พบภาพศิลปะผนังถ้ำเก่าแก่อายุกว่า 2500 ปี หมู่เกาะกีซา อินโดนีเซีย

ภาพถ้ำที่ค้นพบบนเกาะ กีซา ของประเทศอินโดนีเซีย (Australian National University) จากเว็บไวด์ www.archaeology.org/news

รายงานจากเว็บไซต์ The International Business Times  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) ได้ค้นพบภาพศิลปะผนังถ้ำเก่าแก่อายุกว่า 2500 ปี ในเกาะกีซาประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ได้ตีพิมพ์ในนิตยสารโบราณคดีของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge Journal of Archaeology)

ซู โอคอนเนอร์ (Sue O’Connor) นักวิจัยภาควิชาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและภาษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า ในทางโบราณคดีหมู่เกาะนี้ไม่เคยมีใครสำรวจมาก่อน ภาพที่ปรากฏอยู่จะเห็นว่า เป็นภาพเรือ สุนัข ม้า และผู้คน ในภาพที่ปรากฏผู้คนจะถือสิ่งหนึ่งคล้ายกับโล่ ในส่วนฉากอื่นๆ แสดงภาพผู้คนคล้ายกับตีกลอง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพแสดงการประกอบพิธีกรรมอะไรบางอย่าง

ซู โอคอนเนอร์ (Sue O’Connor) ยังกล่าวต่ออีกว่า การค้นพบครั้งนี้ทำให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกันระหว่างติมอร์กับอินโดนีเซียที่มีมาก่อน สะท้อนถึงอดีตที่เคยมีความสัมพันธ์กันมา ภาพที่พบมีลักษณะเล็กมากกว่า 10 เซนติเมตร แม้ภาพจะมีขนาดเล็กแต่ก็มีความสำคัญอย่างมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างเกาะกีซากับติมอร์น่าจะนับย้อนหลังไปถึงยุคยุค Neolithic (ยุคหินใหม่) ประมาณ 3500 ปีก่อน เป็นช่วงที่กลุ่มออสโตรนีเซียนได้นำสัตว์เลี้ยงอย่าง สุนัขหรือพวกธัญพืชเข้ามาในหมู่เกาะ

อย่างไรก็ตามการค้นพบภาพใหม่ๆ นอกจากนี้ภาพที่พบนี้ยังมีความคล้ายกับภาพที่พบบนกลองสำริดซึ่งได้ทำขึ้นในเวียดนามตอนเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเมื่อประมาณ 2500 ปีที่แล้ว

ซู โอคอนเนอร์ (Sue O’Connor) ยังกล่าวปิดท้ายอีกว่า ภาพวาดเหล่านี้เหมือนเป็นการสร้างระบบสัญลักษณ์ขึ้นเมื่อประมาณ 2000 ปีที่แล้ว บ่งชี้ถึงสังคมที่มีการแบ่งลำดับฐานะบ่งบอกถึงการแลกเปลี่ยนสินค้า