ผู้เขียน | เกรียงศักดิ์ ดุจจานุทัศน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
เสฐียรโกเศศ คือนามปากกาของ พระยาอนุมานราชธน ผู้ถือเป็นนักปราชญ์ เเละนักคิดนักเขียนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย มีความโดดเด่นในด้านวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในคนไทยที่ได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ท่านมีความรู้มากมายหลากหลายเเขนง โดยตลอดช่วงชีวิตของท่าน ได้ผลิตผลงานมากมายออกสู่สาธารณะ มุมมองเเละเเนวคิดของท่านจึงน่าสนใจเเละน่าศึกษาอย่างยิ่ง
ส.ศิวรักษ์ เคยเขียนบทความถึง เสฐียรโกเศศ ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 26 ฉบับที่ 6 เมษายน 2548 ในชื่อบทความ “พรมเเดนของพระยาอนุมานราชธน” โดยคัดบางส่วนจากคำนำของท่านเรื่อง “พรมเเดนแห่งความรู้” ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อความที่มีความน่าสนใจอย่างมาก ดังนี้
ความจริงเมื่อประมวลความรู้ทั้งหมดมี ๒ อย่างเท่านั้น คือ
๑. ความรู้เรื่องของคนเอง เเละรวมทั้งสิ่งที่คนผลิตสร้างขึ้น ได้เเก่เรื่องวัฒนธรรม
๒. ความรู้เรื่องสิ่งธรรมชาติที่เเวดล้อมตนอยู่ ได้เเก่เรื่องวิทยาศาสตร์
ความรู้ทั้งสองอย่าง ถ้าเป็นชนิดที่เรียกว่า“ระบบความรู้” คือรวมส่วนต่างๆของความรู้เข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบ ก็เรียกว่า “ตำราวิทยาหรือศาสตร์”อันอาจเเบ่งได้กว้างๆ เป็น ๓ เเดนเเห่งความรู้ คือ
๑. เเดนวิทยาศาสตร์ Natural Science เพื่อรู้ธรรมชาติ
๒. เเดนสังคมศาสตร์ Social Science เพื่อรู้สังคม
๓ .เเดนมนุษยศาสตร์ Humanities เพื่อรู้ตนเอง
ท่านกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะรู้จักปรับตนให้เข้ากันได้ดีกับสิ่งเเวดล้อมตามธรรมชาติ โดยกระทำตนให้เกิดนิสัยความเคยชิน” นี่เป็นเรื่องความรู้ในเเดน ๑
“มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง เพราะรู้จักปกครองเเละอยู่ใต้ปกครอง” ลดหลั่นกันลงเป็นชั้นๆ ตามสถานภาพเเละ
“มนุษย์เป็นสัตว์มีมนุษยธรรม เพราะรู้จักสรรค์สร้างเเละรู้ค่าสิ่งดีงาม คือความจริง” นี่เป็นเเดน ๓
ความรู้เป็นศาสตร์หรือวิทยา ๓ เเดนนี้ เเต่ละเเดนยังเเยกออกไปเป็นหลายสาขา เเละเเยกย่อยเป็นหลายเเขนงวิชา เรียกเป็นคำบัญญัติในภาษาอังกฤษว่า Disciplines คือวิชาเฉพาะเพื่อสะดวกเเก่การศึกษาค้นคว้าได้กว้างขวาง จะได้เข้าใจลึกซึ้ง เเต่รู้ลึกซึ้งนี้เเหละ ที่อาจทำให้ผู้รู้เชี่ยวชาญเกิดตามืด มองเห็นเเคบได้ง่าย ถ้าไม่รู้สิ่งอื่นประกอบบ้าง เพราะ“ผู้ที่ได้ศึกษาอบรมให้คิดเคร่งเฉพาะเเต่เรื่องเดียว จะเป็นผู้วินิจเรื่องอะไรให้ได้ดีไม่ได้ เเม้เเต่เรื่องของตนเอง”
จากอดีตถึงปัจจุบัน เชื่อได้ว่า ข้อความข้างตนของ เสฐียรโกเศศ หรือ พระยาอนุมานราชธน ยังคงมีประโยชน์ เป็นแนวทางให้กับคนรุ่นใหม่ได้อยู่เสมอ การย้อนลงไปอ่านถ้อยคำของนักปราชญ์ในอดีต นอกจากจะทำให้เราเห็นความปราดเปรื่องของท่านนั้นๆแล้ว ยังทำให้เราได้เข้าใจถึง วิธีคิด มุมมองต่างๆ ของปัญญาชนไทยในอดีตอีกด้วย
อ้างอิง :
บทความ พรมแดนของพระยาอนุมานราชธน ส.ศิวรักษ์ ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 26 ฉบับที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2548
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2562