“อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง” ผลงานล่าสุด “ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร” เร็วๆ นี้

“อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ
ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง”

“อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง” หนังสือที่ผู้เขียนได้พัฒนาปรับปรุงมาจากงานวิจัยเรื่อง “หลักฐานศิลปกรรมอยุธยาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิเคราะห์ในฐานะหัวเมือง ‘ปากใต้’ สมัยอยุธยา”

งานวิจัยซึ่งได้รับทุนวิจัยและสร้างสรรค์จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยเกิดจากความตั้งใจที่จะบันทึกร่องรอยเก่าแก่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในรูปของศิลปกรรมสมัยอยุธยาที่นับวันจะถูกคุกคามจากความเจริญอย่างรวดเร็วในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมานี้ อาจทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของกรุงเทพฯ และเมืองโดยรอบสูญหายไปในเวลาอันสั้น…

เนื้อหาหลักในเล่มประกอบด้วย

  1. แม่น้ำลำคลองกับชุมชนที่ “ปากใต้” พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในสมัยอยุธยา

2. วัดปรางค์หลวง สถาปัตยกรรมอยุธยาที่เก่าแก่ที่สุด ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

3. พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาที่พบในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หลักฐานศิลปกรรมสำคัญของชุมชนยุคแรก

4. ใบเสมา : ร่องรอยการสถาปนาวัดวาอารามสมัยอยุธยา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

5. อาคารอุโบสถวิหาร หลักฐานความเฟื่องฟูของพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑลในสมัยอยุธยา

6. เจดีย์ศิลปะอยุธยาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กับหลักฐานที่เหลืออยู่จำกัด

7. พัฒนาการของย่านกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในสมัยอยุธยา วิเคราะห์จากความสัมพันธ์ระหว่างศิลปกรรม กับภูมิประเทศและชุมชน

8. บทสรุป ข้อเสนอแนะ การเผชิญหน้ากับอนาคตที่ไร้อดีตของกรุงเทพฯ และปริมณฑล

วางแผงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2561