หรือว่าไดอารี่ของ “แอน แฟรงค์” จะเป็นแค่เรื่องแต่ง !?

หากไปถามคนทั่วไปให้ระบุเหยื่อที่ถูกฆ่าในห้องแก๊สของนาซีเยอรมัน และต้องเป็นชาวยิว โอกาสที่จะตอบว่าแอน แฟรงค์มีอยู่มาก แต่ที่แท้จริง แอน แฟรงค์ ไม่ได้สิ้นชีวิตในห้องแก๊ส แต่เสียชีวิตด้วยโรคไทฟู หรือที่เรียกกันว่าโรคสาดใหญ่ ติดต่อกันโดยสัมผัส โรคไทฟูต่างจากโรคไทฟอยด์ หรือโรคสาดเล็กซึ่งติดต่อกันทางอาหาร กระนั้นก็ตามอนุทินของแอน แฟรงค์ ก็มีปัญหาชวนสงสัยในแง่ประวัติศาสตร์หลายประเด็นด้วยกัน

เมื่อผมอายุได้ 9 ขวบ เคยอ่านงานของเธอเป็นภาษาไทย ทุกวันนี้มีงานอนุทินที่แปลเป็นไทยเกินกว่า 8 ฉบับ หนังสือเล่มแรกของเธอออกมาในปี ค.ศ. 1947 และกลายเป็นเบสต์เซลเลอร์ทันที พิมพ์ทั้งหมดกว่า 70 ครั้งด้วยกัน ห้องสมุดเล็กและใหญ่ในยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ทุกแห่งมีเรื่องของเธอ นอกจากนี้ยังแปลออกเป็นภาษาต่าง ๆ อย่างน้อยอีก 70 ภาษา ทั้งขายได้มากกว่า 40 ล้านเล่ม

มีข้อสงสัยอยู่มากว่า เป็นนวนิยาย หรือเรื่องจริงกันแน่ หรืออาจจะเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ในโลกเชื่อกันว่า ยิว รวมทั้งแอน แฟรงค์ ซึ่งเป็นชาวยิวคนหนึ่งถูกสังหารกว่า 6 ล้านคน โดยนาซี ดังนั้นอนุทินของเธอจึงเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือ

ความจริง แอน แฟรงค์ มีชื่อจริงคืออันเนลิอุส แฟรงค์ เธอเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง นี่เป็นประเด็นที่ชัดเจน แต่มีคำถามบางอย่างเกี่ยวกับไดอารี่ของเธอ

แอนแฟรงค์เป็นเด็กผู้หญิงชาวยิวที่มีความสนใจสิ่งรอบข้าง เป็นเด็กที่อาจใช้คำภาษาอังกฤษว่า saucy อาจแปลเป็นภาษาไทยว่าสะเออะ เธอมีชีวิตอยู่ในเมืองอัมสเตอร์ดัม แต่เธอก็รู้เห็นทุกอย่าง กระนั้นเธอก็เขียนอย่างใช้คำผิด ๆ ตอนที่อายุ 13-15 ปี ครอบครัวของเธอซ่อนอยู่ในหลังบ้านของชาวฮอลันดาพร้อมกับชาวยิวอีก 4 คน รวมกันมี 8 ชีวิตด้วยกันในช่วงที่เยอรมนียึดครองประเทศฮอลแลนด์

บิดาของแอน แฟรงค์ ชื่อ ออตโต ร่ำรวยจากลิขสิทธิ์ของหนังสือเล่มนี้ นอกจากนี้ยังทำเป็นภาพยนตร์อันมีอิทธิพลต่อคนชมเป็นล้านๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะเด็กๆ ที่อาจเชื่อในตำนานอยู่แล้ว

ไดอารี่นี้เริ่มต้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 1942 และลงท้ายในตอนจบในวันที่ 1 สิงหาคม 1944 หลังจากนั้นไม่นาน พวกนามสกุลแฟรงค์และเพื่อน ๆ ถูกค้นพบตัวและจับกุมโดยนาซี ได้ถูกส่งไปที่ออสวิทซ์ในเดือนกันยายน 1944 บิดาของแอน แฟรงค์ ติดโรคไทฟู แต่น่าแปลกที่นาซีให้เข้าโรงพยาบาลได้จนหายเป็นปกติ ออตโตเป็นหนึ่งในจำนวนน้อยที่พวกนาซีทิ้งไว้ข้างหลังตอนที่พวกเขาออกมาจากออสวิทซ์ในเดือนมกราคม 1945 ก่อนหน้าที่เมืองนี้ถูกพวกกองทัพแดงของรัสเซียบุกเข้ามา

แอนถูกย้ายไปค่ายเบลบาน เบลเสน ที่ที่เธอตายด้วยโรคไทฟูในเดือนมีนาคม 1945 น่าสนใจที่เธอและครอบครัวของเธอไม่ถูกรมแก๊สโดยฝ่ายเยอรมัน กระนั้นข้อผิดพลาด หรือข้อบกพร่อง หรือข้อขัดแย้ง หรือข้อไม่ตรงกันก็เกิดขึ้น เช่น รักษาออตโตจนหายเป็นปกติ ผู้ที่เชื่อในการสังหารหมู่ชาวยิวนั้นยืนยันมั่นเหมาะว่าออสวิทซ์เป็นเครื่องมือในการสังหารคนจำนวนมาก ไม่มีใครที่นาซีปล่อยให้หายจากโรค ยกเว้นยิวที่ไม่ภักดีต่อความเป็นยิว อันเป็นคำถามที่น่าสนใจ

ตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ออตโตซึ่งหายเป็นปกติแล้ว ได้กลับไปบ้านที่อัมสเตอร์ดัม และกล่าวว่าได้ค้นพบอนุทินของเธอในจันทัน ดังที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า rafter กระนั้นแม่บ้านชาวฮอลันดาก็กล่าวว่า เป็นคนค้นพบไดอารี่และเอาให้แก่ออตโต ในภาษาอังกฤษฉบับที่แปลจากเยอรมันมีขนาดเพียง 6 x 4 นิ้ว และหนาแค่ 1 ใน 4 นิ้ว เรียกได้ว่ามีการแต่งเติมให้หนากว่าเดิมอีกมาก

น้อยคนที่รู้ว่าอนุทินของแอน แฟรงค์ อาจเป็นนวนิยาย “ต้นฉบับ” ที่บอบบางกล่นเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาเลียน ที่หนาขนาด 300 หน้า ดูเหมือนมีการแต่งเติมเสริมต่อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามอาจเป็นเรื่องลี้ลับอีกเรื่องหนึ่งหรือว่า “ต้นฉบับ” อาจเป็นกึ่งนวนิยายก็ได้

อันเนลิอุส แฟรงค์ผู้นี้เขียนทั้งหมดไม่มาก ข้อน่าสังเกตคือ “ต้นฉบับ” เขียนด้วยลายมือต่างกัน เป็นไปได้ไหมที่ลายมือของเธอเปลี่ยนเป็นหลายลายมือ มีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ อีกอย่างหนึ่งลายมือทั้งหมดนี้ก็ไม่ เหมือนลายมือของผู้อ้างตนเป็นแอน แฟรงค์ มิหนำซ้ำเขียนขึ้นบางตอนด้วยปากกาลูกลื่น ปากกาชนิดนี้ตามพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้สมัยใหม่ในนิวยอร์กยังไม่คิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้อที่เคยอ่านงานเขียนของผู้รู้บางคนอาจเขียนขึ้นทีหลังโดยออตโตเป็นส่วนใหญ่ แต่มีคนอื่น ๆ ที่ร่วมเขียนด้วย

ข้อความที่ควรค่าแก่การพินิจก็คือ “ต้นฉบับ” ยาวเกือบ 300 หน้า หรือ293 หน้าโดยประมาณ มีลีลาชั้นเชิงในการเขียนชั้นสูง มีข้อมูลละเอียดในเชิงประวัติศาสตร์ แม้มีบางส่วนที่ไม่ถูกต้องและบิดเบือน ทั้งเขียนอย่างผู้ใหญ่เขียน อาจเป็นไปไม่ได้ที่เขียนโดยเด็กวัยรุ่นที่ยังไม่รู้ลีลาแม้ว่าอาจฉลาดหลักแหลมในตัว อีกข้อหนึ่งซึ่งสร้างความประหลาดใจก็คือ รู้วิธีการของนาซีอย่างละเอียดที่ทำกับพวกยิว

เรื่องที่ประหลาดใจอย่างหนึ่ง ตอนต้น ค.ศ. 1977 ได้มีนักเขียนชาวสวีเดนชื่อดิทเลียบ เฟลเดอส์เรอร์ ได้ขอให้ออตโต แฟรงค์ พบกับเขาพร้อมด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิสูจน์ว่าลายมือในไดอารีจริงหรือปลอม

บิดาของแอน แฟรงค์ได้ปฏิเสธที่จะให้พบว่าเป็นอนุทินปลอมทั้งยังมีการประกาศอีกว่า ออตโตขีดฆ่า ขูดลบข้อความทางเพศหลายแห่งในอนุทิน อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่ยอมให้สำรวจ ผู้ชำนาญการหรือตุลาการทางกฎหมายซึ่งเป็นชาวเยอรมันได้ประกาศว่าเป็นไดอารี่ของจริง แต่เยอรมนีก็ยังปกครองโดยกลุ่มไซออนนิสต์ หรือกลุ่มที่ได้รับชัยชนะในการจัดตั้งอิสราเอล

แม้ว่ามีการปกครองดังกล่าว ศาลอาญาของรัฐในเยอรมนีตะวันตกได้รายงานต่อศาลเขตในเมืองฮัมบูร์กในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1980 ลายมือของแอน แฟรงค์ ไม่ใช่ของเด็ก แต่เป็นลายมือของผู้ใหญ่หลาย ๆ คนบางข้อความมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลัง ค.ศ. 1951 จึงเป็นได้อย่างมากว่า งานนี้อาจเป็นงานไม่จริง

ทว่า หลายคนก็เชื่อว่า ลายมือของแอนเป็นลายมือที่มีลักษณะผู้ใหญ่ จึงได้ขอออตโต แฟรงค์ให้แสดงลายมือของแอน แฟรงค์ ซึ่งเขาเองก็ปฏิเสธอีกเช่นกัน


(คัดลอกส่วนหนึ่งจากบทความ “ไดอารี่ (อนุทิน) ของ แอน แฟรงค์ (Anne Frank) ประวัติจริงหรือประวัติปลอม” เขียนโดย ส. นพพร ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2548)