นางสาวไทยคนแรก หญิงสาวที่สวยสุดในประเทศเมื่อพ.ศ.2477

ในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประกวด “นางสาวสยาม“ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ บริเวณ อุทยานสราญรมย์ เพื่อเฟ้นหาหญิงสาวที่สวยที่สุดในประเทศนี้ และเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองรัฐธรรมนูญ (ฉบับ พ.ศ. 2475 ) เกือบทุกจังหวัดส่งสาวงามเข้ามาประชันโฉมในพระนคร

สุภาพสตรีทั้ง 50 คนเริ่มเดินอวดความงามตั้งแต่คืนวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2477 และในคืนวันที่ 12 ธันวาคม นางสาว กันยา เทียนสว่าง วัย 21 ปี ครูโรงเรียนประชาบาลทารกานุเคราะห์ เป็นสาวงามที่ชนะใจกรรมการ ได้ครองตำแหน่ง นางสาวสยาม เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ ( ในขณะนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนเป็น ประเทศไทย )

ชื่อสกุลเดิมของเธอ คือ เจียเป็งเซ็ง มีชื่อเล่นว่า ลูซิล

เธอเข้าประกวดในนามของจังหวัดพระนคร ของรางวัลที่ได้รับ คือ มงกุฎโครงทำด้วยเงินประดับเพชร หุ้มกำมะหยี่ปักด้วยดิ้นเงิน ล็อกเก็ตห้อยคอทองคำ ขันเงินสลักชื่อ นางสาวสยาม 77 และเงินสด 1 พันบาท

เธอเป็นสาวที่มีใบหน้าคมค่อนไปทางฝรั่ง จมูกโด่ง ผิวสองสีค่อนไปทางขาว สูงสมส่วน หลังจากพ้นตำแหน่งเธอเข้าทำงานที่หอสมุดแห่งชาติ และต่อมาได้สมรสกับ ดร. สุจิต หิรัญพฤกษ์ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ มีบุตรธิดารวม 5 คน

เธอเสียชีวิตเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 จากมะเร็งปากมดลูก ด้วยวัยเพียง 46 ปี


รวบรวมโดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก