หลู่ซิ่นวิพากษ์สังคมจีน ไม่กล้าเผชิญหน้า วรรณคดีจึงมีแต่ปกปิด-หลอกลวง

หลู่ซิ่น หรือชื่อจริงว่า โจวซู่เหริน (25 ก.ย. 2424-19 ต.ค. 2479)

หลู่ซิ่น นามปากกาของโจวซู่เหริน (25 ก.ย. 2424-19 ต.ค. 2479) นักคิด นักเขียน และกวี ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ปรมาจารย์ของวรรณคดีจีนใหม่” งานส่วนใหญ่ของหลู่ซิ่นเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สังคม, สะท้อนชีวิตอดอยากของพลเมืองจีน และคัดค้านโจมตีขุนศึกตลอดจนเผด็จการทรราช

หลู่ซิ่น เคยวิพากษ์สังคมเก่าของจีนที่ส่งผลต่อวรรณคดี ไว้ว่า

“เรา ชาวจีน, เนื่องจากเราไม่กล้าเผชิญหน้ากับชีวิตอย่างตรงตัว หันไปหาการปกปิดและหลอกลวง ดังนั้น, วรรณคดีที่มีแต่การปกปิดและหลอกลวงของเราจึงอุบัติขึ้น และโดยทางวรรณคดีดังกล่าว เราก็ยิ่งจมลึก ลงไปทุกที่ในปลักตมแห่งการปกปิดและหลอกลวง จนถึงระดับที่ว่า เราไม่อาจมองเห็นตัวตนที่แท้ของเราเอง

โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน จึงถึงเวลาแล้วที่นักเขียนของเราจะถอดหน้ากากของตนออกเสียมองดูชีวิตอย่างซึ่งหน้า ด้วยความสัตย์ซื่อ, ลึกซึ้งและกล้าหาญ และก็เขียนถึงชีวิตที่มีแต่เลือดเนื้อ เราต้องการสมรภูมิที่ใหม่โดยสิ้นเชิงสำหรับวรรณคดี และนักสู้ผู้เหี้ยมหาญด้วย…”[1]


เชิงอรรถ

[1] Feng Hsueh-feng, Publisher’s Note, Selected Stories of Lu Hsun, (Peking: Foreign Languages Press,1954) (ไม่มีเลขหน้า)

บรรณานุกรม

ทวีปวร. กวีนิพนธ์หลู่ซิ่น, สำนักพิมพสุขภาพใจ, มิถุนายน 2543


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 มิถุนายน  2564