยุธยา มีปรากฎอยู่ในกฎหมายมณเฑียรบาล 

ตามเรื่องเล่าที่ว่า ‘ถ้าหากเรือพระประเทียบล่ม ชาวเรือทั้งหลายจะต้องว่ายหนีออกจากตัวเรือ’ กฎหมายที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเรื่องน้ำ เรือ หรือกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่ชัดเจน จะเห็นได้เฉพาะในพื้นที่รัฐในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่มีน้ำท่วม มีระบบคูคลองแม่น้ำ คุณจะไม่พบกฎหมายแบบนี้ที่อื่น เช่น สุโขทัย ล้านนา”

ใครที่อยากรู้เรื่องน้ำและวิธีจัดการน้ำของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมากกว่านี้ รับชมได้ในคลิปด้านล่าง และสามารถสั่งหนังสือ “ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา” ได้ที่นี่…

✏️เว็บไซต์ : https://bit.ly/3RVVGm2

✏️Shopee : https://bit.ly/4ctd8qi

✏️Line Shop : https://bit.ly/3VUUT6a

✏️Tiktok : https://bit.ly/4cEUrQm

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 กรฎาคม 2567