วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน “อย่าเหมาเอาเองว่าโน่น นี่ นั่น ล้วนของไทย”

วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน สั่งซื้อได้ที่ https://www.facebook.com/ituibooks/ หรือ 08 8919 4516

วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน หนังสือเล่มใหม่ ของสุจิตต์ วงษ์เทศ

จากหลักฐานทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา ปรากฎว่า ไทย ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางภูมิภาคอาเซียน ปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมร่วมกันในอุษาคเนย์ ซึ่งสุจิตต์ เขียนอธิบายไว้หมดในเล่มนี้

ดังนั้น ประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยจึงแยกจากอาเซียนไม่ได้ เป็นสิ่งที่สุจิตต์ ย้ำตลอดมา

ที่สำคัญเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ จะไมได้แยกว่าอันนี้ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือ ยุคประวัติศาสตร์

แต่ ใช้วิธีการแบ่งเป็น ยุคก่อนอินเดีย และ หลังอินเดีย (เข้าใจง่ายกว่าการแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือยุคประวัติศาสตร์) ซึ่งเขียนอธิบายว่า

ก่อนอินเดีย

ก่อนอินเดีย หมายถึง ก่อนรับอารยธรรมจากอินเดีย ตั้งแต่หลายแสนหลายหมื่นหลายพันปีมาแล้ว จนถึงราว พ.ศ.1000 คนพื้นเมืองดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ในอาเซียน มีวัฒนธรรมร่วมอยู่แล้ว ก่อนรับอารยธรรมอินเดีย

หลังอินเดีย

หลังอินเดีย หมายถึง หลังรับอารยธรรมจากอินเดีย ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.1000 คนพื้นเมืองรับวัฒนธรรมจากอินเดียมาประสมประสานวัฒนธรรมดั้งเดิม แล้วเกิดวัฒนธรรมใหม่ ที่มีคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันมี 3 ระยะ คือ (1) รับศาสนาพราหมณ์-พุทธ (2) รับศาสนาอิสลามและอื่นๆ (3) รับอาณานิคม

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์นาตาแฮก เล่มละ 208 บาท

สั่งซื้อได้ที่ https://www.facebook.com/ituibooks/ หรือ 08 8919 4516