ย้อนดูชีวิต “นายร้อยหยิง” ปี 2486 นายร้อยหญิงรุ่นแรก เรียนและฝึกอะไรกัน?

จอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ร่วมถ่ายรูปกับนักเรียนนายร้อยหญิงรุ่นแรกของประเทศ (ภาพจาก นายร้อยหยิงรุ่น 2486)

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ 2485 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกองทัพไทยเปิดรับ “นักเรียนนายน้อยหยิง” (สะกดตามต้นฉบับ) เป็นครั้งแรกของประเทศ มีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 28 คน ว่าแต่เกือบ 80 ปีที่แล้ว ชีวิตในรั้วโรงเรียนนายร้อยของพวกเธอป็นอย่างไร ต้องฝึกและเรียนอะไรกันบ้าง นลินี แจ่มพัธน์ ผู้เป็นหนึ่งนักเรียนนายร้อยหญิงรุ่นแรกของไทย บันทึกไว้ใน “ชีวิตนักเรียนนายร้อยหยิง” ไว้ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่ และจัดเน้นคำโดยกองบรรณาธฺิการศิลปวัฒนธรรม)


 

28 ธันวาคม 2485 เปนวันที่พวกเราจะต้องลืมไม่ได้อีกวันหนึ่ง เพราะเปนวันที่พวกเราได้มีโอกาสและสิทธิโดยเต็มเปี่ยมไนการเล่าเรียนวิชาการทหานซึ่งพวกเราไม่เคยเรียนมาจากที่ไดเลย พอเวลาประมาณ 08.10 น. พนะท่าน จอมพล ป. สงคราม และ พนะท่าน พันโทหยิง ล. พิบูลสงคราม [ละเอียด พิบูลสงคราม] ก็กรุณามาเปนประธานไนเปิดการสึกสา…

ต่อจากนี้ร้อยเอกไสว เกตุสุวรรณ ผู้บังคับหมวดของเราก็เริ่มทำการสอน การเรียนไนขั้นนี้หนักไปทางระเบียบการต่างๆ ของกองร้อยซึ่งพวกเราจะต้องปติบัติประจำ กับเรื่องต่างๆ ที่พวกเราควนรู้อีก…สรุปว่าสัปดาห์นี้ พวกเราได้รู้จักชีวิต ระเบียบแบบแผนของทหานข้างเปนเลาๆ แล้ว… และพร้อมที่จะผจนกับชีวิตนักเรียน ดังจะได้กล่าวไห้เห็นเปนตอนๆ ดังนี้

การเรียน

………….

สำหรับการเรียนไนห้องเรียน ทางการได้กำหนด 1 ปี และไน 1 ปีนี่เอง เราจะต้องเรียนถึง 13 วิชา อันเปนของที่ค่อนข้างเอาการหยู่ ไนวันหนึ่งๆ เราเรียนหย่างน้อย 3 วิชา ไนวันไหนมีวิชาที่ต้องฟังเลกเชอร์เองแล้วมาโน้ตทั้งหมด วันนั้นพวกเรามือแทบหัก 6 ชั่วโมงไม่ต้องเงยหน้า

ซ้ำตอนเย็น 15.15-17.00 น. เราต้องฝึกก่อน พอ 19.00 – 21.00 น. เราจึงมาเรียบเรียงโน้ตได้การทำงานหนักๆ นี้พวกเราต้องผจนตลอดมา แต่เราก็ไม่บ่นเพราะเรามีคำปติญานหยู่ว่า “ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้” เท่าที่กล่าวมานี้บางท่านอาจจะเห็นว่าเปนของธัมดา และเปนหน้าที่ของนักเรียนจะต้องทำอยู่แล้ว ข้อนี้พวกเรารับรองว่าจิง แต่หย่างไรก็ตามชีวิตของนักเรียนทหานไม่ง่ายตามที่เข้าไจ

การฝึก

ตามหลักสูตรนั้นพวกเราจะต้องฝึกเช่นเดียวกับนักเรียนชายทุกประการ ซึ่งได้แก่ท่าทหานราบทั้งหมด ตลอดจนวิชาอื่นๆ เช่นวิชาทหานช่าง ทหานสื่อสาร…ไนขั้นแรกแห่งการฝึกก็คือ การทำท่าตรงก่อน สำหรับท่าตรงนี้ถ้าคนที่มารู้ชัดคงคิดว่าง่ายมาก

เพียงยืนเฉยๆ ก็เรียกว่าตรงแล้ว แต่พอฝึกเข้าจิงๆ ไม่เปนเช่นนั้น ท่าตรงทหานถือว่าสำคันมาก เพราะเปนรากถานไนการทำท่าอื่นๆ ต่อไป เช่น ท่าเคารพเปนต้น เมื่อท่าตรงถือว่าสำคัญดังนี้ กว่าจะฝึกได้ดีพอก็ต้องเสียเวลามากเปนพิเสสกว่าท่าอื่น…

พูดถึงอาวุธของพวกเรา รู้สึกว่าคนพายนอกยังเข้าใจผิดหยู่ เพราะเห็นว่าเราเปนหยิงคงจับปืนไม่ได้ คงต้องไช้ปืนไม้ ปืนกล้วยอะไรเหล่านี้ นับว่าเปนที่น่าเสียไจหยู่ ความจิงพวกเราก็ได้รับจ่ายปืนเช่นชายทุกประการ คือเปนยืนยาวแบบ ไนตอนต้นๆ ที่เราได้รับอาวุธมาประจาตัวนี้ เปนธัมดาหยู่เองที่จะต้องมีการเมื่อยและเบื่อบ้าง เพราะเราไม่เคยจับมาเลย บางคนถึงกับมือบวมหรือพองเพราะยกขึ้นยกลงไนท่าแบกอาวุธ วันทยาวุธ แต่หย่างไรก็ตาม พวกเราก็ทนได้ และทนทนกะทั่งชิน จนเราไม่รู้สึกหนักเลยแม้จะต้องแบกนานๆ ก็ตาม

สำหรับเรื่องอาวุธนี้ นอกจากเราจะเรียกว่าเปนเครื่องมือไนการฝึกแล้ว ยามเลิกฝึกเราก็ต้องถือว่าเปนพ่อ หรือยิ่งกว่าอีกด้วยเพราะเมื่อเลิกฝึก แม้เหนื่อยแสนเหนื่อยเราก็จะทิ้งไม่ได้เลยต้องทำความสอาดก่อนแล้วทาน้ำมัน พาไปเก็บที่จึงจะหมดห่วง ถ้าขึ้นไม่ทำเปนแย่

นอกจากการฝึกท่าต่างๆ เหล่านี้แล้วพวกเรายังต้องฝึกรวมเปนหมู่ๆ พวกๆ อีก เช่น ฝึกหมู่ทำการรบ การไช้อาวุธประจำหมู่ เช่น ปืนกลเบาได้หย่างชำนาญเราต้องฝึกไปไนภูมิประเทศจิงๆ ต้องพาปืนวิ่งไปไนดินที่ขรุขระ แห้งแตก แดดร้อนระอุ ความเหนื่อยที่พวกเราได้รับเปนของธัมดาเสียแล้ว เราจะบ่นไม่ได้ เพราะเราได้ไห้คำมั่นสัญญาไว้กับทางการว่าเราได้ทำทุกหย่าง

นอกจากนี้พวกเราก็มีการฝึกเดินทางไกลอีก เราเดินทั้งไนเวลาแดดร้อนเปรี้ยง แดดร่ม ฝนตก ทุ่งนา ทางรถไฟ ถนนเปนระยะทางหย่างน้อย 10 กิโลเมตร พร้อมด้วยอาวุธคู่ชีพกับเครื่องสนาม สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้เปนการกะทำประจำไนชีวิตทหารทั้งสิ้น เราไม่บ่น นอกจากพอกลับถึงโรงเรียนแล้วเงียบตามกัน ไม่มีเสียงคุยเพราะต่างสลบไสลหยู่บนเตียงนอนของตนทั้งเครื่องฝึกพายหลัง…

การพละสึกสา

พวกเรานอกจากจะเรียนไนห้องเรียน และมีการฝึกแล้ว ยังต้องมีการพลสึกสาอีกด้วย ก่อนเริ่มเรียน อาจารย์ผู้ฝึก ร้อยโท ม.ล. พุธ สนิธวงศ์ ได้กล่าวว่า “พละสึกสาต้องคู่กับจริยสึกสาและพุทธสึกสา คนเราจะมีหย่างหนึ่งขาดหย่างหนึ่งไน 3 หย่างไม่ได้” สรุปแล้วก็คือ พวกเราต้องมีพละสึกสานั่นเอง ไนสัปดาห์มีพละสึกสา 2 วัน วันละ 30 นาที

การฝึกพละสึกสาไนโรงเรียนนี้ผิดกับโรงเรียนสามัญลิบลับ ไนโรงเรียนสามัญมีเพียงกายบริหารเท่านั้นสำหรับนักเรียนหญิง แต่ที่นี่มีทุกหย่างที่โรงเรียนชายจะมีได้ เว้นแต่บางหยางเท่านั้นที่หยิงทำไม่ได้เพราะขัดกับร่างกายจิงๆ พละสึกสาของเรามี กายบริหาร แทงเหล็กเบา ราวคู่ ราวเดียว ยูโด ห่วง ฟันดาบฝรั่ง ดาบไทย ต่อยมวย ว่ายน้ำ ไต่เชือก…

อาวุธสึกสา

เปนเรื่องหนึ่งที่พวกเราจะต้องรู้เปนหย่างดี วิชานี้ร้อยเอก ไสว เกตุสุวรรณ ผู้บังคับหมวดของเราเปนผู้สอนเอง เวลาที่ไช้ไนการสอนคือ ตั้งแต่ 15.15 – 17.00 น. หรือว่าสัปดาห์หนึ่งมี 1 ครั้ง อาวุธที่ไช้เรียนมีปืนเล็กยาวแบบ 66 ปืนกลเบาแบบ 66 ปืนกลหนักแบบ 77 ปืนเล็กสั้น ปืนพก ลูกระเบิดขว้าง ลูกระเบิดยิง ฯลฯ วิชานี้ นับเปนวิชาสำคันมากเพราะพวกเราต้องนำไปไช้ไนการฝึกสอนทหานไนขั้นต่อไป ซึ่งต้องสนใจเปนพิเสสเพื่อได้มีความรู้ความชำนาญจิงๆ

………….

การเล่น

เวลาไนการที่พวกเราจะได้สนุกสนานกันนั้นมีไม่ค่อยมากนัก… ตามปกติเวลาที่มีก็คือ ตอนหลังอาหารกลางวันประมาณ 30 นาที กับตอนเลิกฝึก 17.00 – 17.55 น ไนเวลาพักกลางวัน ต่างคนต่างหาความสำรานไปหย่างอิสสระ บางคนก็นอนร้องเพลง อ่านหนังสือและบางคนก็หลับงงๆ หยู่บนเตียงหย่างแสนสุข…ส่วนเวลาตอนเย็น 17.00 – 17.55 น. นี้ค่อยนานหน่อย แต่ว่าถ้าไครหยากจะเล่นถึง 17.55 น. แล้วก็ต้องยกยอดไป แล้วไปหาเวลาชำระร่างกายไนเวลาหลัง…กีลาที่เล่นไนตอนนี้ก็มีแบดมินตั้นเปนหลัก ส่วนกีลาอื่นๆ นอกจากนี้ก็มีขี่จักรยาน เล่นห่วงบ้าง…

การฝึกภาคสนาม

การฝึกภาคสนามนี้ เปนสิ่งที่พวกเราได้รู้ได้เห็นมาแต่ครั้งเข้าเรียนไหม่ๆ แล้ว คือราวๆ เดือนมีนาคม ซึ่งนักเรียนนายร้อยสำรองชุดแรกเปนผู้ปติบัติ และพวกเราได้มีโอกาสไปดู ความรู้สึกไนครั้งนั้น พวกเราต่างพอใจหยากจะได้กะทำบ้าง แม้จะต้องลำบากตรากตรำสักเพียงได…

จนกะทั่งการเรียนไนภาคห้องเรียนได้ยุติลง ความฝันของพวกเราจึงเปนจิงขึ้น และพวกเราได้ฝึกกันหย่างเต็มไจและพอไจยิ่ง แม้ว่าเวลาการฝึกจะมาก คือตั้งแต่ 05.30 – 21.30 น. รวม 16 ชั่วโมงที่เราต้องทำงานแล้วจึงจะได้พักก็ตาม ทั้งนี้เพราะเราได้ระลึกหยู่เสมอว่า การฝึกของพวกเรามีเวลาน้อย ตามความจำเปนบังคับ กิจการฝึกซึ่งเราต้องผจนกับความร้อนความหนาว ความเหนื่อย ความหิว ฯลฯ นั้นเราได้ลิ้มรสแล้ว…การฝึกภาคสนามของพวกเรามีกำหนดไว้ 1 เดือน คือ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม ถึง 31 ธันวาคม เรื่องที่จะฝึกมี การรบด้วยวิธีรับและรุก และราชการสนาม ฯลฯ

นอกจากนี้พวกเรายังได้มีโอกาสไปยิงปืนจิงๆ ที่สนามอีกด้วย พูดถึงการยิงปืนนี้ จะนับว่าพวกเรากลัวก็ไม่เชิง เพราะเราเคยยิงมาแล้ว เราเคยชินต่อเสียงอันสั่นหวั่นไหวมาหลายคราว แต่หย่างไรก็ตาม เสียงพูดกันต่อๆ มาว่า ปืนเล็กสั้นแบบ 47 ที่เราไช้ทำการยิงนี้ถีบมาก ขืนประทับไม่แน่นเปนแก้มบวม ไหปลาร้าหัก เล่นเอาไจไม่ค่อยดีตามๆ กัน…

นอกจากการยิงปืนซึ่งทำให้พวกเราเจ็บปวดไปตามกันแล้ว ยีงมีอีกส่งหนึ่งซึ่งพวกเราจะลืมเสียมิได้ เพราะสิ่งนี้ได้ฝากรอยจารึกไว้แก่พวกเราหย่างเต็มรักเหมือนกัน สิ่งนี้ก็คือการขุดสนามเพลาะนั่นเอง…พวกเราต้องขุดสนามเพลาะเปนแนวยาวตั้งสิบๆ เมตรขึ้นไป มีทั้งคูยิง คูคลาน หลุมบุคคลนั่งยิง นอนยิง ปืนยิง

ซึ่งชื่อที่กล่าวมานี้ ถ้าอ่านตำราเขียนรูปทำง่ายมาก แต่เมื่อขุดแล้วพวกเราข้อล้าหน้าทำไปตามๆ กัน เมื่อเริ่มขุดครั้งแรกทุกคนหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสยกเสียมพลั่ว กันหย่างกะฉับกะเฉงพื้นดิน โกยดินกันหย่างทะมัดทะแมง ครั้น 30 นาทีล่วงไป ลักสนะการฟันดินโกยดินชักอ่อนไป เวลาไนการขุดนี้พวกเราไช้ประมาณ 2 ชั่วโมงกวา ต่อ 1 ครั้ง และเราขุด 3 ครั้ง…

………….

การปฏิบัติไนโอกาสพิเสส

การปติบัติไนโอกาสพิเสสต่างๆ ตามที่จะกล่าวต่อไปนี้เปนส่วนหนึ่งที่พวกเราเมื่อเข้าเปนนักเรียน ความมุ่งหมายที่พวกเราได้มีโอกาสไปไนงานต่างๆ ที่กล่าวโดยมากเกี่ยวด้วยผู้บังคับบันชาต้องการให้พวกเราได้รู้ ได้เห็นสิ่งต่างๆ ไห้รู้จักวิธีการปติบัติของสิ่งเหล่านั้น ให้มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน และบางครั้งก็เปนงานราชการโดยตรง…

10 มีนาคม 86 พวกเราได้มีโอกาสไปดูการซ้อมรบของ ร. พัน 3 ที่สวนจิตรลดาโดยอาจารยทหานรายเปนผู้นำไป การไปครั้งนี้พวกเราได้แลเห็นบันดาอาวุธจิงต่างๆ ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เช่น ปืนไหย่ทหานราบ ปืนไหย่สนามเพลาะ ปืนไหย่ต่อสู้อากาสยาน…นับว่าเปนการเพิ่มความรู้ไห้แก่พวกเราส่วนหนึ่ง ทำให้พวกเรานึกพูมไจไนโอกาสที่ได้รับมานี้มาก

………….

9 พรึสภาคม 86 พวกเราได้รับมอบให้ไปสแดงยุธกีลาร่วมกับนักเรียนนายสิบหยิงที่สำนักวัธนธัมฝ่ายหยิง บ้านไทยพันธมิตร การสแดงของพวกเรามี 2 ชุด คือ หมวดต่อสู้เครื่องบิน และการพักแรมไนสนาม งานนี้ดำเนินไปจนกะทั่งประมาน 18.00 น. ล่วงแล้วจึงยุติ

14 กรกกาคม 86 เปนวันที่พวกเราทุกคนจะลืมเสียไม่ได้ เพราะเปนวันคล้ายวันเกิดของพนะท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านผู้ให้กำเหนิดแก่พวกเรา ไนตอนเช้า พวกเราส่งผู้แทนนำกะเช้าดอกไม้ของขวันไปอวยพรแด่พนะท่าน ด้วยความรู้สึกรำลึกถึงพระคุนหย่างสุดซึ้ง

28 กรกกดาคม 86 เปนวันสถาปนาของกองทัพบก ไนถานที่พวกเราสังกัดหยู่กับกองทัพบก จึงได้มีโอกาสร่วมไนการฉลองด้วย สำหรับกรมยุธสึกสาของเราได้จัดไห้มีการสแดงกีลาต่างๆ ของนักเรียนทุกโรงเรียน ต่อจากนั้นก็มีการกินอาหารร่วมกัน เพื่อเปนการสมานสามัคคี งานยุติเมื่อประมาน 18.00 น

25 ตุลาคม 86 เปนวันสำคันอีกวันหนึ่งของพวกเรา คือเปนวันคล้ายวันเกิดพนะท่านพันโทหยิง ล. พิบูลสงคราม ท่านผู้อุปการะคุนของพวก วันนี้พวกเราได้จัดของขวัน คำขวันนำไปมอบแด่พนะท่านด้วยความเคารพหย่างสูง…

อ่านเพิ่มเติม : 


ข้อมูลจาก :

นลินี แจ่มพัธน์. “ชีวิตนักเรียนนายร้อยหยิง” ใน, นายร้อยหยิงรุ่น 2486 หนังสือที่ระลึกในงานประชุมเพลิง คุณจีราวัสส์ พิบูลสงคราม ปันยารชุน, ณ วัดพระศรีมหาธาตุมหาวิหาร (บางเขน) วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564