พระมาลาเบี่ยง หนึ่งในเครื่องราชูปโภคศักดิ์สิทธิ์ สร้างขึ้นใหม่ในยุคต้นกรุงเทพฯ

พระมาลาเบียง (ภาพจากหนังสือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรมศิลปากร ๒๕๓๐)

พระมาลาเบี่ยง หนึ่งในเครื่องราชูปโภคศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างขึ้นใหม่ในยุคต้นกรุงเทพฯ ไม่ใช่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ถ้าท่านใดได้ ดูหนัง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี ให้สังเกตหมวกที่ผู้พันเบิร์ดที่รับบท สมเด็จพระนเรศวรฯ สวมพระมาลาตอนกระทำยุทธหัตถี

(ขอบคุณภาพจาก ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี)

จะสังเกตเห็นพระมาลานั้น จะมีพระพุทธรูปประดับอยู่ที่พระมาลา แต่ในการศึกครั้งนั้น รูปร่างภาพลักษณ์ของพระมาลาเป็นเช่นไร ไม่มีใครรู้ได้ และจะมีพระพุทธรูปหรือไม่ก็ไม่ทราบได้แต่อาจถูกทำลายไปเมื่อครั้งเสียกรุง

ดังนั้นพระมาลาที่เราเห็นในหนังนั้น คงทำเลียนแบบจาก พระมาลาเบี่ยง หนึ่งในเครื่องราชูปโภคศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระพุทธรูปดังกล่าว เป็นพระพุทธรูปจำนวน 21 องค์ ที่ผู้ค้นพบที่แม่น้ำมูลแขวงเมืองนครราชสีมาและมีผู้ทูลเกล้าถวาย

จากนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปทั้ง 21 องค์ มาประดิษฐานพระมาลาเบี่ยง