อึ้ง! หลักฐานใหม่ รูปแกะสลักหินอ่อนที่วัดพระแก้ว บันทึกโดยมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย เมื่อปี 1891

ภาพวาดรูปปั้นตุ๊กตาแกะสลักหินอ่อน ที่ลานวัดพระแก้วในหนังสือ“ บันทึกการเดินทางสู่ตะวันออกไกล ของมกุฎราชกุมารนิโคลาส” ฉบับพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1898

อึ้ง! หลักฐานใหม่ รูปแกะสลักหินอ่อนที่ลานวัดพระแก้ว บันทึกโดยมกุฎราชกุมารนิโคลัส แห่งรัสเซีย ต่อมาคือพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เมื่อปี ค.ศ.1891

จากข้อมูลเบื้องต้น ทำให้เราทราบว่ารูปแกะสลักหินอ่อนจำนวนมาก ที่เคยถูกจัดไว้ตบแต่งลานวัดพระแก้ว ในคราวฉลองพระนครครบ 100 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) นั้น ต่อมาอีกหลายปี ก็ยังคงจัดแสดงอยู่ ณ ที่นั้น ทำให้มีพระราชอาคันตุกะ และผู้นำประเทศหลายท่าน ที่เข้ามาเยือนกรุงสยาม ได้เคยเห็นกันถ้วนหน้า

Advertisement
มกุฎราชกุมารนิโคลัส ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส

หนึ่งในนั้น มีเจ้านายชั้นสูง มกุฎราชกุมารนิโคลัส แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ผู้เสด็จเข้ามาเยี่ยมเยือนกรุงสยาม ในปี ค.ศ. 1891 ก็ได้ทรงบันทึกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1891 ไว้ว่า…

“เช้าวันนี้ เราถูกนำเข้าไปเยือนวัดพระแก้ว ของพระเจ้าแผ่นดิน บริเวณทางเข้ามีรูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่ 2 ตน มือถือกระบอง ซึ่งหมายถึงทวารบาล หรือผู้เฝ้าประตูทางเข้า

โดยรอบบริเวณลานของวัดอันงดงามนี้ มีรูปปั้นหุ่นของคนในลักษณะต่างๆเช่นรูปผู้นำประเทศ แม่ทัพ และกะลาสี รวมทั้งบุรุษและสตรีเพศ วางเรียงรายอยู่มากมาย

รูปปั้นหินอ่อนเหล่านี้ มาอยู่ที่นี่ด้วยเหตุใดก็ไม่มีใครให้ความกระจ่างได้ คำอธิบายที่น่าฟังที่สุด คือมันถูกจัดแสดงไว้ที่นี่ สำหรับงานฉลองเมืองหลวง ก่อนที่จะถูกนำเข้าไปจัดแสดง ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างขึ้น”

ต่อจากบันทึกนี้ ยังได้ลงภาพวาดรูปแกะสลักหินอ่อน ที่ได้ทรงทอดพระเนตรในครั้งนั้นด้วย (ถอดความโดย อ.ไกรฤกษ์ นานา จากหนังสือ “บันทึกการเดินทางสู่ตะวันออกไกล ของมกุฎราชกุมารนิโคลาส” ฉบับพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1898)

ภาพวาดรูปปั้นตุ๊กตาแกะสลักหินอ่อน ที่ลานวัดพระแก้วในหนังสือ“ บันทึกการเดินทางสู่ตะวันออกไกล ของมกุฎราชกุมารนิโคลาส” ฉบับพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1898
ปกด้านในของหนังสือ“ บันทึกการเดินทางสู่ตะวันออกไกล ของมกุฎราชกุมารนิโคลาส” ฉบับพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1898
ของสะสมส่วนตัว อ.ไกรฤกษ์ นานา

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565