ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
6 เมษายน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และวันระลึกมหาจักรี บรมราชวงศ์ หรือ “วันจักรี”
“ณ วันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 ลุศักราช 1144 ปีขาน จัตวาศก เพลาสองโมงเศษศุขสวัสดิฤกษ [ตรงกับวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325] เสด็จเข้าพระนครปราบดาภิเศก อดิเรกเฉกชมสมบัติ จักรพรรดิ์ตราพร้อมถวาย 12 พระกำนัล 12 พระคลัง แล้วมีพระราชโองการรับสั่ง ให้ตั้งกรุงเทพมหานคร ยังฝั่งบุรพทิศ พระสุริยทรงกรด 7 วัน
เมื่อตั้งทวารวดี อุดมโชคเข้าเหยียบกรุงธนบุรี แรกเสด็จยั้งประทับ ณวัดควงไม้พระมหาโพธิ์บนบันลังก์ ประจญพระยามารด้วยพระบารมี 30 ทัศ เปนประถมกษัตริย์ สมเด็จเอกาทศรถพระเจ้าปราสาททอง เสด็จข้ามฟากฝั่งมหรณพเฉลิมภพกรุงทวารวดี พระโองการให้ถาปนาที่ท้องสนามใน เปนพระอุโบสถหอไตรเสร็จ ก่อพระเจดียถานประจุพระบรมธาตุพร้อมเสร็จ ให้บุรณวัดโพ ณปลายปีองค์เชียงสือมาสู่โพธิสมภาร”
(นรินทรเทวี. กรมหลวง. จดหมายบันทึกความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพ) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129-1182 . พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ต้นฉบับ, 2546)
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ ภายหลังจากเสด็จกลับจากราชการทัพที่เมืองเขมร เพื่อมาปราบปรามการจลาจลที่กรุงธนบุรี และทรงรับอัญเชิญจากข้าราชการและราษฎรขึ้นทรงราชย์ในปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1144
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2461 และโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเป็น “วันที่ระลึกมหาจักรี” หรือ วันจักรี นับแต่บัดนั้นมา
อ่านเพิ่มเติม :
- กลียุค ปลายกรุงธนบุรี ในโคลงสรรเสริญพระเกียรติรัชกาลที่ 1
- ความนัยของการสร้างกรุงเทพฯ ตามคติพระอินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 6 เมษายน 2560