ศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ณ วัดหงส์รัตนาราม “ศาลพระเจ้าตากแห่งแรกในไทย”

ศาลพระเจ้าตาก
ศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ณ วัดหงส์รัตนาราม

ศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ณ วัดหงส์รัตนาราม ถ้าตามตำนานคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ศาลนี้คือศาลพระเจ้าตากแห่งแรกในประเทศไทย

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาพ : มติชนออนไลน์)

ศาลแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพสักการะ สะท้อนจากตำนานที่กล่าวว่า

“หลังจากมีการประหารชีวิตพระเจ้าตากบริเวณป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็มีหลวงจีนเดินนำขบวนพระบรมศพผ่านวัดหงส์ โดยมีอีกคนหนึ่งถือพานรองพระโลหิต ขณะเดียวกันเขาหันกลับไปมองยังโบสถ์วัดหงส์ ก็เห็นพระเจ้าตากยืนกอดอก ไม่มีหัว ทำให้ตกใจจนทำพานรองพระโลหิตหล่นจากมือ จากนั้นจึงมีการนำดินที่มีพระโลหิตพระเจ้าตากมาปั้นรูปพระองค์แล้วตั้งศาลพระเจ้าตาก ณ ตำแหน่งดังกล่าว โดยสร้างเป็นศาลไม้”

Advertisement

ตำแหน่งนั้นคือบริเวณต้นโพธิ์ ด้านข้างศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชในปัจจุบัน

ครั้นเมื่อเวลาผ่าน ศาลไม้ก็ชำรุดทรุดโทรม ทาง วัดหงส์รัตนาราม กองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร และคณะศรัทธา ได้ช่วยกันสร้างศาลพระเจ้าตากขึ้นมาใหม่ อยู่บริเวณเดียวกันกับศาลเดิม เป็นอาคารปูนทรงไทย หลังคาจั่วลดหลั่นสองชั้น ด้านข้างทั้งสี่ด้านเปิดโล่ง ภายในศาลประดิษฐานพระบรมรูปหล่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขนาดเท่าองค์จริง มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์เปิดศาลเมื่อ พ.ศ. 2527

มีข้อมูลจากพระคุณเจ้าหลวงพ่อที่ดูแลศาลว่า “ผลไม้ 9 อย่าง หรือ 5 อย่างแล้วแต่จะจัดมาถวายพระองค์นั้น มีห้ามถวาย ละมุด และพุทรา”

หลวงพ่อยังเล่าเรื่องการได้สิ่งที่ต้องการ แต่ลืมมาถวายแก้บนพระองค์ท่านด้วยว่า

“มีนายทหารบกมาขอติดยศสองดาว เมื่อได้แล้วลืมมาแก้บน ท่านเลยให้ป่วยต้องนอนบนเตียงนานเกือบ 6 เดือน ท่านไปบอกเมีย ว่า ผัวมึงไม่เป็นไรมาก นิมิตรให้เมียรู้ว่าขอดาวให้ดาวแต่ไม่มาบอกท่าน เมียก็เลยพาผัวมากราบท่าน ขามาเมียขับรถให้ผัวนั่ง ผัวยังใช้ไม้ค้ำช่วยเดิน ก็มีธูป 9 ดอก ประทัด 500 นัด ไข่ 300 ฟอง ผลไม้ 9 อย่าง ยังไม่ได้เอาเครื่องไหว้ลงเลย ขากลับผัวขับรถกลับแทนเมียได้เลย”!!!

พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วัดปากพิงตะวันตก อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 8 ตุลาคม 2563