สภาพบ้านเรือนในภาคอีสาน ยุค ๒๔๗๐

คำบรรยายเดิม ตลาดที่สกลนคร พระธาตุพนม วิธีเข็นรถยนต์ขึ้นฝั่งแม่นํ้าโขง และแพข้ามรถยนต์

อธิบายเพิ่มเติม

การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมทางรถไฟของประเทศไทยได้นำความเจริญให้เกิดขึ้นแก่สองข้างทางและสร้างชุมชนใหม่ที่ทางรถไฟตัดผ่าน ทำให้การเดินทางติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว คนไทยจึงเริ่มรู้จักการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสำรวจบ้านเมืองของตน โดยเฉพาะคนที่มีฐานะ มีอันจะกินพอที่จะหาซื้อกล้องถ่ายภาพได้ เมื่อเดินทางเพื่อการค้าหรือเพื่อการท่องเที่ยว จึงชอบที่จะบันทึกภาพขณะเดินทาง

ภาพภูมิทัศน์ของภาคอีสานชุดนี้ เป็นภาพที่บันทึกในยุค พ.. ๒๔๗๕๘๐ แสดงให้เห็นภาพการเดินทางในยุคที่ถนนหนทางยังไม่ทั่วถึงและสะดวกสบายเหมือนในยุคปัจจุบัน ด้วยเส้นทางรถไฟสายอีสานตอนบนที่เดินทางถึงจังหวัดขอนแก่น เมื่อ พ.. ๒๔๗๖ และการคมนาคมในแม่นํ้าโขงที่ยังคงเดินทางได้ด้วยเรือกลไฟ จึงมีการนำเอารถยนต์มาใช้ในพื้นที่อยู่บ้างด้วยการลำเลียงผ่านมาทางรถไฟและทางเรือ ทำให้ภาพบรรยากาศของหัวเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานครอย่างเมืองนครพนมและเมืองสกลนครได้ปรากฏตัวขึ้น

ภาพพระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร คือพระธาตุองค์เก่าก่อนหน้าการบูรณะสร้างเสริมให้สูงและเพรียวขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อ พ.. ๒๔๘๓ ซึ่งต่อมาได้พังทลายลงในวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.. ๒๕๑๘

screen-shot-2016-11-18-at-9-58-25-amภาพตลาดในเมืองสกลนคร คือย่านชุมชนเก่าภายในตัวเมืองที่อยู่โดยรอบใกล้กับวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

อธิบายโดย ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์

๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙