ผู้เขียน | คนไกล วงนอก |
---|---|
เผยแพร่ |
ในแวดวงวิชาการ มีงานเขียนจำนวนไม่น้อยที่นำเสนอบทความเกี่ยวกับอิทธิพลของภาษาจีนในภาษาไทย ซึ่งภาษาที่ว่าจำนวนไม่น้อยมาจาก “ภาษาแต้จิ๋ว” นั่นเป็นเพราะคนแต้จิ๋วเป็นจีนโพ้นทะเลที่มีมากที่สุดในไทย จึงเป็นธรรมดาที่คนไทยส่วนใหญ่ได้ยิน, ได้ฟัง และคุ้นกับภาษาแต้จิ๋วมากกว่าภาษาอื่น
แต่เดี๋ยวก่อน ไม่ใช่แต่คนไทย “ยืม” ภาษาแต้จิ๋ว คนแต้จิ๋วในไทยก็ “ยืม” ภาษาไทยไปใช้เหมือนกัน
อีกด้านหนึ่งของเหรียญ ลูกหลานจีนแต้จิ๋วในไทยได้รับอิทธิพลจากภาษาไทย และเกิดยืมใช้ในภาษาแต้จิ๋วเช่นกัน ก่อนจะไปดูคำยืมภาษาไทยในภาษาจีนแต้จิ๋ว อยากชวนดูคำยืมภาษาจีนแต้จิ๋วในภาษาไทยกันก่อน
จะเห็นได้ว่าคำยืมจากภาษาแต้จิ๋วที่เอามาใช้ในภาษาไทย ไม่ทิ้งห่างเค้าเดิมมากนัก
คราวนี้มาดู คำยืมจากภาษาไทยในภาษาแต้จิ๋ว (ที่ในใช้ไทย) กันดูบ้างนี้
คำยืมจากภาษาไทยที่รวบรวมบางส่วนมานำเสนอนี้ เป็นคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่ใช้กันในชุมชนคนแต้จิ๋วและลูกหลานเมืองไทยมานานมาก ถามว่านานแค่ไหนก็ต้องตอบว่า นานมากพอที่จะทำให้คนแต้จิ๋วรุ่นลูก รุ่นหลาน ฯลฯ เข้าใจผิดว่ามันเป็นภาษาแต้จิ๋ว
หลายคนต้องยัง “หน้าแตก” ชนิดหมอไม่รับเย็บมาแล้ว เพราะใช้คำยืมภาษาไทยเหล่านี้ ในบันทึกหรือคำบอกเล่าการกลับบ้านเกิดปู่ย่าตายายที่เมืองแต้จิ๋ว ประเทศจีน ของหลายครอบครัว เพราะพกความมั่นใจเต็มเปี่ยมว่า ถึงจะมาอยู่มาเกิดมาโตที่เมืองไทย แต่ภาษาแต้จิ๋วเป๊ะเวอร์นั้น ความจริงจอดมากหลายราย
คำที่ทำให้ขายหน้าสูงสุดก็คือ “ตั๊กลัก-ตลาด”
ใครอยากเห็นวิถีชีวิตผู้คน ก็ต้องไปเริ่มที่ตลาด บอกญาติ ๆ ว่า “ตั๊กลัก” ญาติก็งงไม่เข้าใจเราจะไปไหน? เราก็งงทำไมพูดภาษาแต้จิ๋วแล้วทำไมญาติไม่เข้าใจ?
เขียนเป็นตัวหนังสือให้ดูเลย “达叻” อ่านออกมาได้เหมือนเรา แต่ไม่เข้าใจเหมือนเรา (达 – บรรลุ, มาถึง 叻-แรง) ยุ่งหนักกว่าเก่า เพราะคนแต้จิ๋วในไทยแค่ใช้ตัวอักษรจีนถอดเสียงคำว่า “ตลาด” ของไทย ตามภาษาแต้จิ๋วที่ตนออกเสียงว่า “ตั๊กลัก” ส่วนในภาษาแต้จิ๋ว “ฉี-ตลาด”
ตัวอย่างคำยืมจากภาษาไทยอีกคำ คำว่า “เถี่ยมเนี่ยม-ธรรมเนียม” ที่ได้ยินประจำว่า “บ่อเถี่ยมเนี่ยม หรือ บ่อเถี่ยม บ่อเนี่ยม” ถ้าพูดกับคนไทยก็คงมึนไปอีกเหมือนกัน ไม่รู้ว่ากำลังพูดถึงบ่ออะไร กับบ่ออะไร จริง ๆ “บ่อ” เป็นภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า ไม่ (น่าแปลกดีที่ความหมายตรงกันกับภาษาไทยและลาว) ส่วน “บ่อเถี่ยมเนี่ยม หรือ บ่อเถี่ยม บ่อเนี่ยม” นั้นหมายความว่า ไม่มีมารยาท, ไม่รู้กาลเทศะ, ไม่รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่
เป็นอันว่า คำยืมจากภาษาไทยในภาษาแต้จิ๋ว (ในไทย) เป็นภาษาเฉพาะที่คนแต้จิ๋วใช้ในไทยเท่านั้น เพราะพูดให้คนแต้จิ๋วที่ประเทศอื่นฟังก็ไม่เข้าใจ พูดกับคนไทยก็ไม่รู้เรื่อง ยกเว้นอยู่คำหนึ่งที่คนไทยฟังรู้ คำว่า “หลกถ้ง/ลกท่ง” ที่แปลว่า ดอกทอง, โสเภณี ผัวเมียเวลาทะเลาะใช้ด่าทอกัน หรือสบถกันติดปาก
อ่านเพิ่มเติม :
- ทำไมคนจีน [แต้จิ๋ว] ชอบค้าขาย มากกว่าทำราชการ
- ความแตกต่างระหว่างจีนกวางตุ้ง-ไหหลำ-แต้จิ๋ว-แคะ-ฮกเกี้ยน
ข้อมูลจาก :
เหล่าตั้ง. ลูกหลานคนแต้จิ๋ว, โรงพิมพ์ นิวเซนจูรี่ พริ้นติ้ง แอนด์ แพจเกจจิ้ง, ธันวาคม 2549
แต้จิ๋ว: จากมาตุภูมิสู่โพ้นทะเล. เอกสารการประชุมวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนรราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 29 มิถุนาย 2558
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์เมื่อ 24 มกราคม 2563