18 สิงหาคม 2411 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณล่วงหน้าได้แม่นยำ

รัชกาลที่ 4 หว้ากอ สุริยุปราคาเต็มดวง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับ ณ เกยหน้าพลับพลาที่ประทับ โปรดให้ฉายพระรูปกับคณะแขกเมือง ณ ค่ายหลวงบ้านหว้ากอ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณการเกิด “สุริยุปราคาเต็มดวง” ได้ล่วงหน้าถึง 2 ปี โดยทรงเชิญ เซอร์ แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ มาเป็นประจักษ์พยาน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 บริเวณ หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์

เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงพลังอำนาจของวิทยาศาสตร์ให้กับคนรุ่นนั้นได้เห็น อาทิ โหรราชสำนักซึ่งเวลานั้นไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นจริง ทว่าการพยายามพิสูจน์ครั้งนี้ของพระองค์นำมาสู่จุดจบในพระชนมชีพ ด้วยทรงเป็นพระโรคไข้ป่าที่ติดมาจาก “หว้ากอ”

Advertisement
หนังสือ Outlines of Astronomy (เค้าโครงว่าด้วยเรื่องดาราศาสตร์) โดย Sir John F.W. Herschel, Bart ประทับตราพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามภิไธยของรัชกาลที่ 4 พร้อมด้วยตำราอื่นๆ ซึ่งมีหน้าปกเป็นตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4
หนังสือ Outlines of Astronomy (เค้าโครงว่าด้วยเรื่องดาราศาสตร์) โดย Sir John F.W. Herschel, Bart ประทับตราพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามภิไธยของรัชกาลที่ 4 พร้อมด้วยตำราอื่นๆ ซึ่งมีหน้าปกเป็นตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หลังเสด็จทอดพระเนตร “สุริยุปราคาเต็มดวง”

การเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนั้น ยังทำให้ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ซึ่งตามเสด็จไปด้วย ประชวรหนักด้วยพระโรคเดียวกัน จนเกือบสิ้นพระชนม์ไปพร้อมกับทูลกระหม่อมพ่อ ถึงขนาดต้องปิดข่าวไม่ให้รัชกาลที่ 4 ทรงรับรู้อาการประชวรของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เพื่อไม่ให้พระอาการทรุดหนักลงไปอีก

หลังเสด็จกลับจากหว้ากอเป็นเวลา 1 เดือนกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จสวรรคตอย่างมีสติและรู้พระองค์จนถึงนาทีสุดท้าย ทรงพลิกพระองค์หันพระพักตร์สู่เบื้องตะวันตก แล้วจึงรับสั่งว่า “จะตายเดี๋ยวนี้แล้ว” แล้วจึงเสด็จสวรรคตในท่าเดียวกับพระไสยาสน์วัดบวรนิเวศวิหาร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจาก “พระจอมเกล้า “King Mongkut” พระเจ้ากรุงสยาม” เขียนโดย ปรามินทร์ เครือทอง (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ)


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 สิงหาคม 2561