ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารพระนารายณ์

ภาพเขียนสีน้ำรูปกองกำลังสยามปิดล้อมป้อมฝั่งตะวันออกที่บางกอก เมื่อพ.ศ. 2231 สมัยสมเด็จพระนารายณ์

ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารพระนารายณ์

23 กันยายน .. 2228 คณะราชทูตไทยที่ไปฝรั่งเศสกลับถึงกรุงศรีอยุธยา คณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เดินทางเข้ามาด้วย โดยมี เดอ โชมองต์ เป็นราชทูต

.. 2228 เจ้าหน้าที่บริษัทการค้าอินเดียตะวันออกของอังกฤษที่เมืองสุรัต ส่งพ่อค้าเข้ามากรุงศรีอยุธยา คือ โรเบิร์ต ฮาบิน แดเนียล กิป็อต โทมัส เยล

Advertisement

18 ตุลาคม .. 2228 คณะราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ จุดประสงค์ของคณะราชทูตชุดนี้คือ การโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีต นับถือศาสนาคริสต์

10 ธันวาคม .. 2228 สมเด็จพระนารายณ์ทรงมอบให้ฟอลคอน เป็นผู้แทนพระองค์มีอำนาจเต็มแห่งพระเจ้าอยู่หัว ทำสัญญากับเอกอัครราชทูตวิสามัญ เชอร์วาเลีย เดอ โชมงต์ ตามสัญญาฉบับนี้ฝรั่งเศสได้สิทธิในการเผยแพร่คริสตศาสนา และทำการสั่งสอนศิลปวิทยาการแก่ราษฎรไทยได้ เมื่อคณะราชทูตจะเดินทางกลับ สมเด็จพระนารายณ์ทรงขอยืม เรือโท ฟอร์บัง ไว้รับราชการในกองทัพ และทรงขอยืม เดอ ลามาร์ ไว้เพื่อให้บูรณะป้อมปราการที่เมืองบางกอก ลพบุรี พิษณุโลก มะริด และสงขลา

11 ธันวาคม .. 2228 เกิดจันทรุปราคา สมเด็จพระนารายณ์ทรงทอดพระเนตรด้วยกล้องดูดาวกับคณะบาทหลวง

12 ธันวาคม ..2228 คณะราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลา สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตไทยไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วย คณะราชทูตไทยประกอบด้วย ออกพระวิสูตรสุนทร ราชทูต ออกหลวงกัลยาไมตรี อุปทูต ออกขุนศรีวิศาลวาจา ตรีทูต

22 ธันวาคม .. 2228 เรือของคณะราชทูตไทย และราชทูตฝรั่งเศส ออกจากสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา คณะทูตชุดนี้ถึงฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.. 2229

.. 2228 สมเด็จพระนารายณ์ ทรงมีพระราชปุจฉา เรื่องแขกเมืองเข้ามามาก กับพระมหาพรหม วัดปากน้ำประสบ

สิงหาคมกันยายน .. 2229 เกิดกบฏมักกะสันที่กรุงศรีอยุธยา ฟอลคอนเป็นหัวหน้าดำเนินการปราบปรามได้สำเร็จ

.. 2229 ระหว่างเกิดกบฏมักกะสัน สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯให้เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ เสด็จกลับไปประทับที่กรุงศรีอยุธยา

พระมหากษัตริยาธิราชแห่งกรุงสยาม (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) โดย De L’Armessin ปี ค.ศ. 1688 (พ.ศ. 2231)

5 มิถุนายน .. 2230 เจ้าเมืองมัทราสส่งเรือรบเคอร์ตานา เข้ามาที่อ่าวเมืองมะริด

มิถุนายน .. 2230 กัปตัน เวลเดน เชิญพระราชโองการของพระเจ้าเจมส์ที่สองมายังชาวอังกฤษที่รับราชการในไทยให้เดินทางกลับ และให้บริษัทยื่นฟ้องรัฐบาลไทยให้ชำระค่าเสียหาย กัปตันเวลเดนมีอำนาจในการตัดสินใจพิจารณายึดเมืองมะริด

สิงหาคม .. 2230 เกิดการสู้รบระหว่างทหารอังกฤษกับทหารไทย ที่เมืองมะริด จอร์จ ไวต หนีไปเมืองมัทราส เบอร์นาบี ถูกฆ่าตาย ทหารอังกฤษถูกจับเป็นเชลย 300 คน

11 สิงหาคม .. 2230 สมเด็จพระนารายณ์ทรงประกาศสงครามกับบริษัทการค้าของอังกฤษ บริษัทของอังกฤษส่งบัญชีค่าเสียหายให้ไทยชำระ เป็นเงิน 5 แสนรูปี

22 กันยายน .. 2230 เรือรบอังกฤษชื่อ เพิร์ลส์ จากเมืองมัทราส เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือชาวอังกฤษที่เมืองมะริด

27 กันยายน .. 2230 คณะราชทูตไทยกลับจากฝรั่งเศส เรือถึงปากน้ำเจ้าพระยา คณะราชทูตฝรั่งเศสชุดใหม่เดินทางเข้ามาด้วย พร้อมทั้งกองทหารฝรั่งเศส 636 คน มีเมอซิเยอร์ เดอ โวรีกูรต์ เป็นผู้บัญชาการเรือ เมอซิเยอร์ เดส์ฟาร์จ เป็นผู้บัญชาการกองทหาร เมอซิเยอร์ เดอ ลา ลูแบร์ เป็นราชทูต

.. 2230 ฟอลคอนได้รับพระราชทานที่ดินให้สร้างสามเณราลัย ชื่อ วิทยาลัยคอนสแตนติเนียน

11 ธันวาคม .. 2230 ออกญาพระเสด็จ และออกพระศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นผู้แทนฝ่ายไทยเซ็นสัญญาการค้ากับเซเบอเรต์ ผู้แทนฝรั่งเศส ให้สิทธิในการค้าขาย โดยไม่ต้องเสียภาษี สิทธิในการพิพากษาอรรถคดีเกี่ยวกับคนฝรั่งเศส ฯลฯ สัญญาฉบับนี้ยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่อกัน จึงไม่มีผลบังคับ

13 ธันวาคม .. 2230 สมเด็จพระนารายณ์ โปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลา ณ พระราชวังเมืองลพบุรี

17 ธันวาคม .. 2230 เซเบอเรต์ ออกเดินทางจากเมืองบางกอกไปทางเมืองมะริด

4 มกราคม .. 2231 คณะราชทูตออกเดินทางจากสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้บาทหลวง ตาชาร์ด เป็นราชทูตพิเศษอัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และ สันตปาปาอินนอเซนต์ที่ 11 ณ ราชสำนักวาติกัน

17 กุมภาพันธ์ .. 2231 เมอซิเยอร์ เดอ บรูอังต์ ออกเดินทางจากบางกอกนำกองทหารฝรั่งเศสขึ้นไปรักษาเมืองมะริด

23 กุมภาพันธ์ .. 2231 ฟอลคอนให้หลวงพ่อ เดอ แบซ ลงไปเมืองบางกอก เมื่อกลับมาได้นำทหารไทยขึ้นมา 2 กองร้อย

มีนาคม .. 2231 ฟอลคอน เรียกตัวนายพลเดฟาร์จขึ้นไปพบที่เมืองลพบุรี ชี้แจงให้ทราบว่าสมเด็จพระนารายณ์กำลังทรงพระประชวร และมีกลุ่มบุคคลกำลังจะก่อกบฏ ขอให้นายพลเดฟาร์จกลับไปบางกอก แล้วนำกองทหารฝรั่งเศสขึ้นไปยังเมืองลพบุรี

นายพลเดส์ฟาร์จได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ในโอกาสเดียวกันนี้ นายพี. จอง ริโชด์ ได้เข้าเฝ้าถวายปฏิทินด้วย

23 มีนาคม .. 2231 นายพลเดส์ฟาร์จ นำกองทหารออกจากเมืองบางกอกจะขึ้นไปเมืองลพบุรี

14 เมษายน .. 2231 นายพลเดส์ฟาร์จ นำกองทหารฝรั่งเศสขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุธยา ได้ข่าวลือว่าสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต จึงลังเลใจไม่กล้านำกองทหารขึ้นไปเมืองลพบุรี เขาได้ปรึกษาขอความเห็นจากสังฆราชปัลลูว และเมอซิเยอร์ เวเร่ต์ผู้จัดการบริษัทการค้าฝรั่งเศส ทุกคนให้ความเห็นว่า ควรนำกองทหารฝรั่งเศสกลับบางกอกเสีย

16 เมษายน .. 2231 ซิเยอร์ เลอ รัว นำจดหมายของนายพลเดส์ฟาร์จ ถึงฟอลคอน สอบถามข่าวลือการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระนารายณ์

18 เมษายน .. 2231 ซิเยอร์ เลอ รัว กลับมาแจ้งข่าวว่าสมเด็จพระนารายณ์ยังทรงอยู่ นายพลเดส์ฟาร์จกลับจากบางกอกและส่งเมอซิเยอร์ดาซิเยอ ขึ้นไปขอโทษฟอลคอน

6 พฤษภาคม .. 2231 ฟอลคอน ส่งหลวงพ่อ เลอ รัว และ เลอบรังก์ ไปบางกอกให้ยกกองทหารมาลพบุรี

17 พฤษภาคม .. 2231 สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้ฟอลคอนเข้าเฝ้าด่วน เพราะทรงทราบจากพระปีย์ว่า ออกพระเพทราชาจะก่อกบฏ

สมเด็จพระนารายณ์ ตามจินตนาการของจิตรกรชาวฝรั่งเศส

18 พฤษภาคม .. 2231 ออกพระเพทราชา ยึดพระราชวังเมืองลพบุรี ปราบปรามศัตรูและเจ้านายคนสำคัญเช่น ฟอลคอน พระปีย์ เจ้าฟ้าอภัยทศ

20 พฤษภาคม .. 2231 ออกพระเพทราชาเข้าครอบครองพระบรมมหาราชวัง ออกคำสั่งให้นายพลเดส์ฟาร์จนำทหารฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งขึ้นมาปรึกษาราชการ

27 พฤษภาคม .. 2231 ออกพระเพทราชาส่ง ออกญาโกษาธิบดี (ออกพระวิสูตรสุนทร) ลงไปพบนายพลเดฟาร์จ

5 มิถุนายน .. 2231 นายพลเดฟาร์จขึ้นมาเฝ้าออกพระเพทราชา แต่ไม่ได้นำทหารไปด้วย

5 มิถุนายน .. 2231 ฟอลคอนถูกนำไปสำเร็จโทษ เวลา 4 ทุ่ม

8 กรกฎาคม .. 2231 หลวงพ่อ เดอ แบซ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ใช้ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะให้พระองค์ทรงรับศีลรับบาป เพื่อเข้ารีต

11 กรกฎาคม .. 2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต

18 กรกฎาคม .. 2231 นายพลเดส์ฟาร์จ ลงนามในสัญญาสงบศึก คุมกองทหารฝรั่งเศสออกไปนอกพระราชอาณาจักร

(รวบรวมโดย ปรีดี พิศภูมิวิถี ได้รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จากเอกสารทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้ ถ้าเหตุการณ์ใดระบุวันเดือนปีได้ ก็จะใส่ลงไป แต่ถ้าเหตุการณ์ใดไม่สามารถระบุวันได้ ก็จะลงแค่ปีพุทธศักราช)

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 12 เมษายน 2561