เผยแพร่ |
---|
หากกล่าวถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย หลายท่านคงนึกถึงชาวจีน เนื่องจากมีจำนวนมาก และตั้งชุมชนกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ พร้อมกันนั้นก็มีบทบาทในด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อีกทั้งชาวจีนอพยพยังแต่งงานกับคนพื้นถิ่นและมีลูกหลานสืบต่อมาอีกหลายชั่วอายุคนจนเกิดคำว่า “ชาวไทยเชื้อสายจีน”
คนจีนเมื่อเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนใหม่ ย่อมไม่ลืมความเชื่อดั้งเดิมของตน นั่นคือการบูชาเทพเจ้าต่างๆในลัทธิเต้า อาทิ กวนหยู (กวนอู) หรือ เปิ่นโถวกง (ปุนเถ้ากง) เป็นต้น คนเหล่านี้ได้นำประติมากรรมแทนเทพเจ้าเหล่านี้ติดตัวมา บ้างก็มาสร้างขึ้นใหม่ในดินแดนแห่งใหม่ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เมื่อมีการบูชารูปเคารพ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างศาสนสถานเพื่อประดิษฐานรูปเคารพ ซึ่งในปัจจุบันเราเรียกว่า ศาลเจ้า
ศาลเจ้าจีน แปลมาจากคำว่า เมี่ยว (庙)กง(宫)ในขณะที่วัดจีนแปลมาจากคำว่า ซื่อ (寺) ความแตกต่างอีกประการหนึ่งคือ ศาลเจ้าจีนเกี่ยวข้องกับเทพในลัทธิเต้า อีกทั้งไม่มีนักบวชประจำวัด มีเพียงผู้ดูแลศาลเจ้าซึ่งเป็นคนธรรมดาเท่านั้น ส่วนวัดจีนมีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนานิกายมหายาน และจำเป็นจะต้องมีพระนักบวชจำพรรษาอยู่ด้วย
ในปัจจุบันเราได้ข้อสรุปแล้วว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในไทยสามารถแบ่งได้ 5 กลุ่มตามภาษาพูด คือ ภาษาฮกเกี้ยน (หมิ่นหนาน) กวางตุ้ง (เยว่) แต้จิ๋ว (เฉาซ่าน) ไหหลำ (ไห่หนาน) แคะ (เค่อ) กลุ่มคนจีนที่พูดภาษาเหล่านี้มาจากพื้นมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ไห่หนาน (ไหหลำ) และฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) เป็นหลัก
นอกจากนี้ ศาลเจ้าจีนในไทยโดยทั่วไปสร้างขึ้นโดยชาวจีนกลุ่มภาษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ศาลเจ้าเล่าปุ่นเถ้ากงในเขตสัมพันธ์วงศ์สร้างโดยชาวจีนแต้จิ๋ว ศาลเจ้าจุยโบวเนี้ยในเขตดุสิตเป็นของชาวจีนไหหลำ เป็นต้น
ศาลเจ้าสะท้อนถึงความเชื่อ ศรัทธาแล้ว ยังสะท้อนถึง รูปแบบงานช่าง และ ประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวจีนในย่านนั้นๆ และเป็นที่มาของการจัดทัวร์ศิลปวัฒนธรรม มติชนอคาเดมี ในประเด็น ศาลเจ้า ใน บางกอกเดินทาง โดย มี อ.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช เป็นผู้นำชม (อาจารย์พึ่งทำวิจัยเรื่องศาลเจ้าจีน ในกรุงเทพฯ พึ่งเสร็จ และได้รับผลงานวิจัยดีเด่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2560 อีกด้วย)
เดินทาง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ในราคา 1700 บาท พร้อมอาหารกลางวันที่ร้านนายโซว และของว่าง
สอบถามได้ที่ โทร. 082 993 9097 หรือ 082 993 9105