คำ “เถ้าแก่-เจ้าสัว” ในไทยมีที่มาอย่างไร

เถ้าแก่ และ เจ้าสัว คณะกรรมการ มูลนิธิ ปอเต็กตึ้ง คำว่า เถ้าแก่-เจ้าสัว
เถ้าแก่ และเจ้าสัวที่เป็นคณะกรรมการมูลนิธิปอเต็กตึ้งสมัยที่ 1 อุเทน เตชะไพบูลย์ (แถวนั่งจากซ้ายสุด)

คำว่า เถ้าแก่-เจ้าสัว ในไทยมีที่มาอย่างไร

ทั้ง “เถ้าแก่” และ “เจ้าสัว เป็นคำที่คนไทยคุ้นเคยกันมานาน ทั้ง 2 นี้ เป็น คำยืมจากภาษาจีน มาใช้ในภาษาไทยโดยออกเสียงตามสำเนียงภาษาแต้จิ๋ว

คำว่า “เถ้าแก่” สำเนียงแต้จิ๋วว่า “เถ่าแก่” (头家 หัว+บ้าน) มี 3 ความหมายคือ 1. เจ้าของกิจการที่มีฐานะ ภรรยาเถ้าแก่จะเรียก “เถ้าแก่เนี้ย” 2. ผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในพิธีแต่งงาน 3. ผู้นำครอบครัว

Advertisement

ถ้าเป็นภาษาปัจจุบัน “เถ้าแก่” ก็น่าจะเทียบได้กับบรรดานายห้างทั้งหลาย

เถ้าแก่ และเจ้าสัวที่่เป็นคณะกรรมการมูลนิธิปอเต็กตึ้งสมัยที่ 1 อุเทน เตชะไพบูลย์ (แถวนั่งจากซ้ายสุด)

ส่วนคำว่าเจ้าสัว สำเนียงแต้จิ๋วว่า “จ่อซัว” (座山 ที่นั่ง+ภูเขา) เป็นการแปลเปรียบเทียบว่า นั่งอยู่บนกองเงินกองทอง จึงหมายถึง ผู้ร่ำรวย มักใช้กับเศรษฐี ที่มีเชื้อสายจีนเป็นหลัก เช่น เจ้าสัวชิน โสภณพนิช-ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ, เจ้าสัวเทียม โชควัฒนา-ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์, เจ้าสัวอุเทน เตชะไพบูลย์-ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร

ที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นเจ้าสัวผู้ชายทั้งสิ้น แต่จริงๆ เจ้าสัวใช้กับผู้หญิงก็มี เช่น ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ เป็นต้น นี่คือเจ้าสัวรุ่นแรกๆ ของไทย ต่อมาก็มีเจ้าสัวอีกมากมาย

เมื่อ “จ่อซัว” มาใช้ในภาษาไทยก็มีเพี้ยนไปบ้างเป็น เจ๊สัว, เจ้าสัว เช่น เจ๊สัวเนียม หรือ พระศรีทรงยศ บุคคล สมัยรัชกาลที่ 2 พัฒนาที่ดิน ตรอกเจ๊สัวเนียม ตลาดที่พ่อค้าจีนให้ความนิยมสูงสุดของกรุงเทพฯ ตลอดสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา จนคนทั่วไปขนานนามตลาดสองฟากทางของตรอกนี้ว่า “ตลาดเก่า”

บ.บุญรอด ขาย เบียร์ ในร้าน
ร้านขายเหล้าของคนจีน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหล้าโรง (ภาพจาก “สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ”)

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 30 ตุลาคม 2561