พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 (จากซ้ายไปขวา) พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา, พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์, พระองค์เจ้าอุไทยวงศ์ และพระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย (ภาพจากประชุมภาพประวัติศาสตร์แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2564
แรกมีลูกโลกและแผนที่สอนในร าชสำนัก เจ้านายเล็ก ๆ สนพระทัยมาก แต่สตรีในราชสำนักไม่พอใจที ่เห็นสยามเป็นจุดเล็กๆ?!
เมื่อ พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงว่าจ้างแอนนา เลียวโนเวนส์ มาสอนหนังสือแก่พระเจ้าลูกย าเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระมเหสี และเจ้าจอม ในพระบรมมหาราชวัง
แอนนาได้สอนหนังสือแก่พระรา ชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาล ที่ 4 หลากหลายวิชา หนึ่งในวิชาที่ได้รับความสน ใจมากที่สุดคือวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาส ตร์ ด้วยตามประสาของเจ้านายวัยพ ระเยาว์ก็ทรงมีความคิดเห็นเ กี่ยวกับโลกไปต่าง ๆ นานาตามจินตนาการ แอนนาต้องอธิบายซ้ำแล้วซ้ำเ ล่าว่าสันฐานของโลกมิได้แบน ราบหรือเป็นรูปทรงสี่เหลี่ย ม
จินตนาการของเจ้านายเล็ก ๆ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ย าก เพราะความคิดและจินตนาการเห ล่านั้นมาจากการที่ได้ทรงศึ กษาหนังสือไทยคือ “ไตรภูมิโลกวินิจฉัย” ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับโลก มนุษย์ สวรรค์ และบาดาล แอนนาได้ฟังเรื่องเล่าที่เธ อคิดว่าน่าพิศวงมากมาย เช่น เรื่องเต่าตัวใหญ่นอนหนุนโล กไว้ และมีปลาที่ทำให้มหาสมุทราป ั่นป่วน ทว่าแอนนาไม่ได้โต้เถียง และรับฟังอย่างสนใจ
ต่อมา แอนนาจึงได้กราบบังคมทูลรัช กาลที่ 4 ขอพระราชทาน “ลูกโลก” และ “แผนที่” มาใช้ในการสอนหนังสือ ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานให้ต ามที่ขอ รัชกาลที่ 4 มีรับสั่งให้ช่างเอาแผนที่ใ ส่กรอบทองหนาและหนัก วางบนแท่นกลางห้องเรียน เจ้านายเล็ก ๆ ทรงตื่นเต้นอย่างมากเมื่อเห ็นของสองสิ่งนี้
เจ้านายเล็ก ๆ สนุกสนานกับการเรียนภูมิศาส ตร์และดาราศาสตร์มากขึ้นเพร าะอุปกรณ์ประกอบการสอนของแอ นนา ต่างก็ทรงพากันมุงดูลูกโลกอ ย่างสนพระทัย ทรงยินดีกับความรู้ใหม่ที่ว ่าโลกหมุนไปในห้วงอวกาศ เจ้านายเล็ก ๆ บางพระองค์ทรงกระตือรื้อร้น เหมือนอย่างนักสำรวจหาขั้วโ ลกเหนือ ต่อมาแอนนายังได้สอนภูมิศาส ตร์อียิปต์ อธิบายแม่น้ำไนล์ และการเดินทางในดินแดนทะเลท รายที่เธอเคยไปเยือนมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่สนอกส นใจ “ลูกโลก” และ “แผนที่” ไม่แพ้กันก็คือสตรีในราชสำน ัก มีบันทึกว่า
“ตลอดเวลาเก้าวัน แอนนาต้องอธิบายเรื่องภูมิศ าสตร์และดาราศาสตร์แก่ผู้หญ ิงในราชสำนักที่พากันมาเป็น หมู่ ๆ พวกเขาไม่พอใจนักที่เห็นประ เทศสยามถูกย่อไว้เป็นเพียงจ ุดเล็ก ๆ บนโลกอันใหญ่โต สิ่งเดียวที่ทำให้พวกเขาสบา ยใจคือ ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศ ของครูรู้สอนยังเล็กกว่าประ เทศสยาม”
บรรดาสตรีในราชสำนักเป็นกลุ ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้เรี ยนหนังสือกับแอนนา มักจะแวะเวียนมาดูแอนนาสอน แต่ไม่สู้จะเรียนจริงจังเหม ือนเจ้านายเล็ก ๆ มีเพียงเจ้าจอม-เจ้าจอมมารด าบางคนที่ตั้งใจเรียนกับแอน นา เช่น เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น ทว่าหลังจากหายตื่นเต้นกับ “ลูกโลก” และ “แผนที่” แล้ว สตรีในราชสำนักบางคนก็ไม่ได ้ย่างกรายไปที่ห้องเรียนอีก
อ้างอิง :
มากาเร็ต แลนดอน. แปลโดย กัณหา แก้วไทย. (2529). แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม ANNA AND THE KING OF SIAM . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บีเอส พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิเคชั่น.
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 20 มีนาคม 2563