พิธีเปิดสะพานหงสกุล

อธิบายเพิ่มเติม

สะพานหงสกุลตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๐ สายยะลาเบตง กิโลเมตรที่ ๓๕ สร้างขึ้นเพื่อใช้สัญจรข้ามแม่น้ำปัตตานีที่บ้านยีลาปัน ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

screen-shot-2016-10-28-at-11-02-05-amตัวโครงสร้างสะพานทำด้วยเหล็กทั้งหมดมีความกว้าง เมตร ยาวประมาณ ๒๓๙ เมตร สร้างขึ้นเมื่อ ..๒๔๙๔ โดยกรมทางหลวงแผ่นดินในสมัยรัฐบาล จอมพล พิบูลสงคราม ได้มอบหมายให้ นายถวัลย์ หงสกุล นายช่างแขวงการทางยะลาในสมัยนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ จนเมื่อสะพานก่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้ตั้งชื่อว่าสะพานหงสกุลเพื่อเป็นเกียรติประวัติ อันเป็นนโยบายรัฐนิยมในขณะนั้นที่ประสงค์จะให้ข้าราชการเกิดความภาคภูมิใจที่จะปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

screen-shot-2016-10-28-at-11-01-39-amทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๐ อันเป็นที่ตั้งของสะพานหงสกุล (หรือสะพานยีลาปัน) นี้ เป็นเส้นทางสายสำคัญที่ใช้เดินทางติดต่อระหว่างเมืองปัตตานีของไทยกับรัฐเกดะห์ของมาเลเซียมาตั้งแต่ครั้งโบราณ การสร้างสะพานหงสกุลเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำปัตตานีในครั้งนั้น จึงถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้การสัญจรเกิดความสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก และรัฐบาลในขณะนั้นได้เห็นความสำคัญของสะพานหงสกุล จึงได้กระทำพิธีเปิดสะพานขึ้นเมื่อ .. ๒๔๙๔ จนกระทั่ง .. ๒๕๓๘ แขวงการทางยะลาเห็นว่าสะพานหงสกุลมีความคับแคบและใช้งานมาเป็นเวลายาวนาน จึงได้สร้างสะพานคอนกรีตที่มีความกว้างขวางกว่าขึ้นมาทดแทนดังปรากฏในปัจจุบัน

ประวัติ นายถวัลย์ หงสกุล เกิดเมื่อวันที่ ตุลาคม .๒๔๔๖ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนโตของ นายแถมและนางอรุณ หงสกุล จบชั้นมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวงได้ จึงได้ไปศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ The University of Edinburgh ประเทศอังกฤษ ต่อมาได้รับราชการในกระทรวงคมนาคม จนดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองบำรุง กรมทางหลวง ระหว่างวันที่ กันยายน .. ๒๔๙๖ ถึงวันที่ ๒๔ มีนาคม .. ๒๕๐๑

ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรม และได้รับพระราชทานเพลิงศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม .. ๒๕๐๓

อธิบายโดย ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์

๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๙-