ภาพเขียนจีน กับนัยยะที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

บางส่วนของภาพเขียนบนผ้าไหม ผลงานของต่งเหยียน (ค.ศ. 932-962)

ในงานวิชาการ “วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ครั้งที่ 19 ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ จังหวัดนครนายก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปาฐกถาเรื่อง “ศิลปะจีน” โดยเนื้อหาช่วงหนึ่งเกี่ยวกับจิตรกรรม มีรับสั่งว่า

“ภาพเขียนมักจะสะท้อนความเป็นอยู่ในสังคมและสภาพธรรมชาติของจีน แต่ก่อนตอนที่ไม่เคยไปเมืองจีนเห็นเขาสูงๆ อย่างในภาพ ก็ไม่ทราบว่าเขาอะไรรูปร่างแบบนี้ แต่ถ้าเมืองจีนไปดูหวงซาน (Huangshan) ก็จะเข้าใจว่ามีภูเขาลักษณะแบบนี้จริงๆ

ศิลปินนิยมเขียนภาพภูเขาสูงตระหง่าน คนตัวเล็ก รวมภาพให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติว่า มนุษย์จะตัวเล็กนิดเดียว เมื่อเทียบกับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ชมภาพจีนแล้วจะได้แนวคิดทางปรัชญาเสมอ เช่น ดอกเหมย หรือดอกบ๊วย ที่บานได้แม้แต่ฤดูนาวที่มีหิมะตก คือ ความอดทน ความคงทน…” [จัดย่อหน้าใหม่ และสั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการ]


ข้อมูลจาก

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ศิลปะจีน ปาฐกถา ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, พิมพ์ครั้งที่ 1, พฤศจิกายน  2550


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 สิงหาคม 2564