ทำไมเรียก “น้ำพริกลงเรือ” และที่มาของชื่ออันเป็นอาหารชาววังโดยไม่ตั้งใจ

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ (ไม่ปรากฏแหล่งที่มา)

น้ำพริกลงเรือ เป็นน้ำพริกกะปิชนิดหนึ่งในตำรับอาหารชาววัง ที่มีรสชาติเปรี้ยวเค็มเผ็ดหวานเข้ากันอย่างกลมกลืน รับประทานเคียงกับทั้งผักต้มและผักสด เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินและได้ลิ้มรสน้ำพริกลงเรือปัจจุบันยังเป็นที่คุ้นหูอย่างมาก น้ำพริกลงเรือมีตำนานที่มาว่ากันว่า

ครั้งหนึ่งสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดลมีพระประสงค์จะแล่นเรือท่องไปตามคูคลองในเขตอุทยานวังสวนสุนันทาจึงมีรับสั่งให้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับเข้าไปหาเครื่องเสวยที่มีเหลืออยู่ในห้องเครื่อง เพื่อนำไปเสวยในเรือด้วย แต่เนื่องจากเรือที่นั่งมีเนื้อที่จำกัดไม่ควรนำถ้วยชามลงไปมาก เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับจึงตักเครื่องเสวยที่เหลืออย่างละเล็กละน้อยผสมคลุกเคล้า รวมทั้งไข่เค็มผักจิ้มใส่จานลงไปในเรือ

Advertisement

ปรากฏว่าสมเด็จหญิงน้อยเสวยแล้วทรงเอร็ดอร่อยมากจึงรับสั่งให้เรียกกับข้าวชนิดนี้ว่าน้ำพริกลงเรือสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพจากเว็บไซต์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD

ที่มา : บทความ “รักสุดท้ายในรัชกาลที่ ๕”. โดย ฉัตรชัย ว่องกสิกรณ์. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม ๒๕๔๓

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561

รู้ทันเรื่องราวก่อนใคร เกาะติดตามกระแสในประวัติศาสตร์ กดติดตาม ศิลปวัฒนธรรม  อย่าลืมกด”See First” (เห็นโพสต์ก่อน) เห็นทุกโพส เห็นทุกเรื่องราว ไม่พลาดข่าวในเพจ