ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
สงสัยไหม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ใครใช้คำว่า “นาย” นำหน้าชื่อได้บ้าง?
ในประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2404 ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในหัวข้อ “ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆ (ณ วันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีระกา ตรีศก)” ว่า…
“มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า คนในพระราชอาณาจักรมิใช่จีน มิใช่ฝรั่ง แขก ญวน พม่า มอญ ซึ่งมาแต่เมืองจีน เมืองฝรั่ง เมืองแขก เมืองญวน เมืองพม่า เมืองมอญ แลมิใช่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชีพ่อพราหมณ์ หลวงญวน หลวงจีน บาทหลวงฝรั่ง โต๊ะแขก รูปชี แพทย์หมอ และครูอาจารย์สอนหนังสือก็ดี
ยกเสียแต่ข้าราชการที่มีชื่อตามบรรดาศักดิ์ แต่หมื่นขึ้นไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาแลเจ้าพระก็ดี แลยกเสียแต่พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ แลเจ้าประเทศราช แลเจ้าซึ่งเป็นบุตรหลานพี่น้องของพระเจ้าประเทศราชตลอดลงไปจนท้าวเพี้ยในเมืองลาว พระยาพระในเมืองเขมร ตองกูตวนเจะในเมืองมลายู จ่ากังในพวกกะเหรี่ยงก็ดี
แล้วชายสามัญทั้งปวง มีคำหน้าชื่ออยู่แต่สองอย่าง คือนายอย่างหนึ่ง อ้ายอย่างหนึ่ง ตั้งแต่นายยามหุ้มแพรมหาดเล็ก แลนายเวรตำรวจนายม้าจูง นายท้ายช้าง ลงไปจนตัวเลกหมู่ไพร่หลวงสามัญ มิใช่ไพร่หลวงมหันตโทษ แลนักโทษที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ มิใช่ไพร่หลวงมหันตโทษ แลนักโทษที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ แลขาดบรรดาศักดิ์ก็ดี ไพร่สมกำลัง แลลูกหมู่มิใช่ทาสมิใช่เชลยก็ดี มีคำนำหน้าชื่อว่า นายทั้งหมด
ตัวแลลูกหมู่ไพร่หลวงมหันตโทษ แลนักโทษที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ แลขาดบรรดาศักดิ์แล้ว แลตัว แลลูกหมู่ ทาส เชลย ทั้งปวงมีคำนำหน้าชื่อว่าอ้าย หญิงเช่นผู้ชายที่มีคำว่าหน้าชื่อว่าอ้าย ทั้งปวงนั้นย่อมมีคำนำหน้าชื่อว่า อี ทั้งสิ้น”
จากข้อมูลดังกล่าวคงทำให้ทราบได้แล้วว่าชายผู้ใดสามารถใช้คำว่า “นาย” นำหน้าชื่อได้บ้างในสมัยรัชกาลที่ 4…
หมายเหตุ : ปรับย่อหน้าโดยกองบรรณาธิการ
อ่านเพิ่มเติม :
- “หมอบรัดเลย์” เผย ทำไมการสอนภาษาอังกฤษ “เจ้าจอม” ช่วงต้นรัชกาลที่ 4 ถึงล้มเหลว
- บทบาทสตรี สมัยรัชกาลที่ 4-5 นอกจากเป็นแม่ เป็นเมีย ยังเป็นอะไรอีกบ้าง?
- กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส “พระราชโอรส” พระองค์แรกในรัชกาลที่ 4
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 4 กรกฎาคม 2567