กำเนิด “ผ้าอ้อมสําเร็จรูป” นวัตกรรมจากสิ่งใกล้ตัว? ที่ช่วยให้การดูแลลูกน้อยง่ายขึ้น

ทารก ใส่ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป กับ แม่
ทารก (ภาพ : Unsplash)

ไม่ว่าคุณจะเคยมีประสบการณ์เป็น “คุณแม่ (คุณพ่อ) ลูกอ่อน” หรือไม่ก็ตาม เชื่อว่าคนส่วนมากในปัจจุบันรู้จัก “ผ้าอ้อมสำเร็จรูป” ที่กลายเป็นหนึ่งในสิ่งของจำเป็นในการเลี้ยงดู ทารก และ เด็กเล็ก  เพราะมันสามารถรองรับสิ่งขับถ่ายของเด็กไว้ไม่ให้ออกมาเลอะเทอะภายนอก ช่วยให้การเลี้ยงดูเด็กง่ายและสะดวกขึ้น

ผ้าอ้อมสำเร็จรูป มีความเป็นมาอย่างไร ปิยวรรณ สุรัญชนาจิรสกุล เขียนอธิบายไว้ในบทความที่ชื่อ “วิวัฒนาการของผ้าอ้อมสำเร็จรูป” (วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 42 มกราคม-มีนาคม 2549) ซึ่งขอสรุปมานำเสนอดังนี้

ผ้าอ้อมสําเร็จรูป กําเนิดในช่วงทศวรรษที่ 40 (ค.ศ. 1940 1949) ในเวลานั้นผู้ปกครองยังครองใช้ผ้าอ้อมเด็กที่เป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าลินินผืนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ และทําการพับด้วยวิธีที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่และ ย่าตายาย แต่พอเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม สภาพการดํารงชีวิตของผู้คนเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นครอบครัวเดียว พ่อกับแม่ที่มีลูกน้อยก็ต้องดูแลลูกเองโดย ไม่มีปู่ย่าตายายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเหมือนเมื่อก่อน และยิ่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้หญิงเริ่มออกทํางานนอกบ้านมากขึ้นทําให้ไม่มีเวลาในการดูแลลูกได้อย่างเต็มที่ การหาตัวช่วยในการดูแลลูกน้อยจึงเริ่มต้นขึ้น

มาเรียน โดโนแวน ผู้คิดค้นผ้าอ้อมสำเร็จรูป (ภาพจาก https://invention.si.edu)

ในปี ค.ศ. 1946 ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีแม่บ้าน ท่านหนึ่งชื่อ มาเรียน โดโนแวน (Marion Donovan) คิดค้นและประดิษฐ์สิ่งที่เธอเรียกว่า “โบทเตอร์ (Boater) โดยการตัดแผ่นพลาสติกจากม่านห้องน้ำมาเย็บคลุมผ้า อ้อมผ้าทําให้ผ้าอ้อมมีสมบัติในการกันน้ำได้ และในการตรึงผ้าอ้อมให้อยู่กับตัวเด็ก เธอก็ได้ทําเป็นกระดุมติดแทนการใช้เข็มกลัดแบบเดิม เธอได้จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการทํา ผ้าอ้อมกันน้ำนี้ไว้ถึง 4 ฉบับ แต่ในเวลานั้นยังไม่มีบริษัท ไหนกล้าลงทุนผลิตและพัฒนาผ้าอ้อมตามแนวทางที่มาเรียนจดสิทธิบัตรไว้

ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 นายจอร์จ เอ็ม โพรเดอร์ (George M. Schroder) ได้พัฒนาผ้าอ้อมที่ใช้ผ้าแบบไม่ถักไม่ทอ (nonwoven) ที่มีลักษณะเป็นแผ่นผ้าที่เกิดจาก การสานกันไปมาของเส้นใย และยึดติดกันด้วยการอัดด้วยความร้อน ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก โดยรูปร่างของผ้าอ้อมนี้ก็ยังคงเป็นผืนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เช่นเดิม

ในปลายทศวรรษนั้นก็ได้มีการพัฒนาผ้าอ้อมที่เรียก ได้ว่าเป็นต้นแบบแรกของผ้าอ้อมสําเร็จรูปขึ้นมาได้ โดยมีรูปแบบคล้ายกับผ้าอ้อมผ้า มีรูปร่างสี่เหลี่ยมใหญ่ๆ ด้าน นอกใช้ฟิล์มพลาสติกหุ้ม ด้านในมีแผ่นกระดาษทิชชูวาง เรียงกันเป็นชั้น ๆ ประมาณ 15 ถึง 25 ชั้น ทําหน้าที่ดูดซับของเหลว ไม่มีเทปกาวเพื่อการยึดติด สามารถรองรับของเหลวได้ประมาณ 100 มิลลิลิตร ซึ่งเป็นข้อจํากัดทําให้ ระยะเวลาในการใช้งานน้อยใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็ต้องทิ้ง

ในช่วงทศวรรษที่ 50 ผ้าอ้อมสําเร็จรูปเริ่มถูกพัฒนา ควบคู่ไปกับการเติบโตของตลาดผ้าอนามัยในยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยผู้ที่มองเห็นช่องทางในการพัฒนาผ้าอ้อม สําเร็จรูปก็คือ วิค มิลส์ (Vic Mills) ซึ่งทํางานอยู่ที่บริษัท พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (Procter and Gamble) เขาได้นําเอาวัสดุที่ใช้สําหรับดูดซับของเหลวที่ใช้กับผ้าอนามัย มาทําเป็นวัสดุดูดซับสําหรับผ้าอ้อมสําเร็จรูป เด็กคนแรกที่ได้มีโอกาสใช้ผ้าอ้อมสําเร็จรูปที่เขาคิดก็คือหลานชายของเขาเอง และในปี ค.ศ. 1961 ผ้าอ้อมสําเร็จรูปยี่ห้อ “แพม เพอร์ส” ก็ได้มีโอกาสออกสู่ท้องตลาดและได้รับความนิยม อย่างล้นหลามเลยทีเดียว แต่การใช้งานก็ยังคงจํากัดอยู่ใน กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา และ ประเทศในแถบยุโรป

ผ้าอ้อมสําเร็จรูปในทศวรรษที่ 50 เริ่มเปลี่ยนวัสดุดูดซับจากกระดาษทิชชูมาเป็น เศษเยื่อไม้แบบที่ใช้ในการผลิตผ้าอนามัย “แพมเพอร์ส” เป็นเจ้าแรกที่ทําการพัฒนาผ้าอ้อมสําเร็จรูปนี้ ทําให้ประสิทธิภาพของผ้าอ้อมสําเร็จรูปมีมากขึ้นกว่าเดิม แถมยัง มีให้เลือกถึงสองขนาดคือ ขนาดกลาง (M. Medium) และ ขนาดใหญ่ (L. Large) แต่ขนาดของผ้าอ้อมสําเร็จรูปในยุค นี้ยังคงค่อนข้างใหญ่เพื่อลดการซึมเลอะ ขนาดกลางมีน้ำ หนักถึง 65 กรัมเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับปัจจุบันผ้าอ้อม สําเร็จรูปมีน้ำหนักประมาณ 20 กรัมเท่านั้น และในตอน นั้นผ้าอ้อมสําเร็จรูปยังไม่มีเทปกาวในตัว จึงทําให้การใช้ งานยังคงไม่สะดวกมากนัก

ในทศวรรษที่ 70 ช่วงทศวรรษนี้ถือได้ว่าเป็นยุคทองของผ้าอ้อมสําเร็จรูป การใช้งานเริ่มแพร่กระจายออกสู่หลาย ๆ ภูมิภาคในโลกไม่ จํากัดอยู่แค่ประเทศพัฒนาแล้วเหมือนอย่างที่ผ่านมา นอกเหนือจากบริษัท พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แล้ว ก็ยังมี บริษัท คิมเบอร์ คลาส์ก (Kimberly Clark) เป็นคู่แข่งที่ สําคัญซึ่งทําให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และราคาของผ้าอ้อมสําเร็จรูปก็ลดต่ำลงด้วย ในปี ค.ศ. 1970 บริษัท จอห์สัน แอนด์ จอห์นสัน คิดค้นการใช้ “แถบกาว” กับผ้าอ้อมสําเร็จรูป ซึ่งทําให้ใช้งานสะดวกขึ้น

ขณะที่วงการแพทย์ก็เห็นว่าขนาดที่ใหญ่เกินไปของผ้าอ้อมสําเร็จรูปซึ่งอาจ ก่อให้เกิดปัญหากับกระดูกระหว่างขาของเด็กทําให้เกิดการโก่งงอได้ ผ้าอ้อมสําเร็จรูปทศวรรษที่ 80 บริษัทต่างๆ เริ่มพัฒนารูปร่างของผ้าอ้อมสําเร็จรูปโดยทําให้คอดตรงส่วนกลาง (ลักษณะเหมือนนาฬิกาทราย) แทนการทําเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมแบบเดิม เพื่อให้เด็กสวมใส่ได้สบายมากขึ้น และในปี ค.ศ. 1983 แถบกาวก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นยางยืดแทน เพื่อเพิ่มความกระชับและสบายในขณะสวมใส่ โดยช่วงแรกยางยึดถูกใช้สําหรับส่วนขาก่อนต่อมาจึงพัฒนาใช้กับส่วนเอวด้วย

ตามมาด้วยการใช้สารดูดซับแบบพิเศษ (Super-absorbent, SAP) ที่มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมโพลิอะคริเลต (Sodium polyacrylate) ที่มีความสามารถในการดูดซับของเหลวปริมาณมหาศาลในช่วงทศวรรษนี้เอง ทําให้ผ้าอ้อม สําเร็จรูปเริ่มมีขนาดบางและน้ำหนักน้อยลงกว่าเดิม สวมใส่ได้ง่ายขึ้น ประสิทธิภาพในการดูดซับเพิ่มขึ้น

ในปี ค.ศ. 1990 ได้เริ่มมีการนําเส้นใยพิเศษที่ผลิตจากโพลีโพรพิลีนมาทําเป็นแผ่นบุชั้นในสุดซึ่งเป็นส่วนที่ สัมผัสกับผิวของ ทารก โดยตรง ปัสสาวะของทารกจะซึม ผ่านเส้นใยนี้ลงไปสู่ส่วนดูดซับที่อยู่ด้านใน เส้นใยนี้ไม่ดูด ซับความขึ้นจึงทําให้ผิวสัมผัสแห้งเหมือนเดิม

ยังไม่รวมถึงลูกเล่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสารสกัดจากว่านหางจระเข้ สารปกป้องผิว เพื่อลดการเป็นผื่นคันสําหรับเด็ก และตัวชี้บอกความเปียกชื้น ได้ถูกเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณพ่อและคุณแม่ให้มากที่สุด และในอนาคตคงมีผ้าอ้อมสําเร็จรูปที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ทําจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562