ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์สยาม (๒) เอกสารสมัยพระนารายณ์ ไกด์คำตอบให้ทูตคุยกับต่างชาติ

คณะทูตสยามที่ไปเจริญสัมพันธไมตรี ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ (ค.ศ. ๑๖๘๖)

ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์สยาม : เอกสารชั้นต้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่เปิดเผยใหม่ (๒) เป็นบทความที่ ไมเคิล ไรท ได้เขียนไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม ๒๕๔๘ ต่อจากบทความชิ้นแรก “ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์สยาม : เอกสารชั้นต้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่เปิดเผยใหม่” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘

ในวารสารสยามสมาคม JSS vol.90.1&2, (2002) Dr.Michael Smithies ได้เสนอและแปลเป็นภาษาอังกฤษ เอกสารสมัยสมเด็จพระนารายณ์ชิ้นหนึ่งที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงการสยามศึกษามาก่อน เอกสารชิ้นนี้เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ที่รู้กันหรือเชื่อกันในยุคนั้น, จึงสมควรจะเผยแพร่เป็นภาษาไทย

Advertisement

เอกสารฉบับนี้ไม่สมบูรณ์และชื่อเดิมไม่ปรากฏ, แต่จากหลักฐานภายในก็เชื่อได้ว่าทำขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๔ และคงเป็นฝีมือราชบัณฑิตกรุงศรีอยุธยา จากเนื้อความเราทราบได้ว่า นี่คือหนังสือแนะนำให้ราชทูตสยามตอบอย่างเหมาะสมเมื่อถูกราชการต่างประเทศซักถาม, จึงแต่งเป็นรูปปุจฉา-วิสัชนา ขอเรียกไว้ก่อนว่า “คู่มือทูตตอบ”


(เริ่มเนื้อความต่อจากฉบับที่แแล้ว อ่านเนื้อหาก่อนหน้าได้ตามลิงค์นี้ “ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์สยาม : เอกสารชั้นต้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่เปิดเผยใหม่” ศิลปวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)

(๗๒๓) หากถามว่า สยามมีประชาชนหนาแน่นไหม

ให้ตอบว่า ประชาชนหนาแน่นมากและมีชาวต่างชาติมาจากทุกประเทศ

หากถามว่า สยามมีประเทศราชอะไรบ้าง อาณาจักรไหนบ้างอยู่รอบข้าง และ

ให้ตอบว่า เมืองเหนือประกอบด้วย ๘ แคว้น

แคว้นที่ ๑ คือพิษณุโลก (Porcelouc) หัวเมืองชื่อพิษณุโลก (Pissenoulouc) มีเมืองรอง ๑๐ เมือง คือ เมืองนครไทย เมืองชาตกาล เมืองไชยนาม เมือง Seri Ppram เมือง Trenom เมืองชุมศรสำแดง เมืองชุมแสงสงคราม เมือง Pippat Songcramme เมือง Ppiboune เมืองนคร Paamaac

แคว้นที่ ๒ คือสวรรคโลก หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๘ เมือง คือ เมือง Ppissetcousanne เมือง Pissanechaesat เมือง Ppiren Songcramme เมือง Ppirao Morenarongt เมือง Seraae Ppraam เมือง Rekaa เมือง Chivitabouri เมือง Sippana Maat

แคว้นที่ ๓ คือสุโขทัย หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๗ เมือง คือ เมืองนคร Yong เมือง Cooracraat เมืองคีรีมาศ เมืองราชธานี เมือง Seri Songcramme เมือง Raamappichit เมือง Ritti Reuchae

แคว้นที่ ๔ คือกำแพงเพชร หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๑๐ เมือง คือ เมือง Ttesse เมืองไตรตรึงส์ เมืองโบราณราชา เมืองเชียงเงิน เมืองเชียงทอง เมือง Koussamme Ppuanne เมือง Baanne Pperabouri เมืองตาก (Taat) เมืองเชียง Leudet

แคว้นที่ ๕ คือราชสีมา เมืองเอกชื่อนครราชสีมา มีเมืองรอง ๕ เมือง คือ เมืองพิมาย เมือง Pachom เมืองชัยบาดาล เมือง Camppe(r)aane เมือง Ppeong

แคว้นที่ ๖ คือเพชรบูรณ์ หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๒ เมือง คือ เมือง Thiantta Vanao เมือง Crae นคร Et

แคว้นที่ ๘ คือพิชัย หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๗ เมือง คือ เมืองบางโพ เมืองฝาง เมืองลับแล เมืองพิพัฒน เมือง Ppateboune เมือง Trevantri Soune เมือง Phiboune Patthiimme

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เสด็จออกรับคณะทูตสยามเมื่อ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๙ ณ พระราชวังแวร์ซายส์

นอกจากนี้เมืองเหนือมีอีก ๑๒ เมืองที่ไม่ขึ้นกับแค้วนดังกล่าว คือ เมือง Ppithitaoa เมืองนครสวรรค์ เมืองชัยนาท เมืองอุทัยธานี เมืองมโนรมย์ เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองลพบุรี เมืองสระบุรี เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี เมืองอ่างทอง เมืองกาญจนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา (Chattreung Tteraa) เมืองไทรโยค เมืองศรีสวัสดิ์ เมืองทองผาภูมิ เมือง Ttong Ttaatri

นี่คือรายชื่อเมืองข้างบนอย่างคร่าวๆ แล้วยังมีรายชื่อเมืองข้างล่างดังนี้ :-

แคว้นที่ ๑ คือโจฮอร์ ซึ่งแต่ก่อนเป็นอาณาจักรอิสระ หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๗ เมือง คือ เมืองปะหัง เมืองอินทรคีรี เมือง Bangcali เมือง Sia เมืองตรังกานู เมือง Coungonne เมือง Dili

แคว้นที่ ๒ คือเมืองตานี หัวเมืองมีชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๘ เมือง (๗๒๔) คือ เมืองกลันตัน เมือง Saae เมือง Pinkra เมือง Plessout เมือง Moeng เมือง Krevann เมืองเทพา เมือง Sacomme Si Ttarema

แคว้นที่ ๓ คือเมืองนครศรีธรรมราช หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๒๐ เมือง คือ เมือง Sangcalaat เมืองไชยา เมืองท่าทอง เมืองพุนพิน เมืองสิชล (Chaacram) เมือง Klaae เมือง Ppichienne เมืองพนัง เมือง Koure เมือง Proome เมืองตรัง เมืองถลาง เมืองบางคลี เมืองตะกั่ว เมืองพังงา เมืองภูเก็ต เมืองท่าสง เมือง Chaiamontri เมือง Ttaebouri เมือง Maieng

เมืองตะนาวศรีเป็นเมืองเอกของแคว้นที่ ๒ หัวเมืองมีชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๑๒ เมือง คือ เมืองมะริด เมืองสิงขร (Sicoorabouri) เมืองแม่น้ำ เมือง Thing เมือง Langcereui เมือง Plo เมือง Pelaa เมือง Kantooc เมือง ทวาย เมือง Pee เมือง Pela เมือง Kouttee

แคว้นที่ ๓ คือจันทบูร หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๗ เมือง คือ เมืองระยอง เมืองขลุง เมืองแกลง เมืองตราด เมือง Uenne เมืองบางละมุง เมืองบางพระ

แคว้นที่ ๔ คือพัทลุง หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๘ เมือง คือ เมือง Chaerat เมือง Sannetang เมือง Vangseung เมือง Pequeut เมือง Pleuenanne เมือง Ppetong เมือง Pleuongsa เมือง Ratappoumi

แคว้นที่ ๕ คือ Chaevonne หัวเมืองชื่อเดียวกัน มีเมืองรอง ๒ เมือง คือ เมือง Satonne เมือง Thiangou

นอกจากนี้ยังมีอีก ๑๓ เมืองที่ไม่ขึ้นกับแคว้นดังกล่าว ได้แก่ เมืองนนทบุรี เมืองธนบุรี เมืองพระประแดง เมืองสาครบุรี เมืองชลบุรี เมืองนครคีรี เมืองกุยบุรี เมืองปราณบุรี เมืองชุมพร เมือง Ppenom๑๐

หัวเมืองเหล่านี้ล้วนส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองเข้ามาถวายทุกปี เมืองรองต่างส่งเงินเข้ามาตามแต่กำหนด

ทางทิศเหนือของสยามมีเชียงใหม่ จากเชียงใหม่ย่อมขึ้นไปถึงเมืองเขมราช๑๑ จากนั้นถึงเมือง Meenne Naaou๑๒ และจาก Meenne Naaou ถึงเมืองจีน หากจะไปกรุงอังวะจากเชียงใหม่ก็ต้องผ่านเมือง Ttaatang เมืองหาง เมืองเชียงรุ้ง เมืองนาย เมืองยองห้วย เมือง Kangtaa จนรอดถึงวัฒนปุระอังวะ๑๓ จากอังวะก็ไป Keechee ถึงยะไข่ (Requeung), ถึงยะไข่ (Racang) แล้วรอดถึงเบงกอลซึ่งเป็นแดนของโมคุล๑๔

ด้านตะวันตกมีอาณาจักรทวาย (Ttevaae) ซึ่ง…(ต้นฉบับลบเลือน)

ด้านใต้มีละครหรือนครศรีธรรมราช แต่นั้นไปถึงพัทลุง ตานีและโจฮอร์ซึ่ง…(ต้นฉบับลบเลือน) แล้วพ้นเขตสยามเสีย แต่นั่นไปก็ถึงเมือง Predolla๑๕

ด้านตะวันตกไปถึงเมืองกาญจนบุรีสุดแดน จากนั้นไปเมืองมะละแหม่ง (Lacleung) และเมืองเมาะตะมะ (Motema)๑๖ จากนั้นไปหงสา เมืองตองอู๑๗ เมืองแปร (Pronne)๑๘ จนรอดถึงอังวะ


ข้อสังเกตเบื้องต้น

คำแปลเอกสารเป็นภาษาฝรั่งเศสครั้งแรก (ที่สาบสูญไปแล้ว) น่าจะปริวัตรชื่อบ้านนามเมืองด้วยระบอบที่เคร่งครัดแม่นยำพอสมควร, แต่แล้วถูกเขย่า ในฉบับคัดลอกครั้งที่ ๒ (ที่เหลือให้ Forest ใช้ในการประกอบฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก) มีบางตอนที่จับความได้แม่นยำ, แต่มีบางตอนที่เลอะเทอะจับความไม่ได้ ผมขอเสนอว่า บางทีสามเณรบาทหลวงในกรุงปารีสถูกทำโทษให้คัดลอกเอกสารชิ้นนี้ บางตอนเธอคงคัดอย่างดี, แต่บางตอนรำคาญสุดขีดจึงคัดชุ่ยให้แล้วเสร็จไวๆ

๑. พิษณุโลกที่เขียนว่า Porcelouc คงตามปากฝรั่ง (โปรตุเกส), ที่เขียนว่า Pissenoulouc คงปริวัตรจากเอกสารไทย

๒. “แคว้นที่ ๗” ไม่มีในฉบับ

๓. ตานี คือปัตตานี

๔. Chaacram น่าจะเป็นสิชล ซึ่งในแผนที่ไตรภูมิ (ฉบับ ๑๐ ก) เขียนว่าชิคราม, อาจจะเพี้ยนมาจากศิขระ (สันสกฤต “ยอด”) ผ่านทมิฬจิกิรัม

๕. ตะนาวศรี คงรวมอยู่ใน “แคว้นที่ ๓” แต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีความสำคัญมากเพราะคุมเมืองท่ามะริด จึงยกให้เป็นเมืองชั้นเอกเทียบเท่านครศรีธรรมราช

๖. Sicoorabouri น่าจะเป็นศิขรบุรี, คือด่านสิงขรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรืออาจจะหมายถึงเมือง Theinkun ในเขตพม่า ซึ่งก็คือ “ศิงขร” เหมือนกัน

๗. เมืองแม่น้ำ ยังเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กอยู่ถัดด่านสิงขรในแดนพม่า

๘. แคว้นที่ ๓ ต้นฉบับมีการระบุซ้ำกัน คงไว้ตามเดิม

๙. นครคีรี อาจจะหมายถึงเพชรบุรี (?) เพราะชื่อ “เพชรบุรี” ไม่ปรากฏในรายชื่อหัวเมืองนี้

๑๐. Ppenom พนม (?), เขาสามร้อยยอด?

๑๑. เมืองเขมราช หมายถึงรัฐฉาน (Shan States) ในพม่า

๑๒. เมือง Meenne Naaou ฟังเป็นเมืองแมนนาว, แต่นึกไม่ออกว่าตรงกับอะไร

๑๓. วัฒนปุระอังวะ ควรเป็นรัตนปุระอังวะ, ราชธานีพม่ายุคนั้นใกล้กรุงมัณฑะเลย์ปัจจุบัน

๑๔. โมคุล คือ Mogul Empire ที่ครองอินเดียเหนือ

๑๕. Predolla หมายถึงอะไร?

๑๖. มะละแหม่ง (Moulmein) และเมาะตะมะ (Martaban, ไทยว่าเมืองพัน) ต่างเป็นเมืองท่าขนาบปากน้ำสาละวินในเมืองมอญ

๑๗. ตองอู คือ Toungoo, ราชธานีในลุ่มน้ำสะโตง

๑๘. เมืองแปร คือราชธานีโบราณ, ปัจจุบันเรียกว่า Prome


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ.2561