ไม่ควรพลาด! “SILPA PODCAST ‘ภูพระบาท’ มรดกโลกแห่งภูพาน” EP.4 ‘วัฒนธรรมหลักหิน’ ถิ่นภูพระบาท”

รศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง

SILPA PODCAST “ภูพระบาท” มรดกโลกแห่งภูพาน ซีรีส์พอดแคสต์ใหม่ล่าสุดของศิลปวัฒนธรรม ที่จะพาทุกคนไปศึกษาทำความเข้าใจทุกเรื่องราวเกี่ยวกับมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุดของประเทศไทย ฟังเพลิน ๆ ได้ทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่บนรถ ทำงานบ้าน หรือจิบกาแฟในวันสบาย ๆ

แหล่งหินตั้ง ภูพระบาท อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มรดกโลก อุดรธานี
หลักหินที่ภูพระบาท (ภาพโดย อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ)

พอดแคสต์ EP.2  “วัฒนธรรมหลักหิน” ถิ่นภูพระบาท โดย รศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง

สำหรับ EP.4 “วัฒนธรรมหลักหิน” ถิ่นภูพระบาท โดย รศ. ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จะพาไปเจาะลึกวัฒนธรรมหินตั้ง หลักหิน และใบเสมา ร่องรอยทางโบราณคดีอันโดดเด่นของภูพระบาท อันเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมที่ยังปรากฏในสังคมไทยจวบจนปัจจุบัน

Advertisement
“หอนางอุสา” ไฮไลต์ของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นเพิงหินสูงรูปร่างแปลกตาคล้ายดอกเห็ด ล้อมรอบด้วยใบเสมา แสดงให้เห็นถึงการเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์หรือพัทธสีมาของสงฆ์เมื่ออดีตกาลนานนับพันปีมาแล้ว มนุษย์ได้ขึ้นมาดัดแปลงหอนางอุสาให้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ โดยการสกัดพื้นที่ใต้หลังคาแล้วก่อหินทำเป็นห้องขนาดเล็กและนำหลักเสมามาปักล้อมรอบทั้ง 8 ทิศ (ภาพจากเพจ : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร)

✅ ว่าด้วยวัฒนธรรมหินตั้ง-หลักหิน

✅ “ภูพระบาท” วัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสาน

✅ หินภูพระบาท ควรเรียกว่าอะไร หินตั้ง หลักหิน เสมา หรือสีมา?

✅ “หลักหิน” ตั้งต้นจากความเร้นลับ ก่อนรับวัฒนธรรมพุทธศาสนา

✅ “พัทธสีมา” แห่งภูพระบาท เผยความสัมพันธ์ศรีลังกา

✅ “ใบเสมา” สู่เสาหลักเมือง-พระภูมิเจ้าที่ มรดกแห่งทวารวดีภาคอีสาน

แค่หัวข้อยังน่าสนใจขนาดนี้ ไม่ควรพลาดคลิปเต็มที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหา รับชมได้เลยทาง Youtube : Silpawattanatham

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 13 กันยายน 2567