สะพานพระราม ๘ (อีกครั้ง)

By David McKelvey, via Wikimedia Commons

-สืบเนื่องมาจาก ชาตรี ประกิตนนทการ มหาวิทยาลัยศิลปากร เสนอบทวิจารณ์เรื่อง “สะพานพระราม ๘ ทัศนะอุจาดทำลาย “ประวัติศาสตร์” ของ “เมือง”-กรุงเทพฯ” ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยในบางประเด็นเป็นการกล่าวอ้างถึงบทความที่เขียนไว้ในมติชนสุดสัปดาห์เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้าพเจ้าจึงขอใช้สิทธิ์ที่ถูกอ้างถึง เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะซึ่งกันและกัน

-เป็นเรื่องที่น่าดีใจไม่น้อย เพราะบทวิจารณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีคนสนใจและเข้าใจสิ่งก่อสร้างที่เห็นอยู่ โดยเฉพาะงานทางด้านวิศวกรรม เช่น สะพาน สะพานลอย สถานีสูบน้ำ เป็นต้นนั้น ก็เป็นศิลปวัฒนธรรมเช่นกัน ที่ผ่านมาผู้ที่เกี่ยวข้องดูจะสนใจเพียงด้านเทคนิควิทยาการ ชาวบ้านเลยเห็นแต่อรรถประโยชน์ ไม่ทันคิดถึงสุนทรียภาพ แม้ว่าจะเห็นอยู่ทุกวัน

Advertisement

“…ผู้เขียน (ชาตรี) ก็มิได้หมายความว่า ควรสร้างสะพานพระราม ๘ เป็นแค่คอนกรีตที่ให้รถวิ่งผ่านโดยไม่มีคุณค่าใดๆ มากกว่าประโยชน์ใช้สอยก็หาไม่…”

“…ผู้เขียน (ชาตรี) มิได้ต่อต้านแม้เพียงนิดเดียวต่อความคิดที่จะทำให้สะพานแห่งนี้มีความหมายมากกว่าสะพานให้รถวิ่งข้าม…”

– นอกจากนี้ดูเหมือนว่าเจ้าของบทวิจารณ์ดังกล่าวสนใจติดตามเรื่องสะพานพระราม ๘ อย่างมาก เห็นได้จากหลักฐานภาพถ่ายและข้อมูลมากมายที่ใช้ประกอบบทความ รวมทั้งมีการอ้างอิงจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออินเตอร์เน็ตมากมาย

“…หลากหลายคำพูดจากคนทั่วไปและหลายต่อหลายบทความที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์หรือวารสารต่างๆ แม้กระทั่งความคิดเห็นในอินเตอร์เน็ต ต่างมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน…”

“…หลังจากสะพานพระราม ๘ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๕ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นของคนส่วนใหญ่ต่อสะพานพระราม ๘ ล้วนเป็นไปในเชิงบวกแทบทั้งสิ้น…”

– อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักวิจารณ์ คุณชาตรีก็ได้กำหนดบทบาท และขอบเขตของการวิจารณ์สะพานพระราม ๘ ไว้ชัดเจนว่า

“…ทั้งนี้มิใช่ว่าผู้เขียนมีเจตนาที่จะฟื้นฝอยหาตะเข็บ ติในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้แล้ว หรือสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวจะต้องเป็นความจริงทั้งหมดแต่อย่างใด…

…แต่ด้วยข้อจำกัดในความรู้ของตัวผู้เขียน ทำให้เป้าหมายแห่งการตรวจสอบของบทความนี้จึงจำกัดอยู่เฉพาะเรื่อง…”

ซึ่งเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสะพานพระราม ๘ ได้แก่

– ประเด็นแรก เรื่องทัศนะอุจาดที่เกิดขึ้น

“…ด้วยความสูงที่มากถึง ๑๖๕ เมตรของสะพานพระราม ๘ ทำให้ตัวโครงสร้างสะพานสามารถถูกมองเห็นได้จากระยะไกล แน่นอนว่าตัวสะพานย่อมกลายเป็นฉากหลังให้กับทัศนียภาพหลายจุดในบริเวณโดยรอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเองสะพานพระราม ๘ จึงเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสภาวะที่คนทั่วไปเรียกว่า “ทัศนะอุจาด” ได้โดยง่าย…”

โดยสรุปไว้ชัดเจนต่อมาว่า

“…จากการศึกษาวิเคราะห์ทำให้พบว่า สะพานพระราม ๘ มีทั้งบทบาทที่ไม่เป็นทัศนะอุจาด และมีทั้งที่เป็นทัศนะอุจาดในหลายสถานการณ์…

ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านสุนทรียภาพ ที่สัมพันธ์กับทัศนาการ (การมองเห็น) ของทัศนากร (ผู้มอง) ต่อทัศนภาพ (ภาพที่มองเห็น) โดยผู้วิจารณ์ชี้ประเด็นชัดเจนว่า สะพานพระราม ๘ จะเป็นทัศนะอุจาดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาพสะพานพระราม ๘ ที่ปรากฏในทัศนภาพ และขึ้นอยู่กับตำแหน่งทัศนาการของทัศนากร โดยระบุว่า

“…แต่การพิจารณาว่าสิ่งใดจะเป็นหรือไม่เป็นทัศนะอุจาดนั้น ไม่อาจพิจารณาโดยดูเฉพาะเพียงตัววัตถุเป้าหมายเพียงโดดๆ ได้ จำเป็นจะต้องพิจารณาร่วมไปกับการมองในภาพรวมที่มีสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นประกอบ

เมื่อใดก็ตามถ้าเราขึ้นไปบนสะพานพระปิ่นเกล้าหรือยืนอยู่บริเวณสวนสันติไชยปราการตรงริมแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วมองไปยังสะพานพระราม ๘ เราจะรู้สึกว่าสะพานพระราม ๘ มีความงามและไม่รู้สึกว่าสะพานพระราม ๘ เป็นทัศนะอุจาดของเมืองแต่อย่างใด

แต่ในมุมกลับกันถ้าเราถอยเข้ามายืนในบริเวณตัวเกาะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองจากสนามหลวง ป้อมพระสุเมรุ หรือมองจากวังบางขุนพรหมมาสู่ตัวสะพาน ก็จะพบว่าเสาตอม่อ (คำที่ถูกต้อง คือ เสาสูง) ของสะพานจะกลายเป็นฉากหลังคอนกรีตที่เข้ามาทำลายทัศนียภาพของอาคารโบราณสถานเหล่านั้นมากกว่าที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน…”

– คุณชาตรีดูจะยอมรับในเรื่องของบริบท ที่จะสัมพันธ์กับความเป็นทัศนะอุจาด โดยกล่าวไว้ว่า

“…เนื่องจากทัศนะอุจาดมิได้หมายถึงการพิจารณาว่าวัตถุนั้นสวยงามหรือน่าเกลียดโดยตัวของมันเอง แต่ทัศนะอุจาดจะพิจารณาไปกับบริบทแวดล้อมเป็นหลัก

วัตถุบางอย่างแม้ดูไม่น่าเกลียดหรืออาจจะมีความสวยงามมากแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าอยู่ผิดที่ผิดทางผิดบริบท วัตถุนั้นก็เป็นทัศนะอุจาดได้เช่นกัน

พระราม ๘ เป็นจุดเด่นที่สวยงาม และเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนที่องค์ประกอบอันเป็นบริบทแวดล้อมนั้นถูกกลืนหายไปกับความมืดด้วยแล้ว ยิ่งจะทำให้สะพานพระราม ๘ ดูโดดเด่นเป็นสง่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

ถ้ารูปแบบสะพานแบบนี้ไปตั้งอยู่ที่พื้นที่แถบสีลมหรือสาทร หรือที่ใดก็ตามที่ความหมายของพื้นที่มีลักษณะของความเป็นสมัยใหม่ทันสมัยแล้วล่ะก็ จะทำให้สะพานพระราม ๘ เป็นสะพานที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ อย่างแท้จริง คือ สวยทั้งในภาพกว้างระดับเมือง และในภาพแคบ…”

– เมื่อสะพานพระราม ๘ เป็นทัศนะอุจาดจึงทำลายประวัติศาสตร์ของเมืองกรุงเทพฯ เป็นประเด็นที่สองที่ตั้งใจเน้นให้เห็นว่า

“…เป็นวัตถุที่อยู่ผิดที่ผิดทางผิดบริบททางวัฒนธรรม และผิดมิติของเวลา และในที่สุดสะพานพระราม ๘ กลายเป็นทัศนะอุจาดได้ในทันที…

“…สะพานพระราม ๘ ได้กลายเป็นฉากหลังของอาคารทางประวัติศาสตร์หลายๆ จุดอย่างน่าเสียดาย ไม่ว่าจะเป็นวังบางขุนพรหม ป้อมพระสุเมรุ วัดพระแก้ว ศาลหลักเมือง ตึกแดง แม้กระทั่งวัดตรีทศเทพ เป็นต้น…”

“…ภาพแท่งคอนกรีตของสะพานพระราม ๘ ก็ย่อมบั่นทอนคุณค่าของโบราณสถานต่างๆ ที่ตัวมันได้ไปพาดทับอยู่ด้วยไม่น้อยเช่นกัน…”

“…สะพานพระราม ๘ ได้กลายเป็นตัวทำลายประวัติศาสตร์ของเมืองที่แฝงอยู่ในอาคารเก่าๆ เหล่านี้ ทำให้ความซาบซึ้งยามเมื่อมองโบราณสถานต่างๆ หายไป…”

– ประเด็นสุดท้าย คือ ภาพมายา ที่ผู้วิจารณ์พยายามอธิบายให้เห็นว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับสะพานพระราม ๘ ช่วยกันสร้างภาพขึ้น เริ่มตั้งแต่การตกแต่งเล็กน้อย การอธิบายถึงความเป็นไทย จนถึงการเผยแพร่ข้อมูลหรือภาพด้านเดียว จนเกิดเป็นมายาทำให้ประชาชนเข้าใจผิด หวังเพียงเพื่อจะกลบเกลื่อนเรื่องความเป็นทัศนะอุจาด การทำลายประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะตำแหน่งการสร้างสะพานผิด

“…อาจจะเป็นด้วยเกิดข้อติติงจากหลายฝ่ายว่าสะพานพระราม ๘ มีรูปแบบที่แข็งกระด้างแลดูเป็นเพียงแท่งคอนกรีตที่ไม่สวยงามเท่าที่ควร อีกทั้งยังเป็นกระบวนการสร้างความหมายที่เป็นเพียงภาพมายาอันน่าสนใจยิ่งมาโดยลำดับ ตั้งแต่การอ้างว่าสะพานพระราม ๘ จะกลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของกรุงเทพฯ ทั้งๆ ที่กรุงเทพฯ บริเวณดังกล่าวนั้นไม่สมควรที่จะมีสัญลักษณ์ใหม่ ที่สร้างความขัดแย้งกับความหมายเดิมในบริบทของพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์แต่อย่างใด

และต่อมาเมื่อเกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลกระทบด้านทัศนียภาพต่อเมืองและอาคารเก่า ก็ได้เกิดความพยายามในการสร้างภาพมายาว่าสะพานแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามแปลกตา เป็นที่น่าภาคภูมิใจของคนกรุงเทพฯ โดยเน้นเสนอภาพเพียงด้านเดียวอันเกิดจากการมองตัวสะพานในยามค่ำคืนที่บริบทแวดล้อมโดยรอบถูกกลืนหายไปกับความมืด หรือเสนอภาพในจุดที่เป็นรายละเอียด โดยละเลยภาพรวมในมุมอื่นที่มีตัวสะพานเป็นเพียงองค์ประกอบเสริมของเมือง เสมือนเป็นการบอกความจริงเพียงครึ่งเดียวแก่สาธารณชน…”

“…ทั้งนี้โดยมีความเชื่ออย่างผิดๆ ว่า ถ้าปรุงแต่งเปลือกนอก (อย่างผิวเผิน) บางอย่างเข้าไปแล้วจะทำให้สะพานแห่งนี้กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ไทยได้ในที่สุด…”

“…โดยมีวิธีการแก้ไขก็คือ การสวมชฎา คล้องสังวาล วางพานพุ่มบายศรีลงบนตัวสะพาน…”

“…การนำองค์ประกอบ (ที่คิดว่าเป็นไทย) บางอย่างไปปะไปติดไปหุ้มไปสวมเข้าไปเฉยๆ เหมือนนำฝรั่งมาสวมชฎา หรือเอามาลามานำไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เท่านั้น…”

– สาระทั้งสามเรื่องที่คุณชาตรีตั้งใจชี้นำ ดูจะเป็นเหตุเป็นผลอยู่บ้างพอให้เชื่อได้ โดยเฉพาะผู้อ่านศิลปวัฒนธรรมที่ไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงในเรื่องต่างๆ ที่ยกมาอ้างอิง เช่นว่า

เหตุผลการสร้างสะพานขึ้น โดยไม่ให้มีตอม่อกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ใช่เพียงเพื่อลดผลกระทบเรื่องน้ำท่วม อันเกิดจากมีสิ่งกีดขวางทางน้ำ ที่ชะลอการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่อ่าวไทย นั่นเป็นเพียงประเด็นเล็กๆ ที่ไม่สำคัญเท่ากับผลกระทบต่อการกีดขวางพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ซึ่งคุณชาตรีอาจไม่รู้ความจึงนำมาโต้ง่ายๆ ว่า

“…เคยมีการสำรวจจริงจังหรือไม่…”

ทั้งที่เรื่องนี้เป็นที่รู้กันดีภายในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก

“…ปัญหาที่เกิดขึ้นก็เนื่องมาจากฝ่ายผู้รับผิดชอบโครงการ คงมิได้นำเกณฑ์เรื่องผลกระทบในแง่คุณค่าประวัติศาสตร์ต่อเกาะรัตนโกสินทร์ เข้ามาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาร่วมกับเกณฑ์ข้อกำหนดอื่นๆ เท่าที่ควร จึงทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นส่งผลทำลายทัศนียภาพในหลายๆ จุดบนเกาะรัตนโกสินทร์อย่างน่าเสียดาย…”

“…รูปแบบของสะพานพระราม ๘ จึงเป็นเพียงภาพสะท้อนของอาการนิยมเทคโนโลยีอย่างไม่ลืมหูลืมตาอีกครั้งของผู้มีอำนาจรัฐในเมืองไทย อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความไม่สนใจต่อความเห็นแย้งต่างๆ ในสังคมเท่าที่ควร ผลผลิตจากฝรั่งต่างชาติอีกต่างหากทำให้เกิดกระบวนการแปลงสัญชาติให้แก่สะพาน…”

– เข้าใจว่าคุณชาตรีแม้จะติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด แต่ก็พลาดข้อมูลสำคัญ ที่ทำให้กล่าวอ้างผิดๆ ไม่ว่าจะเป็นประเด็น ผู้รับผิดชอบโครงการที่ไม่ได้พิจารณาประเด็นต่างๆ ครบถ้วน ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น การก่อสร้างสะพานพระราม ๘ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการต่อเนื่องมายาวนานกว่าสิบปี เพื่อแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสาขาต่างๆ สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ศิลปะ ภูมิศาสตร์ การวางแผนกายภาพ การวางผังเมือง เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย และรัฐศาสตร์ มีการศึกษาวิจัยมีผลสรุปที่เป็นทางเลือกต่างๆ ไม่นับการรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ ตลอดมา มิเช่นนั้นคงจะไม่มีข่าวสารมาใช้อ้างในบทความได้

แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ ที่ตีขลุมเอาเองว่าสะพานพระราม ๘ เป็นผลงานของฝรั่งต่างชาติ อยากจะบอกว่า ในการก่อสร้างครั้งนี้บริษัทรับเหมา วิศวกร สถาปนิก ช่าง แรงงาน ส่วนใหญ่เป็นคนไทย จะมีเพียงวิศวกรจากประเทศจีนจำนวนไม่กี่คนที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างสะพานแบบนี้มาแล้ว ที่มาช่วยแนะนำการก่อสร้างตัวสะพาน สายเคเบิลสีทองนั้น ผลิตจากประเทศแอฟริกาใต้ (คงไม่นำขยายผลสู่การเหยียดผิว) เนื่องจากมีคุณภาพและราคาเหมาะสม จะมีฝรั่งต่างชาติปนอยู่บ้างเล็กน้อยในฐานะที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง หรือผู้ตรวจสอบคุณภาพ เพื่อประกันความปลอดภัย อย่างเช่น การทดสอบสะพานในอุโมงค์ลมนั้นทำในต่างประเทศ เนื่องจากเมืองไทยยังไม่มีห้องทดลองที่ใหญ่พอ ที่สำคัญไม่ได้มีการซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูปเข้ามา อย่างที่ว่าไว้แน่นอน

น่าเสียดายที่ความไม่รู้ของบุคคลบางคน กลายเป็นการดูแคลนความสามารถของคนไทยด้วยกันเอง ทั้งๆ ที่การออกแบบและก่อสร้างสะพานพระราม ๘ ครั้งนี้ เป็นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสะพานของไทยแท้ๆ

– อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านศิลปวัฒนธรรม คงจะเข้าใจเพราะผู้วิจารณ์ได้ออกตัวไว้แต่ตอนต้นบทความว่า

“…แน่นอนความคิดคัดค้านหลายประการอาจขาดน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ…”

รวมทั้งต้องเข้าใจว่าผู้วิจารณ์ใช้ประสบการณ์ของตน จึงคิดว่าผู้อื่นๆ จะกระทำเช่นเดียวกับตนเอง อย่างเช่น

“…ถ้าเรามาพิจารณาข้ออ้างเรื่องรูปแบบสะพานจากทางฝ่ายผู้รับผิดชอบ ก็จะพบว่ามีหลายข้ออ้างขึ้นมาอย่างลอยๆ ไร้เหตุผลรองรับ อีกทั้งไม่ได้มีการอธิบายในเชิงวิชาการหรือเทคนิคเพื่อยืนยันข้ออ้างเหล่านั้นจริงจังแต่อย่างใด เป็นเพียงการพูดขึ้นลอยๆ โดยหวังจะให้คนทั่วไปเชื่อโดยไม่ตรวจสอบ…”

“…ที่น่าตลกมากที่สุด คือ การยัดเยียดตราพระราชลัญจกรขององค์รัชกาลที่ ๘ ลงไปบนสะพาน ดังที่มีการกล่าวว่าเมื่อเติมแถบสีทองลงบนขาตัววายทั้งสองแล้วจะดูคล้ายซุ้มเรือนแก้วนั้น ก็เป็นการนั่งฝันคนเดียว คิดเองเออเองอย่างแปลกประหลาดที่สุด หรือการที่พยายามฝันไปเองอีกเช่นกันว่า เส้นเคเบิลที่โยงรับน้ำหนักตัวสะพานนั้นเป็นรัศมีออกมาจากองค์พระ ก็ฟังดูเป็นการเพ้อมากเกินไป เรียกว่าเกิดอาการอยากจะเป็นไทยจนเลยเถิด มองทุกอย่างแล้วดึงเข้ามาหาตัวเองหมด…”

“…ระเบียบวิธีคิดเช่นนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นเลยในวงการสถาปัตยกรรม ทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่วงการสถาปัตยกรรมของไทยทำไมถึงไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร ทั้งจากคนไทยด้วยกันเองและต่างชาติ ในเมื่อยังมีการคิดฝันเข้าข้างตนเองอยู่เช่นนี้ และถ้าผู้ออกแบบตัวจริงเขามาได้ยินเข้าก็คงจะหัวเราะเยาะ มากกว่าที่จะยกย่องชมเชยอย่างแน่นอนต่อการกระทำที่เอาสีข้างเข้าถูจนเลือดแทบทะลักดังกล่าว…”

– กลับมาที่ขบวนการวิจารณ์ของคุณชาตรีที่แฝงไว้ในบทความ สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

การเลือกทำเลที่ตั้งสะพานอย่างไม่รอบคอบและรูปแบบสะพานเป็นไปตามข้อกำหนดและเทคนิควิศวกรรมเท่านั้น จึงมีการออกแบบตกแต่งเพียงเล็กน้อยแต่สร้างภาพมายา ว่าสะพานสื่อถึงพระราชลัญจกรและมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย แล้วเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อให้ (ผู้คน) ลืมไปหรือไม่เห็นว่า สะพานเป็นทัศนะอุจาด ทำลายประวัติศาสตร์ของเมืองกรุงเทพฯ

การนำเสนอเช่นนี้ถ้าเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย อาจสอบผ่าน ถ้ากรรมการเผลอและไม่รู้ทัน เพราะเป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกัน แต่เมื่อเป็นการนำเสนอบทวิจารณ์เผยแพร่ในที่สาธารณะ จึงกลายเป็นคำถามเหมือนที่ระบุไว้ในบทความ

“…สังคมน่าจะต้องนำมาขบคิดว่ามีเหตุผลเท็จจริงแค่ไหนอย่างไร …”

– เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้อ่านศิลปวัฒนธรรม ที่อุตส่าห์ติดตามบทวิจารณ์ของคุณชาตรีและบทความนี้ อยากเสนอบทสรุปสำคัญเกี่ยวกับสะพานพระราม ๘ สามเรื่อง ที่อยากให้รับรู้ คือ

๑. สะพานพระราม ๘ เป็นกรณีศึกษาของการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่เมือง ที่ได้รับความสนใจตั้งแต่ขั้นวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง จนกระทั่งแล้วเสร็จเปิดใช้งาน ดังที่เป็นข่าวตามสื่อต่างๆ เป็นระยะ และเป็นหัวข้อสนทนาของประชาชนทั่วไป จึงเป็นเรื่องที่น่าดีใจ หากนำไปเปรียบเทียบกับโครงการขนาดใหญ่ประเภทอื่นๆ รวมทั้งสะพานทั้งหลายที่ก่อสร้างพร้อมกัน หรือก่อนหน้านี้ที่ไม่ได้รับความสนใจมากเช่นนี้ หวังว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกกับโครงการอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

๒. สะพานพระราม ๘ ยังเป็นกรณีศึกษาของโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ในเขตพื้นที่เมือง ที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของโครงการกับบริบทในลำดับชั้นต่างๆ กัน เริ่มจากบริบทของการเลือกที่ตั้ง จากเดิมที่จะสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพระปิ่นเกล้า จนมาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน ที่ห่างมาจากเกาะรัตนโกสินทร์มากขึ้น บริบทของพื้นที่จากวังบางขุนพรหม ถนนราชดำเนิน เกาะรัตนโกสินทร์ จนถึงกรุงเทพมหานครโดยรวม บริบทของผู้คนตั้งแต่ชุมชนถนนวิสุทธิกษัตริย์ ย่านพุทธมณฑลและกรุงเทพมหานคร และบริบทของงานวิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ความกว้างขวางและซับซ้อนของบริบทต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้ยากที่จะเข้าใจหรือมองเห็นภาพรวม หลายครั้งเกิดความเข้าใจผิด หรือพูดผิดๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่รู้ความเพียงบางเรื่อง

๓. หากติดตามบทความเกี่ยวกับสะพานพระราม ๘ ที่เผยแพร่ในมติชนสุดสัปดาห์มาโดยตลอด ผู้อ่านจะพบว่า นอกจากได้อธิบายรูปแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้าง การเลือกที่ตั้ง และบริบทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว เรื่องสำคัญที่ได้กล่าวถึง และถือเป็นหัวใจ คือ ……….