ที่มา | เส้นสายลายสือ: ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มีนาคม 2547 |
---|---|
ผู้เขียน | ติ๊ก แสนบุญ เขียนรูปและเล่าเรื่อง |
เผยแพร่ |
หอระฆังวัดตะหนุ ตั้งอยู่ที่ถนนสายเอเชียระหว่างอยุธยา อ่างทอง และสิงห์บุรี อยู่หลักกม. ๘๓
ลักษณะของเครื่องก่อ ฐานชั้นแรกเป็นฐานปัทม์ตกท้องสำเภา ผนังตัวเรือนทั้ง ๒ ชั้นทำเป็นช่องเปิดจริงและช่องเปิดหลอก ช่องเปิดลักษณะนี้เรียกว่า “ช่องเปิดแบบโค้งกลีบบัว” หรือโค้งแหลม (Pointed Arch) มีวิวัฒนาการจากโค้งกลม (Arch) ของโรมัน หรืออาจจะเป็นรูปแบบของศิลปะเปอร์เซีย
Advertisement
ส่วนผนังระเบียงทำช่องเจาะที่เรียกว่า “ช่องตีนกา” เป็นกำแพงหรือพนักระเบียงของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ส่วนยอดหักไปน่าจะเป็นองค์เจดีย์และมีเจดีย์รายขนาบอยู่ตามมุมทั้ง ๔ มุม ส่วนของงานประดับตกแต่งยังคงเหลือร่องรอยปูนปั้นอยู่ที่รอบจอมของยอดซุ้มช่องเปิด