ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
“หลักหิน” ที่วางเรียงรายกันใน “ภูพระบาท” มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ที่จังหวัดอุดรธานี หลายคนอาจจะทราบเพียงว่า เป็นหลักฐานชั้นดีที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของศาสนาพุทธที่หลงเหลือในพื้นที่ แต่ที่จริงแล้ว “หลักหิน” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่เกิดขึ้นมาเนื่องจากศาสนาผี ก่อนจะโดนศาสนาอื่น ๆ เทกโอเวอร์หรือครอบครองด้วยความเชื่อของตนเองแทน
หลักหินกับความเชื่อ
เรื่องนี้ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี บอกไว้ใน SILPA PODCAST “ภูพระบาท” มรดกโลกแห่งภูพาน EP.3 “ศาสนาผี” ที่ภูพระบาท ออนแอร์ผ่านทาง YouTube : Silpawattanatham ว่า…
“พอเรามาดูที่หิน เราจะเห็นได้ว่าหินพวกนี้ถูกให้ทำหน้าที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ตัวอย่างเช่น หอนางอุสา หินมันต่อกันเป็นคล้าย ๆ เพิงใช่ไหม เห็นปุ๊บก็รู้อยู่แล้วว่ามันจําเป็นที่จะต้องศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว เพราะมันประหลาด
สําหรับคนในสมัยโบราณ ต้องอย่าลืมนะครับ คนในสมัยโบราณที่ไม่ได้มีความรู้เชิงคณิตศาสตร์เท่าเรา เขาไม่สามารถคํานวณได้ว่าทำไมหินไปตั้งอยู่บนนั้นได้ แล้วทำไมไม่ล้มลงมา มันจะต้องถูกทําให้อยู่อย่างงั้นด้วยพลังเหนือธรรมชาติอยู่แล้ว แล้วพลังเหนือธรรมชาติของเขาก็คือสิ่งที่มันให้พลังชีวิต
เพราะฉะนั้นเนี่ยพอศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เข้ามา พวกนี้ก็เลยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็ถูกสวมทับ ถูกครอบครอง ถูกศาสนาใหม่ที่เข้ามาจากอินเดียเทกโอเวอร์ความศักดิ์สิทธิ์
แล้วพอเข้ามา คุณจะแต่งตัวเป็นผีไม่ได้ คุณก็จะต้องแต่งตัวใหม่ พอคุณเป็นพุทธใช่ไหม ยูนิฟอร์มเดิมของหมอผีเป็นอะไรคุณถอดมันทิ้ง เอาจีวรไปสวมแทน จับเขาบวช
เพราะฉะนั้น อย่างหอนางอุสา ก็จะมีการทําให้เป็นพุทธใช่ไหม มีการเอาหินไปก่อทําเป็นตัวระหว่างหินที่เป็นเพิงคล้าย ๆ หลังคา กับหินที่เป็นตัวตั้งลงมา แล้วก็ตัวที่มันไปเกาะก็ทําให้เป็นอาคาร”
📍 ฟัง SILPA PODCAST “ภูพระบาท” มรดกโลกแห่งภูพาน | EP.3 “ศาสนาผี” ที่ภูพระบาท แบบเต็ม ๆ ได้ใน YouTube : Silpawattanatham ตอนนี้!
อ่านเพิ่มเติม :
- พลาดไม่ได้! “SILPA PODCAST ‘ภูพระบาท’ มรดกโลกแห่งภูพาน” EP.2 ‘ประวัติศาสตร์โบราณคดี’ บนภูพระบาท”
- ห้ามพลาด! “SILPA PODCAST ‘ภูพระบาท’ มรดกโลกแห่งภูพาน” EP.1 กว่าภูพระบาทจะเป็น “มรดกโลก”
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 3 กันยายน 2567