เผยแพร่ |
---|
บทความนี้คัดย่อจาก จดหมายเหตุรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ณ เมรุวัดพระเทพศิรินทราวาส วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ซึ่งตอนหนึ่งในจดหมายเหตุเดือนมีนาคม พ.ศ. 2454 รัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์เกี่ยวกับ “รัฐธรรมนูญ” ไว้ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำใหม่โดยกองบรรณาธิการ ส่วนภาษาและการสะกดคำเป็นไปตามต้นฉบับ)
ถ้ามีผู้ต้องการ “คอนสติตูชั่น” จริงๆ และเปนไปได้จริง จะเปนคุณอย่างใดฤๅไม่ แต่ถ้าแม้ต่างว่ามีคนอยู่จำพวก 1 ซึ่งตั้งใจดีจริง มีความมุ่งดีต่อชาติจริง จะมาร้องฎีกาขึ้นโดยตรงๆ ขอให้มีคอนสติตูชัน เราเองจะไม่มีความแค้นเคืองเลย ตรงกันข้าม เราจะ ยอมพิจารณาดูว่า จะสมควรยอมตามคําขอร้องของคนนั้นฤๅไม่
ถ้ายิ่งมีคอนสติตูชั่นได้จะยิ่งดี เพราะเรารู้สึกอยู่แล้วเหมือนกัน ว่าการที่มอบการปกครองไว้ในมืดเจ้าแผ่นดินคนเดียวผู้มีอำนาจสิทธิ์ฃาดนั้น ดูเปนการเสี่ยงบุญเลี้ยงกรรมอยู่ ถ้าเจ้าแผ่นดินเปนผู้ที่มีสติปัญญาสามารถ และมีความตั้งใจมั่นอยู่ว่า จะทําการให้บังเกิดผลอันดีที่สุดแก่ชาติบ้านเมืองฉนแล้วก็จะเปนการดีที่สุด จะหาลักษณปกครองอย่างใดมาเปรียบปานได้ โดยยาก
แต่ถ้าแม้เจ้าแผ่นดินเปนผู้ที่โฉดเขลาเบาปัญญา ฃาดความสามารถ ฃาดความพยายาม เพลิดเพลินไปแต่ในความสุขส่วนตัว ไม่เอาใจใส่ในน่าที่ของตน ฉนี้ก็ดี ฤๅเปนผู้ที่มีน้ำใจพาลสันดานหยาบ ดุร้ายและไม่ตั้งอยู่ในราชธรรม เห็นแก่พวกพ้องและบริวารอันสอพลอและประจบ ฉนี้ก็ดี ประชาชนก็อาจจะได้รับความเดือดร้อน ปราศจากความศุข ไม่มีโอกาศที่จะเจริญได้ ดังนี้จึงเห็นได้ว่าเปนการเสี่ยงบุญ เสียงกรรมอยู่
แสดงคุณแห่งลักษณะปกครอง โดยมี “คอนสติตูชั่น” ส่วนการมีคอนสติตูชั่นนั้น เปนอันตัดความไม่แน่นอนไปได้มาก เพราะ อํานาจมิได้อยู่ในมือคนๆ เดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะดีฤๅชั่วปานใดก็เปลี่ยนไม่ได้ ประชาชนได้มีเสียงในการปกครองชาติบ้านเมืองของตนเอง เสนาบดีผู้รับตําแหน่งนาที่ปกครองก็รับผิดรับชอบต่อประชาชน จําเปนต้องทําการให้เปนไปอย่างดีที่สุดที่จะเปนไปได้ เพราะถ้าแม้ว่าทําการในน่าที่บกพร่อง ประชาชนไม่เปนที่ไว้วางใจต่อไป ก็อาจจะร้องขึ้นด้วยกันมากๆ จนเสนาบดีต้องลาออกจากตําแหน่ง
คนที่ประชาชนไว้วางใจก็จะ ได้มีโอกาศเฃ้ารับตําแหน่งน่าที่ ทาการงานให้ดําเนินไปโดยทางอันสมควรและถูกต้องตามประสงค์แห่งประชาชน เช่นนี้เปนการสมควรอย่างยิ่ง และถ้าแม้จะกล่าวไปแต่โดยทางว่าเปนแบบแผนดีฤๅไม่คงไม่มี ใครเถียงเลย คงต้องยอมรับว่าดีทั้งนั้น แต่แบบอย่างใด ๆ ถึงแม้ว่าจะดีที่สุดเมื่อเขียนอยู่ในกระดาษ
เมื่อใช้จริงเฃ้าแล้วบางทีก็มีที่เสียหายปรากฎขึ้น ดังปรากฎอยู่แก่ผู้ที่ได้ศึกษาและรู้เหตุการณ์ที่เปนไปในนานาประเทศ เพราะเหตุหลายประการ จะยกมาว่าแต่พอเปนสังเขปก็มีอยู่คือ
แสดงโทษอันอาจจะมีมาได้ แม้เมื่อใช้ลักษณปกครองมี “คอนสติตชั่น”
1. ประชาชนยังไม่มีความรู้พอที่จะทําการปกครองตนเองได้ เพราะฉนั้นอาจที่จะใช้อํานาจอันอยู่ในมือตนในหนทางที่ผิดวิปลาศ บางที่สิ่งซึ่งต้องการให้มีขึ้นฤๅให้เปนไป จะไม่เปนสิ่งซึ่งนํา ประโยชน์มาสู่ชาติ ฤๅกลับจะให้โทษ แต่ประชาชนมีความเห็นพร้อมๆ กันมาก ก็ต้องเปนไปตามความเห็นของพวกมาก ต่อเมื่อกระทําไปแล้ว จึงแลเห็นว่าให้ผลร้ายเพียงใด
จะยกอุทาหรณได้อย่าง 1 คือต่างว่ามี สาเหตุเกิดวิวาทบาดหมางกันกับชาติอีกชาติ 1 ซึ่งถ้าแม้ทำความเฃ้าใจ กันเสียแล้วก็อาจจะเปนที่เรียบร้อยไปได้ แต่ประชาชนพากันเห็นไปว่า ถ้าแม้ยอมผ่อนผันให้จะเปนการเสียเกียรติยศเสียรัศมีของชาติ ก็อาจจะ พากันร้องเซ็งแซให้ทําสงครามได้ การทําสงครามนั้นในขณะที่กําลังรบ พุ่งกันอยู่ไม่สู้จะกระไรนัก เพราะใจประชาชนกําลังฮึกเหิม คิดแต่ถึงส่วนการต่อสู้และคิดหวังเอาไชแก่สัตรูเท่านั้น ต่อเมื่อสงบศึกแล้ว จึ่งจะรู้สึกโทษแห่งสงคราม คือการทำมาหาเลี้ยงชีพจะฝืดเคือง การค้าขายซึ่งต้องงดไว้ในระหว่างสงครามนั้น มาจับลงมือทําขึ้นอีกก็ยอมจะไม่สดวกเหมือนแต่ก่อน…
2. ประชาชนรู้สึกตนว่าไม่มีความสามารถพอที่จะถืออํานาจและใช้อํานาจทุกๆ คน จึงไว้ใจมอบอํานาจให้บุคคลบางคนถืออํานาจและใช้อำนาจนั้นแทน บุคคลเหล่านั้นคือที่เลือกสรรให้เฃ้าไปนั่งในรัฐสภาใช้อำนาจนั้นแทน บุคคลเหล่านี้คือที่เลือกสรรให้ฃ้ำไปนั่งในรัฐสภา (ปาร์ลิย์เมนต์) เปนผู้แทนประชาชน ผู้แทนเช่นนี้ถ้าแม้ว่าประชาชนรู้จักจริง รู้แน่นอนว่าเปนคนที่จริงแล้ว จึงเลือกเฃ้าไปเปน ผู้แทนตน ดังนี้ก็จะไม่มีที่เสียหายจะบังเกิดขึ้นได้เลย แต่ตามความจริงหาเปนเช่นนั้นไม่
ตามความจริงนั้น ประชาชนโดยมากก็มีกิจธุระทํามาหาเลี้ยงชีพอยู่ด้วยกันทุกคน จะมัวสละเวลาเพื่อกระทําความวิสสาสะกับผู้ที่จะเปนผู้แทนตนในรัฐสภาก็ไม่ได้อยู่เอง เพราะฉนั้นแบบธรรมเนียมจึงมีอยู่ว่า เมื่อถึงเวลาจะต้องเลือกผู้แทนเฃ้านั่งในรัฐสภา ก็มีคน 2 คน ฤๅ 3 คน มายืนขึ้นให้เลือก ว่าจะชอบคนไหนใน 2 ฤๅ 3 คน นั้น เมื่อชอบคนไหนก็เลือกคนนั้นโดยต่างคนต่างให้คะแนนของตน ใครได้คะแนนมากก็ได้เฃ้าไปนั่งในรัฐสภาดังนี้ แต่ถ้ามีผู้ที่มารับเลือกแต่คนเดียว ก็นับว่าไม่เปนปัญหา ประชาชนไม่ต้องลงคะแนน คนๆ นั้นเปนอันได้เฃ้าไปนั่งในรัฐสภาทีเดียว
ส่วนการที่จะจัดให้มีคนมารับเลือกนั้น ตามคอนสติตูชั่นว่า ให้มีผู้ใดผู้ 1 ในเขตรนั้น ๆ เปนผู้นําขึ้นว่าผู้ใดสมควรได้รับเลือก ถ่ไม่มีผู้อื่นนำเสนอจามใครขึ้นอีกคน 1 แล้ว คนที่ 1ก็เปนอันได้เฃ้ารัฐสภาอยู่เอง แต่ถ้ามีผู้เสนอนามบุคคลใดขึ้นอีกคน 1 จึงต้องนัดวันให้ประชาชนในเฃตร์นั้นลงคะแนนในระหว่างคน 2 คน ที่ได้มีผู้เสนอนามขึ้น ดูเผินๆ เพียงนี้ก็ยังดีอยู่
แต่ตามความจริงนั้น ไม่ใช่ว่าใครๆ สักแต่เปนมนุษแล้วก็จะมีโอกาศได้รับเลือกได้ ผู้ที่หยิบยกตัวบุคคลมาให้ราษฎรเลือกนั้น คือคณะฤๅปาร์ตี ซึ่งมีแบ่งกันอยู่ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป การที่ต้องมีปาร์ตีนั้น เพราะถ้าแม้ผู้ที่เฃ้าไปนั่งประชุมในรัฐสภา ต่างคนต่างพูดไป แสดงความเห็นไปตามอัตโนมัตของตนๆ ทุกคน ก็คงจะไม่มีความตกลงกันได้ในเรื่องใดเลย สักเรื่องเดียว จึงต้องเกิดใช้วิธีจัดรวมเปนคณะ คือผู้ที่มีความเห็นพ้องกันในปัญหาสําคัญๆ รวมกันเฃ้าเปนคณะฤๅปาร์ตี เพื่อจะได้ช่วยกันลงความเห็นเหมือนๆ กันมากๆ
ในเมื่อเฃ้าที่ประชุมรัฐสภา ดังนี้เปนที่ตั้ง ครั้นเมื่อเวลาจะมีการเลือกสมาชิกเฃ้ามาใหม่ ต่างคณะก็ย่อมจะต้องมีความประสงค์ที่จะให้ผู้มีความเห็นพ้องกับคณะตนได้รับเลือก ต่างคณะจึงต่างจัดหาบุคคลอันพึงประสงค์ไปให้รับเลือก และต่างคณะจึ่งต่างคิดดำเนินให้คนของตยได้รับเลือกวิธีดำเนินการอันถูกต้องกฎหมายนั้น คือแต่งสมาชิกแห่งคณะไปเที่ยวพูดจาเกลี้ยกล่อมราษฎร ให้แลเห็นผลอันดีที่จะพึงมีมา โดยทางที่ให้คณะได้มีโอกาศทําการโดยสดวก
เมื่อกล่าวมาถึงแค่นี้แล้ว ก็ยังไม่มีสิ่งไรที่นับว่าเสียหายอันจะบังเกิดมีมาได้จากการใช้วิธีเช่นนี้ และถ้าความจริงเปนไปแต่เพียงเท่านี้ ก็เปนอันไม่มีที่ติ แต่ความจริงมิได้หมดอยู่เพียงแค่นี้ คือการเกลี่ยกล่อมมิได้ใช้แต่เฉพาะทางเที่ยวพูดจา ไม่ได้ใช้ฬ่อใจราษฎรแต่ด้วยถ้อยคําเท่านั้น ยังมีฬ่อใจโดยทางอื่นๆ อีก ตั้งแต่ทางเลี้ยงดู จัดยานพาหนะให้ไปมาโดยสดวกและไม่ต้องเสียทุนทรัพย์ จนถึงติดสินบน ตรงๆ เปนที่สุด คณะใดมีทุนมากจึงได้เปรียบมากอยู่ ก็ตกลงรวบรวมใจความว่า ราษฎรไม่ได้เลือกผู้แทนของตน เพราะรู้แน่ว่าเปนคนดี สมควรจะเปนผู้แทนตนด้วยประการทั้งปวงฉนี้เลย…
แต่ผู้ที่มีความคิดชื่อตรงต่อชาติฝ่ายเดียว ไม่คิดถึงตนเองฤๅผลประโยชน์ของตนเองมีอยู่บ้างฤๅ เฃ้าใจว่าถึงจะมีก็จะไม่มากปานใด คนโดยมากถึงว่าจะรักชาติบ้านเมือง ก็มักจะมีความคิดถึงประโยชน์ส่วนตัวเจือปนอยู่เปนอันมาก คงยังมีความต้องการอํานาจและต้องการผลอันจะพึงมีมาแต่การเปนผู้มีอํานาจ ต้องการโอกาศที่จะได้อนุเคราะห์แก่ญาติพี่น้องฤๅคนชอบพอกันบ้างเปนธรรมดาอยู่ ความประสงค์อันนี้ทําให้เกิดมีผลอัน 1 ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ริเริ่มคิดวิธีปกครองด้วย “คอนสติตูชั่น” มิได้ตั้งใจไว้ว่าจะให้มี คือ
3. เกิดมีคนขึ้นจำพวก 1 ซึ่งเอาการบ้านเมือง (ปอลิติค) เปนทางหาชื่อเสียง เอาเปนงานประจําสําหรับทํา เอาเปนทางเลี้ยงชีพทีเดียว ที่มีบุคคลทำเช่นนี้ได้ถนัดก็เพราะเหตุผลอันได้กล่าวมาแล้วในข้อ 2 คือโดยเหตุที่ประชาชนโดยมากมีธุระและกิจการประจําต้องกระทําอยู่ ไม่มีเวลาพอที่จะดูแลฤๅดำริหในทาง “ปอลิติค” จึ่งยอม ให้ผู้ที่เฃามีเวลาจะดําริห์ทาง “ปอลิตค” นั้น นึกแทนพูดแทนไป
การที่มีบุคคลจําพวก 1 ซึ่งทําการคิดการทาง “ปอลิติค” ขึ้นนี้ ถ้าจะว่าไปตามตําราก็ต้องว่าไม่สมควร เพราะตําราว่าการบ้านเมืองให้เปนไปตามแต่ประชาชนจะเห็นชอบพร้อมกันต่างหาก การที่มีบุคคลจําพวก 1 ซึ่งหาชื่อทาง “ปอลิติค” มาเปนผู้คิดแทนดังนี้ ก็กลายเปนอำนาจอยู่ในมือคนจําพวกนี้โดยเฉภาะ จําพวกอื่นถึงจะต้องการอะไร ๆ ก็ไม ได้สมประสงค์ นอกจากที่ความปราถนาจะไปตรงเฃ้ากับพวกนักเลงปอลิติค
ถ้าจะเถียงว่า การที่เปนเช่นนี้มีทางแก้ได้ง่ายๆ คือจัดหาคน ที่ไม่ใช่พวก “ปอลิติเชียน” เฃ้าไปรับเลือกเสียงบ้างก็แล้วกันฉนี้ไซร้ ก็ต้องตอบว่า ขอให้ความจริงว่าเปนไปได้ฤๅไม่ บุคคลที่เรียกตนว่า “อิศระ” (อินดิเปนเดนต์) คือไม่ได้อยู่ในปาร์ตีใดปาร์ตี 1 นั้น นานๆ จะหลุดเฃ้าไปนั่งเปนสมาชิกแห่งรัฐสภาได้สักคน 1 ฤๅ 2 คน
แต่ถึงเฃ้าไปได้แล้วก็ไม่เฃ้าไปทําประโยชน์อะไร เพราะการงานใดๆ ที่จะบรรลุถึงซึ่งความสําเร็จได้ก็โดยปรากฏว่าคนโดยมากเห็นชอบพร้อมกัน คือเมื่อตั้งเปนปัญหาขึ้นในที่ประชุมปาร์ลียเมนต์แล้ว เมื่อถึงเวลาลงคะแนนกัน ก็ต้องเปนไปตามความเห็นของคะแนนข้างมากเสมอ ก็ผู้ที่จะลงคะแนนนั้น โดยมากก็คงจะลงคะแนนตามๆ กัน สุดแต่หัวน่าแห่งคณะของตนจะบอกให้ลงทางไหน ผู้ที่เรียกตนว่า “อิศระ” นั้น ไม่มีพวกมีพ้องที่จะนัดจะแนะกัน เพราะฉนั้นถึงแม้ว่าจะมีความคิด ความเห็นดีปานใดก็ตาม แต่ก็คงไม่สามารถจะบันดาลให้การเปนไป ตามความคิดความเห็นของตนได้
เมื่อการเปนอยู่เช่นนี้แล้ว จะหาผู้ที่สมัคเฃ้าไปเปนสมาชิกอิสระเช่นนั้นก็ยาก ผู้ที่ประสงค์เฃ้าปาร์ลียเมนต์ โดยมากจึงมักแสดงตนว่าเปนผู้เห็นพ้องด้วยปาร์ตใดปาร์ตี 1 แล้วแต่จะเปนการสดวกและตรงความเห็นของตนในขณะนั้น ลักษณะปกครอง เช่นนี้จึงมีนามปรากฏว่า “ปาร์ตี สิสเต็ม” (ลักษณะปกครองด้วยคณะ) คณะผลัดเปลี่ยนกันเฃ้ารับน่าที่ปกครอง ฤๅเรียกตามภาษาของเฃาว่าเปน “รัฐบาล” ( เคาเวอร์นเมนต์) อีกคณะ 1 เรียกว่าเปน “ผู้คัดค้าน” (ออปโปสิชั่น)
คณะที่เปนรัฐบาลนั้นคือคณะที่มีพวกมากในที่ประชุมปาร์ลีย์เมนต์ สามารถที่จะเชื่อใจได้อยู่ว่าการใดๆ ที่จะคิดจัดขึ้น แม้ว่าจะเกิดเปนปัญหาขึ้นในที่ประชุมบ้าง ก็สามารถที่จะท้าให้ลงคะแนนกันได้ โดยไม่ต้องวิตกว่าจะต้องแพ้กันในทางจำนวนคะแนน พอเมื่อใดไม่มีความเชื่อได้แน่นอนในข้อนี้แล้ว ฤๅเมื่อท้าลงคะแนน กันแล้วแพ้ฃ้างฝ่ายผู้คัดค้าน ฝ่ายรัฐบาลก็ลาออกจากตําแหน่ง ผู้คัดค้านเฃ้ารับตำแหน่งแทนต่อไป กลับกันไปมาอยู่เช่นนี้
อีกประการ 1 ในขณะเมื่อปาร์ตีใดได้รับน่าที่ปกครอง ฤๅพูดตามศัพท์อังกฤษว่า “ถืออํานาจ” (“อินเปาเวอร”) ปาร์ตีนั้นก็เลือกเอาแต่คนที่มีความเห็นพ้องกับตนไปตั้งแต่งไว้ในตําแหน่งน่าที่ต่างๆ ในรัฐบาล เปนทางรางวัลผู้ที่เปนพวกพ้องและที่ได้ช่วยเหลือปาร์ตีในเมื่อกําลังพยายามหาอํานาจอยู่นั้น พอเปลี่ยนปาร์ตีใหม่ได้เฃ้าถืออํานาจ เจ้าน่าที่ต่างๆ ก็ เปลี่ยนไปด้วยทั้งชุด ตั้งแต่ตัวเสนาบดีลงไป
การเปลี่ยนเจ้าน่าที่ทําการงานของรัฐบาลทั้งชุดเช่นนี้ ถ้ายิ่งเปลี่ยนบ่อยเท่าใดก็ยิ่งชอกช้ำมาก เท่านั้น การงานก็อาจที่จะเสียหายไปได้มาก ๆ เพราะบางที่คนพวก 1ได้เริ่มคิดไว้แล้ว ตาบยังมิทันได้กระทำไปให้สำเร็จก็มีคนอื่นเฃ้ามารับน่าที่เสียแล้ว งานการก็เท่ากับต้องเริ่มริไปใหม่ เฃาแลเห็นกันอยู่เช่นนี้ทั่วกัน จึงต้องจัดให้มีคนจําพวก 1 ซึ่งเรียกว่า “ข้าราชการ ประจํา” (“เปอรมะเนนต์ ออฟฟิเชียล”) ไว้ในกระทรวงและกรมต่างๆ ทุกแห่ง เพื่อเปนผู้ดําเนินการงานของรัฐบาลไปตามระเบียบเรียบร้อย ซึ่งไม่ผิดอะไรกันกับวิธีจัดระเบียบราชการในรัฐบาลแห่งเมืองอันพระเจ้าแผ่นดินมีอํานาจเต็มเปนผู้ปกครองนั้นเอง เสนาบดีฤๅพวกหัวน่ากรมกระทรวงที่ผลัดกันเฃ้าออกอยู่นั้น เปนแต่ผู้คิดทางการที่จะดําเนินต่อไปอย่างไร
เมื่อคิดแล้วก็ต้องมอบให้พวกข้าราชการประจําเปนผู้ทําต่อไป จะทําได้แค่ไหนก็แค่นั้น พวกข้าราชการประจําเหล่านี้คือผู้ที่ต้องเหน็จเหนื่อยจริง กรากกรำลำบากจริง นั่งออฟฟิซจริง ทําการงานของรัฐบาลจริง แต่พวกเหล่านี้ฤๅได้รับบําเหน็จรางวัลลาภยศฤๅถานันดรศักดิ์ หามิได้เลย ผู้ที่ได้รับบำเหน็จรางวัลคือผู้ที่มาขี่หลัง คือผู้ที่เฃ้ามาครอบ คือผู้ที่เปน พวกพ้องของหัวน่าปาร์ตีที่ถืออำนาจ…
ในจำพวกที่รับบําเหน็จนั้น มีผู้ที่ปรากฏว่าได้ทําประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองจริงๆ เป็นส่วนน้อย (และทหารบกทหาร เรือนานๆ จะมีนามอยู่ในหมู่ผู้รับบําเหน็จสูงๆ สักคราว 1) โดยมากเป็นผู้มีทรัพย์เท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าการมีทรัพย์นั้นแลเป็นเครื่องที่จะบันดาลให้คนได้รับบําเหน็จ ดูๆ ไปก็คล้ายๆ ซื้อบำเหน็จกันได้…
บําเหน็จรางวัลก็คงเป็นอันไปได้แก่คนหัวประจบอีก ไม่ใช่ได้แก่ผู้ที่ทําการงานจริงๆ คราวนี้ก็จะต้องแก้ขึ้นว่า ถึงแม้ว่าจะเปนไปได้เช่นนั้นก็ตาม แต่ถ้าเมื่อใดปรากฎขึ้นว่าคณะซึ่ง เป็นรัฐบาลมีความลําเอียงฤาประพฤติไม่เป็นยุติธรรม ราษฎรก็อาจจะร้องขึ้นได้ และอาจที่จะร้องให้คณะนั้นออกจากน่าที่รัฐบาลเสียได้ เพราะฉนั้น คณะที่เปนรัฐบาลจําจะต้องระวังอยู่ ข้อนี้จริงและถูกต้อง ทุกประการตามตํารา แต่ตามความจริงนั้นเป็นอยู่อย่างไร? ประชาชนจะร้องทักท้วงขึ้นได้ก็โดยอาไศรยปากแห่งผู้แทนซึ่งได้เลือกให้เฃ้าไป เปนสมาชิกแห่งรัฐสภาอยู่แล้ว ก็ในที่ประชุมปาร์ลียเมนต์นั้น แล้วแต่คะแนนมากและน้อยมิใช่ฤา พวกรัฐบาลเขามีอยู่มาก ถึงใครๆ จะร้องจะว่าเขาอย่างไร ๆ เมื่อท้าลงคะแนนกันเข้าเมื่อใดก็ต้องแพ้เขาเมื่อนั้น
อีกประการ 1 การให้บําเหน็จรางวัลผู้ที่ให้เงิน “ลงขัน” กองกลางของ ปาร์ตีนั้น มิใช่ว่าจะกระทําอยู่แต่เฉภาะปาร์ตีเดียว ย่อมจะกระทําอยู่ด้วย กันทุกปาร์ตี เพราะฉนั้นปาร์ตีใดจะร้องติเตียนอีกปาร์ตี ก็ไม่ใครถนัด เป็นเรื่อง “ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่” อยู่ฉนี้ จึงเป็นการยากที่จะแก้ไข ให้หายไปได้ ข้อที่แสดงมาแล้ว ก็นับว่าร้ายอยู่แล้ว แต่ยังมีต่อไปอีกขั้น 1 คือ
4. คณะฤๅปาร์ตีทั้ง 2 ฝ่ายต่างตกลงกันเสียว่าจะผลัดเปลี่ยนกัน เฃ้าเป็นรัฐบาล ผลัดเปลี่ยนกันมีโอกาศได้อุดหนุนพวกพ้องของตน เมื่อได้ตกลงกันเช่นนี้แล้วเมื่อใด ก็แปลว่าถึงที่สุดแห่งความเลวทราม เพราะเป็นอันหมดทางที่จะแก้ไขได้ ในระหว่างที่ปาร์ต “ก” เป็นรัฐบาล ก็อุดหนุนพวกพ้องของตนเสียเต็มที่ ฝ่ายปาร์ตี “ข” ก็ไม่คัดค้านจริงจังอันใด จะคัดค้านบ้างก็แต่พอเป็นกิริยา เพราะนึกอยู่ว่า ไม่ช้าก็จะถึงคราวฝ่ายตนได้เข้าไปนั่งกินบ้าง ความเสียหายอันนี้มีอยู่ แก่ปาร์ลิยเมนต์แทบทุกเมือง แม้แต่ที่เมืองอังกฤษซึ่งนิยมกันว่าเป็นประเทศซึ่งมีปาร์ลีย์เมนต์อันดีที่สุด ก็ยังมีคนอังกฤษเองร้องติอยู่…
การมีปารลียเมนต์ ฤๅเปนริปับลิคไม่ตัดการฉ้อโกงฤๅการไม่สม่ำเสมอให้หมดได้ แต่ว่า ข้อความที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ก็เปน แต่หัวข้อบางข้อ ซึ่งตามความเห็นของเราเห็นว่าเปนสําคัญ และโทษ ทั้งปวงที่ได้แสดงมาแล้วนั้น อาจจะมีได้ไม่เฉภาะแต่ที่ในประเทศซึ่งใช้ ลักษณปกครองเปน “ลิมิเต็ดมอนาร์ค” ถึงในประเทศที่ใช้ลักษณปกครองเปน “รับบลิค” ก็มีได้เหมือนกัน การมีปาร์ลียเมนต์ก็ดี ฤๅ ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนลักษณปกครองเปนริบบลิคไปที่เดียวก็ดี ไม่ตัดการ น้อโกงถาการไม่สม่ําเสมอให้หมดไปได้เลย ถ้าผู้ถืออํานาจยังมีทางที่ เลือกให้บําเหน็จรางวัลแก่ใคร ๆ ได้ตามใจอยู่ตราบใด คนสอพลอและ หัวประจบก็คงยังต้องมีอยู่ตราบนั้น จะผิดกันก็แต่ชื่อที่เรียกผู้มีอํานาจ เท่านั้น แต่ว่า มันก็มีข้อที่ควรคํานึงต่อไปอยู่บ้าง และถึงแม้ว่าจะเปน ข้อที่ไม่พึงใจก็จําจะต้องมองดูตรง ๆ คือ
“เสียงประชาคือเสียงของเทวดา” ความนิยมของคนโดยมาก ในสมัยนทั่วไปมีอยู่ว่า การที่มอบอํานาจไว้ในมือบุคคลคนเดียว ให้เปน ผู้จัดการปกครองชาติบ้านเมืองคนเดียวนั้น ต้องได้คนที่ ดีจริง เก่งจริง สามารถจริง จึ่งจะควรไว้ใจให้เปนผู้ครอบครองได้ โดยไม่ต้องเกรง ว่าบุคคลผู้นั้นจะใช้อํานาจในที่ผิดและไม่เปนประโยชน์ฤๅความสุขแห่ง ประชาชน แต่การที่จะหาคนเช่นนี้ก็มิใช่ง่าย และถ้าพระเจ้าแผ่นดิน ไม่เปนผู้ที่เหมาะแก่น่าที่แล้ว จะเปลี่ยนตัวก็ยาก นอกจากที่เจ้าแผ่นดิน นั้นเองจะมีความรู้สึกว่าตนไม่มีความสามารถพอที่จะทําน่าที่ได้ และมีความรักชาติพอ มีใจเด็ดเดี่ยวพอที่จะสละอํานาจ สละลาภยศและราไชสวรรย์จึ่งหลีกไปเสีย เพื่อให้ผู้ที่ประชาชนนิยมมากกว่าได้มีโอกาศ ทําการเพื่อบังเกิดผลอันใหญ่ยิ่งขึ้นแก่ชาติบ้านเมือง แต่เจ้าแผ่นดินที่จะรู้สึกตัวว่าไม่สามารถนั้นก็หายาก…
ความนิยมของมหาชนเวลานี้เดินไปหาทางประชาธิปตัย คือทางให้อํานาจอยู่ในมือของประชาชนเอง ต้องการที่จะมีเสียงฤๅมีส่วนในการปกครองชาติบ้านเมืองของตนเองให้มากที่สุดที่จะเปนไปได้ และเมื่อความเห็นของคนมากๆ ตรงกันเฃ้าแล้ว ก็ยากที่จะทัดทาน ฤๅคัดค้านไว้ได้ คงจะต้องเปนไปตามความเห็นอันนั้นคราว 1 จะผิดกันก็แต่เวลาจะช้าฤๅเร็วเท่านั้น
นักปราชญ์โรมันจึงได้แสดงเปนภาษิต ไว้ว่า “Vox populi vox dei” แปลว่า “เสียงประชาคือเสียง เทวดา” ขยายความว่าเทวดาเปนผู้ที่นิยมกันว่ามีอานุภาพใหญ่สามารถจะบันดาลให้สิ่งทั้งปวงเปนไปตามปราถนาทุกประการ อันประชาชน ซึ่งมีความประสงค์ตรงกันอยู่แล้วโดยมาก และได้แสดงความประสงค์ อันนั้นให้ปรากฏชัดแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดจะสามารถทัดทานได้ จึงนับว่ามี อานุภาพเปรียบด้วยเทวดานั้น
เมื่อปรากฏอยู่เช่นนี้แล้ว ก็ไม่มีข้อควรสงไสยเลยว่า เมืองไทยเรานี้คงจะต้องเปนไปอย่างประเทศอื่น ๆ ได้ เปนมาแล้ว คงจะต้องมี “คอนสติตูชั่น” อัน 1 เปนแน่แท้ ถึงแม้ การมี “คอนสติตูชั่น” จะมีโทษเช่นที่กล่าวมาแล้วก็ตาม แต่ลักษณะปกครองโดยมอบอํานาจไว้ในมือพระเจ้าแผ่นดินผู้เดียวก็มีโทษอยู่เหมือนกัน (ซึ่งในเวลาบัดนี้มีผู้แลเห็นและรู้สึกอยู่หลายคน !) จึงตก อยู่ในปัญหาว่าจะเลือกเอาอย่างไหน และคําตอบปัญหาอันนี้ ก็มีอยู่ว่า แล้วแต่ประชาชนจะเห็นชอบและประสงค์ทั่วกันเถิด
ส่วนตัวเราเองนั้น ย่อมรู้สึกอยู่ที่ว่า การเปนเจ้าแผ่นดินมีความลําบากปานใด คับใจ เพียงใด ที่ยังคงอุส่าห์ทําการไปโดยเต็มสติกําลังและความสามารถที่โดยหวังใจให้บังเกิดผลอันดีที่สุดแก่ชาติบ้านเมืองของเราเท่านั้น การใดๆ ที่เราจะทําไปให้บรรลุถึงซึ่งความสําเร็จได้ ก็ด้วยอาไศรยความพร้อมใจแห่งฃ้าราชการอันเปนผู้รับน่าที่ทําการงานของรัฐบาล ตั้งแต่เสนาบดีลงไปจนถึงผู้มีตําแหน่งน่าที่น้อยๆ
อาไศรยความไว้ใจแห่งท่านเหล่านี้ อันมีอยู่ในตัวเรา ไว้ใจว่ามีความมุ่งดีและมีความสามาถพอที่จะเปนหัวน่าเปนนายเหนือเฃาทั้งหลายได้ ถ้าเมื่อใดความไว้ใจอันนี้เสื่อมถอยลงไป ฤๅสิ้นไปแล้ว ตัวเราก็เท่ากับท่อนไม้อัน 1 ซึ่งบุคคลได้ทาขึ้น ไว้เปนเตว็ดตั้งไว้ในศาล จะมีผู้เคารพนับถือก็แต่ผู้ที่มีปัญญาถอย ปราศจากความคิดเท่านั้น
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 ตุลาคม 2564