ภาพงานพระศพ พระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ในหนังสือ “ฟิล์มกระจก จดหมายเหตุ : หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์”

กระบวนอัญเชิญพระโกศทองเล็กทรงพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี เดินผ่านหน้าตึกสภาคารราชประยูร พระราชวังบางปะอิน (ภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ภาพเก่าที่ปรากฏในขณะนี้มาจากหนังสือ “ฟิล์มกระจก จดหมายเหตุ : หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์” จัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และได้งบประมาณสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

พระปรางค์จำลอง และเครื่องกงเต๊ก ไม่ทราบงาน(ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พระปรางค์จำลอง และเครื่องกงเต๊ก ไม่ทราบงาน (ภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

โดยนำภาพประวัติศาสตร์ จากฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณ กล่องที่ 25- 49 และ ชุดส่วนพระองค์สมเด็จฯ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กล่องที่ 40 ซึ่งได้ดำเนินการสแกนเป็นไฟล์ดิจิทัล จำนวน 1,025 ภาพ  มาจัดพิมพ์สมุดภาพดังกล่าว พร้อมจัดคำอธิบาย โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิช่วยอ่านภาพและสอบค้นข้อมูลในการจัดทำคำอธิบายภาพที่ถูกต้อง

พระโกศจันทน์ สำหรับทรงพระศพพระะจ้าลุกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พระโกศจันทน์ สำหรับทรงพระศพพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี (ภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ในการพิมพ์ครั้งนี้ ทางคณะผู้จัดทำ ได้คัดสรรภาพสำคัญ จำนวน 160 ภาพ นำมาขยายเป็นภาพใหญ่ เพื่อให้เห็นรายละเอียดของภาพ (ดังภาพตัวอย่างที่นำมาให้ดู) อย่างชัดเจนและสวยงาม โดย แบ่งออกเป็น 9 หมวดดังนี้

  1. พระบรมฉายาลักษณ์ส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  2. เสด็จประพาสหัวเมือง
  3. พระราชพิธีและพิธี
  4. พระบรมมหาราชวัง
  5. พระราชวังสวนดุสิต
  6. วัด โบราณสาถน
  7. บุคคล
  8. คนไทยกับสายน้ำ
  9. ทั่วไป

นอกจากนี้ยังได้นำภาพประวัติศาสตร์ทั้งหมด มาพิมพ์เป็นภาพเล็ก เรียงตามลำดับหมายเลขของกล่องเก็บฟิล์มกระจก โดยคงรูปแบบการจัดเก็บแบบเดิม และให้เลขรหัสภาพกำกับไว้ทุกภาพ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะมาค้นคว้าเพิ่มเติม ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

หน้าปกหนังสือฟิล์มกระจก จดหมายเหตุ : หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
หน้าปกหนังสือฟิล์มกระจก จดหมายเหตุ : หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์

หนังสือล้ำค่าขนาดนี้ ควรซื้อเก็บไว้ ในราคา 800 บาท พิมพ์บนกระดาษอาร์ตอย่างดี หนา 354 หน้า

หาซื้อได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้างท่าวาสุกรี