“พันปากพล่อย” ราชทินนามนี้เกิดมาจากไหน? เหตุใดเจ้านายถึงตั้งให้

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา แสดงให้เห็นชายหญิงต่างชาติขณะเข้าบทรักอยู่ในตัวอาคาร โดยมีสาวชาวบ้านเดินผ่านอยู่ด้านนอก

ราชทินนาม พันปากพล่อย’ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

คือในครั้งนั้นมีภิกษุรูปหนึ่งชื่อ กรุด ประพฤติผิดศีลผิดวินัยต้องโทษ ปาราชิกสึกออกมา

แต่รัชกาลที่ 4 คงจะทรงเห็นว่า เป็นคนพูดจาอะไรโพล่งๆ จึงทรงแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น พันปากพล่อย

ในครั้งนั้นใครๆ ก็ว่ารัชกาลที่ 4 ทำเหมือนครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งพันสี พันลาเป็น ขุนวิจิตรจูล และ ขุนประมูลราชทรัพย์ ซึ่งใช้อำนาจขูดรีดราษฎร

แต่รัชกาลที่ 4 ทรงค้านว่าไม่ได้หลงงมงายเชื่อฟังไปหมดทุกเรื่อง

เหตุที่ทรงตั้งนายกรุดเป็นพันปากพล่อยก็เพราะ

อ้ายกรุดนี้มันพูดไม่เกรงใจใครเหมือนบ้า มันได้ยินได้เห็นอะไรก็พูดไม่มีประมาณ ในหลวงจึงตั้งให้เป็นอ้ายพันปากพล่อย ตามที่มันได้เป็นบ้านั้น แลมันว่าอะไรในหลวงก็ไม่เอาเป็นจริงนัก เอาแต่ที่มันมีสลักสำคัญจริงๆ

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


ข้อมูลจาก :

ส.พลายน้อย. ขุนนางสยาม. กรุงเทพฯ : สนพ.มติชน, 2559.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 1 กันยายน 2559