รัฐนิยม-คำสั่งอมตะ ของจอมพล ป. ที่ใครๆ ยังกล่าวถึง?!?

จอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม (ภาพจาก Thailand Illustrater ฉบับกันยายน 1953)

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม หรือ ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2440-2507) นายทหารและนักการเมือง ดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ถึง 8 สมัย รวมระยะเวลากว่า 15 ปี นับเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2485) ที่จอมพล ป. ออกคำสั่งสำนักนายกฯ หรือเรียกทั่วไปว่า “รัฐนิยม” หรือ “รัถนิยม” เพื่อให้เกิดความรักชาติและปรับปรุงวัฒนธรรมให้เหมือนอารยประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายอมตะที่มีกล่าวถึงเสมอ เรื่องนี้ สิทธิพร ณ นครพนม เรียบเรียง “รัถนิยม” ทั้งหมด 12 ฉบับ (เฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม) ในบทความชื่อ “ร้อยปีท่านผู้นำวัธนธัมไทย” (ศิลปวัฒนธรรม, ฉบับเดือนสิงหาคม 2540) ดังนี้


 

รัถนิยม ฉันเองก็เกิดไม่ทันยุคนั้น เลยไม่ซาบว่าก่อนนั้นคนไทยมีวัธนธรรมหรือเปล่า? แต่ก็น่าสึกสาเพราะเชื่อผู้นำชาติปลอดพัย และท่านก็ได้ตั้งกะซวงวัธนธัม สภาวัธนธัม ฯลฯ ขึ้น จึงสมควรที่ศิลปวัธนธัมจะกล่าวถึงผลงานท่านผู้นำบ้างนะจ๊ะ ฉันได้สึกสารัถนิยม 12 ฉบับ ซึ่งชาวไทยเคารบเกรงกลัวยิ่งกว่ากดหมายยุคนั้น นับว่าเป็นวัธนธัมแปลก ๆ สมชื่อคือ

รัถนิยมฉบับที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน 2482 เรื่องการใช้ชื่อประเทส ประชาชน และสัญชาติ ท่านผู้นำ อ้างว่าชื่อประเทสสยาม ซึ่งฝรั่งเรียก SIAM, เสียม, เซียมนั้นไม่ตรงกับคนไทยจึงเปลี่ยนไห้ตรงกัน แต่เมื่อเขียน THAI เฉยๆ สั้นไป ประเทศที่เจริญอารยะทั้งหลายมี LAND ต่อท้ายเช่น England, Scotland, Ireland เป็นต้น จึงเป็น Thailand จนปัจจุบัน ถึงแม้ท่านอาจารย์สุลักส์ สิวรักส์ ท่านจะคัดค้านสรีสะชนฝ่าตลอด แต่ฉันว่าก็ยังดีนะจ๊ะที่ตอนนั้นประเทสเอกราชไนเอเชีย-แอฟริกายังไม่เกิด ถ้าท่านผู้นำเจอประเทสสวาซิแลนด์ โตโกแลนด์ฯ ที่ยังไม่เจริญท่านอาจจะสั่งไห้กลับมาใช้ “สยาม” ดังเดิมก็ได้

รัถนิยมฉบับที่ 2 วันที่ 3 กรกดาคม 2482 เรื่องป้องกันพัยที่บังเกิดแก่ชาติ

รัถนิยมฉบับที่ 3 วันที่ 2 สิงหาคม 2482 เรื่องการเรียกชื่อชาวไทย เป็นผลให้คนไทยมีชื่อบ่งเพสชายเพสหญิงจนทุกวันนี้ ถ้าเพสชายแต่ชื่อเพราะอ่อนหวาน หรือดอกไม้จึงต้องเปลี่ยน และตรงข้ามเพสหญิงแต่ชื่อดุดัน ห้าวหาญ ก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน โชคดีนะเกย์คิงเกย์ควีนทอมดี้ มีไม่มาก ถ้าออกรัถนิยมฉบับนี้ยุคนี้อาจจะถูกเดินขบวนประท้วงก็ได้…

รักนิยมฉบับที่ 4 วันที่ 8 กันยายน 2482 เรื่องการเคารบธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เรื่องนี้แม้แต่เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและฝรั่งยังตกใจ เมื่อ 08.00 น. เคารบธงชาติไทยทุกอย่างต้องหยุดหมด แม้แต่ขะโมยวิ่งราวและตำรวจวิ่งจับ คนะทูตถึงกับนำไปสรรเสริญจนครื้นเครงว่าคนไทยมีวัธนธัมยิ่ง (เพราะท่านกลัวผู้นำยิ่งกว่าอื่นได)…

รัถนิยมฉบับที่ 5 วันที่ 8 พรึกสจิกายน 2482 เรื่องไห้ชาวไทยพยายามไช้เครื่องอุปโพคบริโพคที่กำเนิดหรือทำขึ้นไนประเทสไทย ฉันเองก็งง ๆ อยู่ ถ้าชาตินิยมจัดทำไมท่านผู้นำเชิญชวนไห้ “กินก๋วยเตี๋ยว” หรือจะถือว่าทำขึ้นไนประเทสก็ได้นะจ๊ะ…

รัถนิยมฉบับที่ 6 วันที่ 10 ทันวาคม 2482 เรื่องทำนองและเนื้อร้องเพลงชาติ ซึ่งเดิมสยามไช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียว (เช่นเดียวกับอังกริด) พ.ส. 2475 จึงใช้เพลงชาติของเจ้าพระยาธรรมสักดิ์มนตรี และปีดังกล่าวจึงเปลี่ยนมาใช้ของขุนวิจิตรมาตรา ทำนองพระเจนดุริยางค์ รายละเอียดศิลปวัธนธัมเคยนำเสนอแล้ว ทักท้วง ถกเถียงกันถึง 2-3 ฉบับ (ลองหาอ่านเอาเองนะจ๊ะ)

รักนิยมฉบับที่ 7 วันที่ 21 มีนาคม 2482 เรื่องชักชวนให้ชาวไทยร่วมกันสร้างชาติ

รัถนิยมฉบับที่ 8 เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี วันที่ 1 เมษายน 2483

รัถนิยมฉบับที่ 9 วันที่ 24 มิถุนายน 2483 เรื่องพาสาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี เรื่องนี้นับเป็นเรื่องสำคัญนะจ๊ะ แพทย์หญิงโชติสรี ท่าราบ หรือป้าเนื่องยามพาสาแห่งมติชนท่านว่า “โคตรวิบัติ” ไม่ยอมแขวน ปริญญาจนบัดนี้เพราะท่านจบยุคนั้นพอดี (ไม่ใช่ฉันว่าจ๊ะ) และกวีนักประพันธ์ นักเขียน หลายท่านถึงกับหยุดเขียน ฉันเคยอ่านนิยายยุคนั้น ยังตลกยิ่งกว่าท่านอุดม แต้พานิชอีกจ๊ะ เช่นขะโมยนักปล้นจี้ ต้องเขียนว่า “หยุดนะจ๊ะมิเช่นนั้นฉันจะยิงท่าน” ถ้านักจี้ปล้นคนไหนพูดกับฉันอย่างนี้ ฉันก็แทบจะกราบส่งเงินให้ดี ๆ เลยนะจ๊ะ เรื่องนี้ลือกันหลายทางถึงสาเหตุที่ตัดตัวอักสรไทยออกไปมาก

1. บ้างท่านก็ว่าท่านผู้นำมีเชื้อสายพ่อขุนรามคำแหงผู้ทรงประดิถอักสรไทย ท่านผู้นำก็ไม่ควรน้อยหน้าต้องแสดงความเป็นนักปราชญ์บ้าง จึงกลายเป็นยุคอักขรวิบัติ เอ๊ย โคตรวิบัตินะจ๊ะ แถมยังบังคับไห้ไช้สรรพนามเพียง ฉัน, ท่าน, จ๊ะ เท่านั้นไม่มีครับ, ค่ะด้วย

2. ท่านผู้นำได้ชี้แจงผ่านท่านจรูญ กุวานนท์ บันนาทิการบางกอกไทม์หลังสงครามว่า จำเป็น เพราะว่ายี่ปุ่นมหามิตรจะบังคับไห้มหาวิทยาลัย โรงเรียนไทยเรียนพาสาญี่ปุ่นไนหลักสูตร ฉะนั้นท่านผู้นำจึงสร้างพาสาไหม่ขึ้นมาจ๊ะ เพื่ออ้างกับยี่ปุ่นว่าไทยกำลังเรียนพาสาไหม่อยู่

3. ข้อนี้ฉันเดาเอาเองนะจ๊ะว่ายุคนั้นเราผนวกดินแดนแขวงจำปาสัก, ไชยบุรี (ลานช้าง) ของลาว มนทลบูรพาเสียมราถ, พระตะบอง, สีโสพนของกัมพูชา จังหวัดไซบุรี (เคดาห์) ของมลายู และ สหรัถไทยเดิม (ชานสเตท) ทำไห้ดินแดนและพลเมืองเชื้อชาติต่างๆ เข้ามาร่วมอยู่มาก ท่านผู้นำอาจคิดการไกลตัดตัวอักสรออก เพื่อไห้พลเมืองไหม่เหล่านั้นเรียนง่ายๆ ก็ได้จ๊ะ แหม! ถ้าฉันเกิดทันยุคนั้น อาจเป็นรัถมนตรี กะซวงวัธนธัมเลยก็ได้นะจ๊ะ

รัถนิยมฉบับที่ 10 วันที่ 15 มกราคม 2484 เรื่องการแต่งกายของประชาชนไทย เรื่องนี้ก็สนุกไม่แพ้เรื่องพาสาจ๊ะ ท่านผู้นำว่าคนไทยยุคนั้นแต่งกายแบบ “จับฉ่าย” เลยต้องห้ามการนุ่งโจงกระเบน เพราะเป็นของเขมร ห้ามนุ่งโสร่งเพราะเป็นแขก ต้องสวมไส่แบบสากลสวมหมวก ทั้งถุงน่องรองเท้าให้เรียบร้อย แถมยังมีเพลงปลุกใจ เชิญชวน “เชิญสิจ๊ะเชิญมาสวมหมวก” อีกทั้งคำขวัญ “แล้วมาลาจะนำไทยไปสู่การเป็นมหาอำนาจ” (ไชโย!)

รัถนิยมฉบับที่ 11 วันที่ 8 กันยายน 2484 เรื่องกิจประจำวันของคนไทย นับว่าหาท่านผู้นำแบบนี้ยากจ๊ะ คนไทยยุคนั้นถูกปลุกแต่เช้าตรู่ด้วยเสียงเพลง “ตื่นเถิดชาวไทยอย่ามัวหลับไหลลุ่มหลงฯ” ถึงการปลูกผักสวนครัวและรำวงรำโทน ฯลฯ

รัถนิยมฉบับที่ 12 วันที่ 28 มกราคม 2485 เรื่องการช่วยเหลือคุ้มครองเด็กคนชราหรือคนทุพพลพาบ ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายจ๊ะ (ฉบับที่ฉันไม่ขยายความเพราะไม่เกี่ยวกับวัธนธัมนะจ๊ะ)

นอกจากรัถนิยม 12 ฉบับนี้แล้ว ยังมีพระราชบัญญัติ, คำสั่งฯ อีกมากล้วนแล้วแต่น่าสึกสาทั้งสิ้นนะจ๊ะ เช่น การประกาศไห้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นวันขึ้นปีใหม่แทนวันที่ 1 เมษายน ซึ่งยังคงบังคับจนปัจจุบัน แต่ทำให้หลายท่านสับสนฉลอง 100 ปี 500 ปี ผิดๆ เพราะลืมไปว่า 1 มกราคม – 31 มีนาคมก่อน พ.ส. 2484 นั้นนับแบบไทย หรือแบบสากลแน่ ซึ่งผลกระทบจากรัถนิยมยุคนั้นคงมีมากสุดจะพันระนานะจ๊ะ

รำโทนสู่รำวง ฉันเองก็เพิ่งรู้จากท่านไหญ่ นพายนจริงๆ ว่า “รำวง” เกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น พ.ส. 2483 ห้วง สงครามอินโดจีน ค่ำคืนที่พรางไฟ จนท่านผู้นำสั่งไห้กรมโคสะนาการ โดยจมื่นมานิตเรศน์นำวงดนตรีแบบสากลมาปลอบขวัญชาวจังหวัดหนองคาย แล้วผสมกับวงรำโทนจึงเกิดเป็น “วงรำวง” ขึ้นเป็นครั้งแรก นับว่าภาคอีสานได้ก่อกำเนิดวัธนธัมรำวงขึ้น ท่านผู้นำชื่นชอบสั่งไห้ข้าราชการหยุดวันพุธเพื่อซ้อมเพลงรำวงกัน และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ก็แต่งเพลงรำวงไห้ตั้งหลายเพลง เช่น “รำมาชิมารำ, ดวงจันทร์วันเพ็ญ, งามแสงเดือน, ดอกไม้ของชาติ, บูชานักรบ” ซึ่งยังคงอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลทุกวันนี้ (เพราะไม่มีวงดนตรีไดแต่งรำวงไหม่เลย)

วัธนธัมการแจก? ท่านผู้นำใช้นามปากกาว่า “สามัคคีไทย” ได้เขียนปลุกไจคนไทยหลายเรื่อง อาจนับเป็นนักประพันธ์ไหญ่ได้ท่านหนึ่งนะจ๊ะ เช่น “เรื่องธงไตรรงค์มีชีวิตขึ้นได้เพราะ รบ กิน อยู่ วัธนธัม” ว่า “วันที่ 3 มกราคม 2486 แล้วพี่น้องไทยที่ไม่มีที่ดิน คิดจะมีที่ดินหรือไม่? ที่ดินของเรามีมากมายฯ ทางรัถบาลจะเอาวัธนธัมบันทุกเครื่องบินส่งไห้ถึงที่หมายสุดท้ายในวันที่ 1 มกราคม 2487 ไห้จนทั่วได้ทั่วถึงทุกคนฯ” ซึ่งก่อนนั้นท่านก็ตั้ง “กรมประชาสงเคราะห์” (เอ! หรือ กรมสงเคราะห์ประชา?) 1 กันยายน 2483 ทั้งเป็นอธิบดีกรมท่านแรก สังกัดสำนักนายกรัถมนตรีก่อนจะโอนมากะซวงมหาดไทย และกะซวงแรงงานฯ ปัจจุบัน

แต่งานหลักดูเหมือน จะเน้นการแจกการแถมจนเป็น “วัธนธัมทางการเมือง” ขึ้นมา นักการเมืองปัจจุบันก็ยังร้องเพลง “ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย..” เลียนแบบเด๊ะเลยจ๊ะ

รัฐนิยม-คำสั่งอมตะ ของจอมพล ป. ที่ใครๆ ยังกล่าวถึง?!?

คืออะไร? เรื่องนี้ฉันรู้สึกจะเกินสติปัญญาฉันจ๊ะ ท่านไมเคิล ไรท์เคยเขียน Culture ลงศิลปวัธนธัมมาแล้วจ๊ะ แค่ฉันเขียนแบบวัธนธัมนำไทยฉบับนี้ก็วิน เอ๊ย เวียนหัวแย่แล้วจ๊ะ (หมายเหตุรวมทั้งคนพิมพ์ คน ปรู๊ฟด้วยจ๊ะ!) แต่ฉันเคยอ่านวิทยานิพนธ์ของ ศ.ดร.ทองเบิ้ม บ้านด่าน เรื่อง “ละครนอก ละครใน” ท่านให้แง่คิดดีมากเลยจ๊ะว่า ฝ่ายผู้มีอำนาจนั้น ชาวบ้านทั่วๆ ไปเขามองว่าเป็น ตัวตลก ไม่ใช่วีรบุรุสอะไรดอก จึงเรียกละครนอก แม้กระทั่งรัชกาลที่ 2 เมื่อทรงพระราชนิพนธ์ละครนอกเรื่องสังข์ทอง, ไกรทองฯ พระองค์ก็ทรงจับจุดนี้ได้ จึงทรงเขียนให้ท้าวสามล พระยาพิจิตรฯ งกๆ เงิ่นๆ แบบนั้น

ถ้าฝ่ายซึ่งมีอำนาจคิดว่าโก้เก๋อวดว่าเป็นผู้นำสามารถสร้างวัธนธัมได้ และชาวบ้านคนไทยทั้งหลายจะซ้ายหันขวาหันตาม เรื่องนี้ก็คงจะตลกทั้งที่ไม่ตั้งไจจะทำให้ตลกแบบนี้ละจ๊ะ ฉันจึงไม่ต้องใส่วงเล็บ “ฮา” ก็คงฮากันเองนะจ๊ะ

 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 26 กรกฎาคม 2565