ผู้เขียน | สุจิตต์ วงษ์เทศ |
---|---|
เผยแพร่ |
“แซบอีหลี” ร้านอาหารอีสานแห่งแรกในกรุงเทพฯ
แซบอีหลี เป็นชื่อร้านอาหารอีสานแห่งแรกในกรุงเทพฯ ราว 81 ปีที่แล้ว เปิดนานราว 31 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2487 ถึง พ.ศ. 2518
ตั้งอยู่ห้องแถวเรือนไม้คูหาเดียว เชิงสะพานขาว[ฝั่งเดียวกับโรงพยาบาลมิชชั่น ตรงข้ามเยื้องบ้านมนังคศิลา ปัจจุบันรื้อถอนหมดไม่เหลือซาก]
ขายข้าวเหนียว, ลาบ, ส้มตำ ฯลฯ (แถมฟรีแมลงวัน ไม่อั้น)
เจ้าของร้าน นายชม วงศ์ภา (อดีตข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข) เป็นชาวพวน บ้านหัวซา ตำบลหัวหว้า อำเภอศรีมโหสถ (สมัยนั้นชื่อ อำเภอศรีมหาโพธิ) จังหวัดปราจีนบุรี และนายไพบูลย์ นพคุณ (อดีตข้าราชการกรมรถไฟ) ลูกเขย เป็นชาวพวน (จากบ้านเดียวกัน)

แซ่บอีหลี เป็นคำลาว หมายถึง อร่อยจริงๆ อร่อยมากๆ ฯลฯ [แซ่บ แปลว่า อร่อย อีหลี แปลว่า จริงๆ บางทีใช้ดีหลี]
ลูกค้า มีแต่หมู่เฮาชาวอีสาน ที่ทำงานรับจ้างในกรุงเทพฯ ลูกค้ากลุ่มสำคัญ ได้แก่ คนขี่สามล้อรับจ้าง, คนรับใช้ในบ้าน (คุณนายเชื้อสายลาว ได้ผัวเจ๊กเศรษฐีมีทรัพย์ ใช้ไปซื้อเพราะอยากกิน แต่ไม่กล้าไปเอง กลัวคนนินทาว่าเป็นลาว ทั้งๆ เป็นลาวปนเจ๊ก)

อ่านเพิ่มเติม :
- อาหารอีสานระดับตำนาน “ร้านไก่ย่างผ่องแสง” ข้างสนามมวยราชดำเนิน
- ปลาร้าบอง อาหารอีสานยอดนิยม กับความหมายที่แปรเปลี่ยน?
หมายเหตุ : คัดบางส่วนจากเอกสารรายการทอดน่องท่องเที่ยว ตอน อีสาน ชาวสยาม ขุมพลัง SOFT POWER ออนแอร์ วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2568 (คลิกชมรายการ)
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 14 เมษายน 2568